อธิบดีกรมทางหลวงชนบทชี้แจงประเด็นการคัดค้านโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

31 ส.ค. 2560 เวลา 22:31 | อ่าน 7,566
แชร์ไปยัง
L
 
นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ชี้แจงประเด็นการคัดค้านโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
วันที่ 24 สิงหาคม 2560 นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงประเด็นการคัดค้านโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตามที่สำนักข่าวอิศราได้นำเสนอข่าวว่า ประชาชนในบริเวณตลาดประชานิเวศน์ 3 ร่วมลงชื่อคัดค้านโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมระบุว่าโครงการนี้ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ได้รับรู้อย่างทั่วถึง ทำให้ไม่ทราบว่าจะมีการทำถนนยกสูงตัดผ่านชุมชน อีกทั้งเชื่อว่าการสร้างถนนดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด และไม่สามารถแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้ นั้น

อธิบดีกรมทางหลวงชนบทชี้แจงประเด็นการคัดค้านโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

กรมทางหลวงชนบท ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี เป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวมอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนแม่บทดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 โดยกรมทางหลวงชนบทมีเกณฑ์การดำเนินโครงการซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน จำนวน 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการพิจารณาแนวทางเลือก เพื่อศึกษาผลกระทบทางบวกและลบของแต่ละทางเลือกให้ได้แนวทางเลือกเพื่อนำไปสู่การจัดทำ EIA ใช้ระยะเวลาดำเนินการศึกษาประมาณ 1 ปี (ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560) 2. การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ใช้ระยะเวลาศึกษา ประมาณ 1 ปี 3. การสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการ ใช้ระยะเวลาสำรวจออกแบบ ประมาณ 1 ปี 4. การตราพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ควบคู่กับการสำรวจอสังหาริมทรัพย์การเวนคืน ใช้ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 1 ปี 5. การตั้งงบประมาณเวนคืน และทำการเวนคืน ใช้ระยะเวลา ประมาณ 1 ปี 6. การก่อสร้าง ใช้ระยะเวลา ประมาณ 3 ปี

ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ โดยตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ กรมทางหลวงชนบทได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน บริษัทที่ปรึกษาได้วางแผนการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่น้อยกว่า 20 กลุ่ม และจัดประชุมเวทีประชาคมไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้จัดการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560 เพื่อปฐมนิเทศให้ประชาชนรับทราบข้อมูลพื้นฐาน อาทิ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวทางพิจารณา ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรีเป็นเวลา 4 ชั่วโมง มีผู้เข้าร่วม 303 คน โดยบริษัทที่ปรึกษาได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนรับทราบจากผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จดหมายเชิญของโครงการ เว็บไซต์ และป้ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งมุ่งหวังผลให้ประชาชนได้รับทราบเบื้องต้นตามวัตถุประสงค์ หลังจากนั้นบริษัทที่ปรึกษาได้จัดประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่อีกหลายครั้ง


ผลจากการประชุมครั้งที่ 1 และการลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย บริษัทที่ปรึกษาได้สรุปแนวทางเลือก 4 แนวทางเลือกที่เป็นไปได้ คือ แนวทางเลือกที่ 1 ระยะทางประมาณ 10.103 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณใกล้วัดบัวขวัญ แนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตก แล้วมุ่งหน้าไปยังสามแยกสนามบินน้ำในบริเวณพื้นที่ของเทศบาลนครนนทบุรี มุ่งไปยังถนนสนามบินน้ำ แนวเส้นทางจะอยู่บนถนนสนามบินน้ำ โดยรูปแบบถนนจะเป็นทางยกระดับ แนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวของถนนสนามบินน้ำ และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่บ้านพักกรมพลาธิการทหารบก ข้ามมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดระดับเป็นถนนระดับพื้นดินในพื้นที่ตำบลท่าอิฐ และมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบัวทอง และสิ้นสุดที่ถนนราชพฤกษ์ที่ กม. 26+500

แนวทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 10.698 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณใกล้วัดบัวขวัญ แนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตก แล้วมุ่งหน้าไปยังสามแยกสนามบินน้ำในบริเวณพื้นที่ของเทศบาลนครนนทบุรี มุ่งไปยังถนนสนามบินน้ำ แนวเส้นทางจะอยู่บนถนนสนามบินน้ำ โดยรูปแบบถนนจะเป็นทางยกระดับ แนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวของถนนสนามบินน้ำ และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่บ้านพักกรมพลาธิการทหารบก ข้ามมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดระดับเป็นถนนระดับพื้นดินในพื้นที่ตำบลท่าอิฐ และมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบัวทอง และสิ้นสุดที่ถนนราชพฤกษ์ที่ กม. 25+200

แนวทางเลือกที่ 3 ระยะทางประมาณ 9.850 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนสามัคคีตัดกับทางพิเศษศรีรัช แนวเส้นทางจะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวถนนสามัคคีโดยตลอดจนถึงสามแยกสามัคคี เมื่อผ่านแยกสามัคคีแล้วแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตก แล้วจึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณทิศใต้ของพุทธสถานเชิงท่า-หน้าโบสถ์ ข้ามมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดระดับเป็นถนนระดับพื้นดินในพื้นที่ตำบลท่าอิฐ และมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบัวทอง และสิ้นสุดที่ถนนราชพฤกษ์ที่ กม. 26+500

แนวทางเลือกที่ 4 ระยะทางประมาณ 10.445 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนสามัคคีตัดกับ ทางพิเศษศรีรัช แนวเส้นทางจะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวถนนสามัคคีโดยตลอดจนถึงสามแยกสามัคคี เมื่อผ่านแยกสามัคคีแล้วแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตก แล้วจึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณทิศใต้ของพุทธสถานเชิงท่า-หน้าโบสถ์ ข้ามมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดระดับเป็นถนนระดับพื้นดินในพื้นที่ตำบลท่าอิฐ และมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบัวทอง และสิ้นสุดที่ถนนราชพฤกษ์ที่ กม. 25+200

จากการลงพื้นที่สำรวจและการลงพื้นประชุมกลุ่มย่อยบริษัทที่ปรึกษาได้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้คะแนนแต่ละทางเลือก โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรมและจราจร ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่าแนวทางเลือกที่ 1 มีคะแนนความเป็นไปได้มากที่สุด โดยแนวโครงการเริ่มต้นที่ถนนบริเวณใกล้วัดบัวขวัญ มุ่งหน้าไปยังสามแยกสนามบินน้ำ แนวเส้นทางจะอยู่บนถนนสนามบินน้ำ โดยรูปแบบจะเป็นทางยกระดับ และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่บ้านพักกรมพลาธิการทหารบก ข้ามมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดระดับเป็นถนนระดับพื้นดิน และสิ้นสุดที่ถนนราชพฤกษ์ที่ กม. 26+500 ได้รับคะแนนสูงสุด และนำไปแถลงในการจัดเวทีประชาคม ครั้งที่ 2

การประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2560 เพื่อแถลงผลการพิจารณาทางเลือกว่า ทางเลือกที่ 1 มีความเป็นไปได้ ณ โรงแรมนนทบุรี พาเลซ อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นเวลา 4 ชั่วโมง มีผู้เข้าร่วม 641 คน บริษัทที่ปรึกษาได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบจากผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จดหมายเชิญของโครงการ เว็บไซต์ และป้ายประชาสัมพันธ์ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษามีแผนจะจัดการประชุมครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของโครงการในช่วงเดือนตุลาคมต่อไป

สำหรับประเด็นที่ประชาชนบริเวณตลาดประชานิเวศน์ 3 คัดค้าน นั้น กรมทางหลวงชนบทได้กำหนดให้บริษัทที่ปรึกษาจัดการประชุมกลุ่มย่อยในบริเวณตลาดประชานิเวศน์ 3 โดยเฉพาะ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงให้ชัดเจน พร้อมรับฟังความเห็นและนำข้อมูลมาทบทวนคำนวณคะแนนตามเกณฑ์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเปิดเผยต่อสาธารณะทราบต่อไป รวมทั้งได้กำชับให้มีการเผยแพร่ข้อมูลโครงการให้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและเข้าถึงตัวบุคคลของบ้านแต่ละหลังอย่างทั่วถึง


--------------------------


31 ส.ค. 2560 เวลา 22:31 | อ่าน 7,566


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
59 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
108 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
101 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
312 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
322 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
640 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,354 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
718 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน