บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย

18 มี.ค. 2556 เวลา 22:19 | อ่าน 27,623
แชร์ไปยัง
L
 
บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย

บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 10 ระดับคือ


1.สมเด็จเจ้าพระยา
2.เจ้าพระยา
3.พระยาหรือ ออกญา
4.พระ และ จมื่น
5.หลวง
6.ขุน
7.หมื่น
8.พัน
9.นาย
10.หมู่

แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กลับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ
ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มเติม บรรดาศักดิ์ต่างๆ จากทำเนียบพระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองขึ้นอีกเป็นอันมาก
ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมีราชทินนาม และ ศักดินา เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น
บรรดาศักดิ์ จมื่น หรือ พระนาย นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 ไร่ เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต
ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า

บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย

สมเด็จเจ้าพระยา
บรรดาศักดิ์ สมเด็จเจ้าพระยา นั้น เพิ่งมามีครั้งแรกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้สถาปนาขึ้นอีก 1 ท่าน หลังจากนั้น ก็ไม่มีผู้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาอีก สมเด็จเจ้าพระยาจึงมีเพียง 4 ท่าน คือ

1.สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก บรรดาศักดิ์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ก่อนปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ใหม่
2.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ศักดินา 30,000 ไร่ สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4
3.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ศักดินา 30,000 ไร่ สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4
4.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ศักดินา 30,000 ไร่ สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 5

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ฝรั่งเทียบให้บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" เทียบเท่ากับ ขุนนางตะวันตกชั้น "Grand Duke" โดยหนังสือที่มีถึง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นั้นเรียกท่านว่า ดยุก
สมเด็จเจ้าพระยาในสมัยรัตนโกสินทร์มีศักดินา 30,000 เสมอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยา แล้วยังรับ เครื่องประกอบอิสริยยศ ทองคำลงยาราชาวดี เสมอเจ้าต่างกรม มีพระกลดกางกั้น มีพระแสงราชอาญาสิทธิ์ หากวายชนม์ ก็ให้ใช้คำว่า พิราลัย

เจ้าพระยา
ส่วนบรรดาศักดิ์ เจ้าพระยานั้น เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางที่สูงที่สุด ตามพระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง ในสมัยอยุธยา มีเพียง 5 ตำแหน่ง (ศักดินา 10,000 ไร่) คือ

1.เจ้าพระยามหาอุปราชชาติวรวงษ์องคภักดีบดินทร สุรินทรเดโชไชยมหัยสุริยภักดีแสนอญาธิราช ขุนนางอาวุโสหน้าพระที่นั่ง (ตอนหลังให้เลิกเนื่องจากมีพระมหาอุปราชาศักดินา 100000 ไร่ทำหน้าที่แทน)
อัครมหาเสนาบดี (ปกติศักดินา 10000 ไร่ เว้นแต่ถ้าเป็นเจ้าต่างกรมให้ศักดินาสูงกว่า 10000 ไร่) 1.เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีอะไภยพิรีบรากรมุภาหุ สมุหนายก หัวหน้าขุนนางฝ่ายพลเรือน (อัครมหาเสนาบดีผู้รับผิดชอบเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงแทนพระเจ้าแผ่นดิน)
2.เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิรียภักดีบดินทรสุรินทรทฤๅไชยอไภยพิรียปรากรมภาหุ สมุหพระกลาโหม หัวหน้าขุนนางฝ่ายทหาร (อัครมหาเสนาบดีผู้รับผิดชอบเมืองปักษ์ใต้ทั้งปวงแทนพระเจ้าแผ่นดิน)
เจ้าพระยามหานครผู้ครองหัวเมืองชั้นเอก (ศักดินา 10000 ไร่) 1.เจ้าพญาสุรศรีพิศมาธิราชชาติพัทยาธิเบศวรธิบดีอภัยรีพิรียบรากรมภาหุ เจ้าเมืองพิษณุโลก หัวเมืองชั้นเอก
2.เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช หัวเมืองชั้นเอก

พระยา
ส่วน บรรดาศักดิ์ พระยา นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ สำหรับขุนนางระดับสูง หัวหน้ากรมต่างๆ เจ้าเมืองชั้นโท และแม่ทัพสำคัญ ในพระไอยการฯ มีเพียง 33 ตำแหน่ง ดังนั้น จึงมีประเพณี พระราชทานเครื่องยศ (โปรดดูเรื่อง เครื่องราชอิสริยยศไทย) ประกอบกับบรรดาศักดิ์ด้วย โดย พระยาที่มีศักดินามากกว่า 5,000 ไร่ จะได้รับพระราชทานพานทอง ประกอบเป็นเครื่องยศ จึงเรียกกันว่า พระยาพานทอง ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับสูง ส่วนพระยาที่มีศักดินาต่ำกว่านี้ จะไม่ได้รับพระราชทานพานทอง
ในเรื่องนี้ จึงมีประเด็นความเชื่อ โดยบุตรขุนนางที่เกิดใหม่ บิดามักเอาพานทองไปรองรับทารกที่เกิดใหม่นั้น พร้อมอธิษฐานว่า ขอให้บุตรของตนมีวาสนาได้เป็นพระยาพานทองในอนาคต หากเทียบกับปัจจุบัน พระยาพานทอง คงเทียบได้กับข้าราชการ ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษหรือ ทหารชั้นยศนายพล ตำแหน่ง เจ้ากรมทหาร เพราะในปัจจุบันการมอบตำแหน่งพระยาพานทองคือผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงกว่าทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษตามลำดับเกียรตินับขึ้นไปนั้น เป็นต้น

ขุนนางที่มีศักดินา 10,000 ไร่
ขุนนางที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ที่ถือว่าเป็นขุนนางระดับสูงนั้น นอกจาก เจ้าพระยา ทั้งห้าตำแหน่งนั้นแล้ว ในทำเนียบพระไอยการฯ ยังมีอีก 16 ตำแหน่ง แต่มีบรรดาศักดิ์ระดับต่ำกว่าเจ้าพระยา คือ

จตุสดมภ์ (เสาหลักราชการทั้ง 4 - ศักดินา 10000 ไร่ ต่ำกว่าอัครมหาเสนาบดี)
1.พระยายมราชอินทราธิบดีศรีวิไชยบริรักโลกากรทัณทะราช เสนาบดีนครบาล (ที่ จตุสดมภ์ - ภายหลังได้แก้จาก พระยา เป็นเจ้าพระยา)
2.ออกพญาธารมาธิบดีสรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชไชยมะไหยสุริยาธิบดีรัตนมลเทียรบาล เสนาบดีกรมวัง (ที่ จตุสดมภ์ - ภายหลังได้แก้จาก พระยา เป็นเจ้าพระยา)
3.ออกพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอะภัยรีพิริยะกรมภาหุ ตราบัวแก้ว เสนาบดีกรมพระคลัง (ที่ จตุสดมภ์ - ภายหลังได้แก้จาก พระยา เป็นเจ้าพระยา แล้ว ภายหลังได้ยกให้เป็นที่ระดับเดียวกับอัครมหาเสนาบดี เพราะต้องรับผิดชอบด้านการคลังและการต่างประเทศ รวมมทั้งหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออก)
4.ออกญาพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนเกษตราธิบดี เสนาบดีกรมนา (ที่ จตุสดมภ์ - ภายหลังได้แก้จาก พระยา เป็นเจ้าพระยา)

ขุนนางชั้นสูงระดับนาหมื่น ที่ต่ำกว่าจตุสดมภ์ 1.ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีศรีสุภะราชพิรียภาหุ เจ้ากรมธรรมการ
2.พระมหาราชครูพระราชประโรหิตาจารย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงษ์องคบุริโสดมพรหมญาณวิบุลสิลสุจริต วิวิทธเวทยพรหมพุทธาจารย์ ปุโรหิต
3.พระมหาราชครูพระครูมหิธรธรรมราชสุภาวดีศรีวิสุทธิคุณวิบูลธรรมวิสุทธิพรมจาริยาธิบดีศรีพุทธาจารย พราหมน์
4.พระยารามจัตุรงค์ จางวางกรมอาสาหกเหล่า
5.ออกพญาศรีราชเดโชไชยอะไภรีพิรียปรากรมภาหุ เดโช เจ้ากรมอาสาหกเหล่าขวา
6.อออพญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำอะไภยรีพิรียปรากรมภาหุ ท้ายน้ำ เจ้ากรมอาสาหกเหล่าซ้าย

ออกญานาหมื่นที่รั้งหัวเมืองชั้นโท (ภายหลังให้ยกเป็นเจ้าพระยา) 1.ออกญาเกษตรสงครามรามราชแสนญาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยรีพิรียบรากรมภาหุ เจ้าเมืองสววรคโลก
2.ออกญาศรีธรรมศุภราชชาติบดินทรสุรินทฤๅไชยอภัยพิรียภาหุ เจ้าเมืองสุโขทัย
3.ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียภาหะ เจ้าเมืองกำแพงเพชร
4.ออกญาเพชรรัตนสงครามรามภักดีอภัยพิรียภาหะ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์
5.ออกญากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ เจ้าเมืองนครราชสีมา (ภายหลังได้รับการยกเป็นหัวเมืองชั้นเอกเพราะศึกเจ้าอนุเวียงจันท์)
6.ออกญาไชยยาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียบรากรมภาหุ เจ้าเมืองตะนาวศรี

ขุนนางที่มีศักดินา 5,000 ไร่ ขุนนางที่มีศักดินา 5,000 ไร่ ตามพระไอยการฯ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางระดับสูง รองลงมาจากขุนนางศักดินา 10,000 ไร่ มี 21 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ 1.ออกญาศรีสุริยะราชาไชยอภัยพิรียภาหะ เจ้าเมืองเมืองพิชัย
2.ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ เจ้าเมืองเมืองพิจิตร
3.ออกญาไกรเพชรรัตนสงครามรามภักดีพิรียภาหะ เจ้าเมืองเมืองนครสวรรค์
4.ออกญาแก้วเการพยพิไชยภักดีบดินทรเดโชไชยอภัยพิรียะภาหะ เจ้าเมืองเมืองพัทลุง
5.ออกญาเคางะทราธิบดีศรีสุรัตวลุมหนัก เจ้าเมืองเมืองชุมพร
6.ออกพระไชยธิบดีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียะภาหะ เจ้าเมืองเมืองจันทบูรณ์
7.ออกพระวิชิตภักดีศรีพิไชยสงคราม เจ้าเมืองเมืองไชยา
8.ออกพระราชสุภาวดี ศรีสจะเทพณรายสมุหะมาตยาธิบดีศรีสุเรนทราเมศวร เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง
9.ออกพระศรีภูริยปรีชาราชเสนาบดีศรีสารลักษณ เจ้ากรมอาลักษณ์
10.พระราชครูพระครูพิเชดษรราชธิบดีศรีษรคม พราหมน์
11.พระธรรมสาตรโหระดาจารยปลัดมหิธร พราหมน์
12.พระราชครูพระครูพิรามราชสุภาวดีตรีเวทจุทามะณีศรีบรมหงษ์ ปุโรหิต
13.พระอุไทยธรรม เจ้ากรมภูษามาลา
14.พระเพทราชาธิบดีศรีสุริยาภิชาติสุริยวงษ์องคสมุหะ สมุหะพระคชบาลจางวางขวา
15.พระสุรินทราราชาธิบดีศรีสุริยศักดิ์ สมุหะพระคชบาลจางวางซ้าย
16.พระเพชรพิไชย จางวาง กรมล้อมพระราชวัง
17.พระราชภักดีศรีรัตนราชสมบัติพิริยภาหะ เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ
18.พระพิชัยสงคราม เจ้ากรมอาสาซ้าย
19.พระรามคำแหง เจ้ากรมอาสาขวา
20.พระพิชัยรณฤทธิ เจ้ากรมเขนทองขวา
21.พระวิชิตรณรงค์ เจ้ากรมเขนทองซ้าย

ขุนนางที่มีศักดินา 3,000 ไร่ ที่รั้งหัวเมืองตรี และ หัวเมืองจัตวา
1.พระราชฤทธานนพหลภักดี ปลัดเมืองพิษณุโลก
2.พระศรีราชสงคราม ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช
3.ออกพระศรีสุรินทฤๅไชย เจ้าเมืองเพชรบุรี
4.ออกพระสุระบดินทร์สุรินฤ่ไชย เจ้าเมืองชัยนาท
5.ออกเมืองอินทบุรี เจ้าเมืองอินทบุรี
6.ออกเมืองพรมบุรีย์ เจ้าเมืองพรหมบุรี
7.ออกพระญี่สารสงคราม เจ้าเมืองสิงห์บุรี
8.ออกพระนครพราหมณ์ เจ้าเมืองลพบุรี
9.ออกพระพิไชยรณรงค์ เจ้าเมืองสระบุรี
10.ออกพระพิไชยสุนทร เจ้าเมืองอุทัยธานี
11.ออกพระศรีสิทธิกัน เจ้าเมืองมโนรมย์
12.ออกพระวิเศษไชยชาญ เจ้าเมืองวิเศษไชยชาญ
13.ออกพระสวรรคบุรี เจ้าเมืองสวรรคบุรี
14.ออกพระพิไชยภักดีสรีมไหยสวรรค เจ้าเมืองกาญจนบุรี
15.ออกพระพลคบุรีย์ เจ้าเมืองไทรโยค
16.ออกพระสุนธรสงครามรามพิไชย เจ้าเมืองสุพรรณบุรี
17.ออกพระศรีสวัสดิ์บุรีย์ เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์
18.ออกพระสุนธรบุรียศรีพิไชยสงคราม เจ้าเมืองนครไชยศรี
19.ออกพระอมรินฤๅไชย เจ้าเมืองราชบุรี
20.ออกพระพิบูลย์สงคราม เจ้าเมืองนครนายก
21.ออกพระอุไทยธานี เจ้าเมืองปราจีนบุรี
22.ออกพระพิไชยภักดีสรีวิสุทธิสงคราม เจ้าเมืองกุย
23.ออกพระราชภักดีศรีสงคราม เจ้าเมืองระยอง
24.พระวิเศศฤๅไชย เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา
25.พระนนทบุรีศรีมหาสมุทร เจ้าเมืองนนทบุรี
26.พระสมุทรสาคร เจ้าเมืองท่าจีน
27.พระสมุทรประการ เจ้าเมืองแม่กลอง
28.พระชนยบุรีย เจ้าเมืองชลบุรี
29.พระปรานบุรีย์ศรีสงคราม เจ้าเมืองปราณบุรี
30.พระบางลมุง เจ้าเมืองบางละมุง
31.พระศรีสมรรัตนราชภักดีศรีบวรพัช เจ้าเมืองท่าโรง
32.พระนครไชยสินนรินท เจ้าเมืองบัวชุม
33.พระจันบูรราชภักดีศรีขันทเสมา เจ้าเมืองกำพราน
34.พระไชยบาดาล เจ้าเมืองไชยบาดาล

สรุป
บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยนี้ ไม่อาจเทียบกับตะวันตกได้ เนื่องจากระบบที่แตกต่างกัน ขุนนางตะวันตกเป็นขุนนางสืบตระกูล และไม่ใช่ข้าราชการ แม้ว่าขุนนางบางคนรับราชการ แต่ขุนนางไทยเป็นข้าราชการ และตำแหน่งขุนนางผูกพันกับระบบราชการ ส่วนขุนนางตะวันตกนั้น ตำแหน่งขุนนาง ผูกพันกับการถือครองที่ดิน ที่ได้รับพระราชทานไว้แต่เดิม และส่วยสาอากร หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดินนั้น ขุนนางตะวันตก จึงมีส่วนคล้ายกับเจ้าต่างกรม ของไทย ในส่วนของผลประโยชน์ในตำแหน่ง เช่น ส่วย กำลังคน เป็นต้น แต่เจ้าต่างกรมของไทย ก็ไม่ได้สืบตระกูล
ดังนั้น บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยจึงน่าจะเป็นชั้นยศ (Rank) มากกว่าเป็นบรรดาศักดิ์ (Title) ตามหลักการสมัยใหม่ การเทียบตำแหน่งขุนนางไทยโบราณกับปัจจุบันจึงไม่ยากนัก เพราะเมื่อเป็นชั้นยศ ที่หมายถึงลำดับสูงต่ำของคนในระบบนั้น ก็เอาระดับสูงสุด กับต่ำสุดมาเทียบกัน และประมาณการเอาได้ โดยไม่ยาก แต่อาจจะไม่ตรงกันโดยสมบูรณ์ แต่ก็จะทราบอย่างคร่าวๆ เช่น

ข้าราชการระดับ 1 เทียบ "นาย"
ข้าราชการระดับ 2 เทียบ "พัน" หรือ "หมื่น"
ข้าราชการระดับ 3,4 เทียบ "ขุน" (เพราะระดับ 3 ถือเป็นข้าราชการสัญญาบัตร)
ข้าราชการระดับ 5,6 เทียบ "หลวง"
ข้าราชการระดับ 7,8 เทียบ "พระ"
ข้าราชการระดับ 9,10 เทียบ "พระยา" (โดยระดับ 10 อาจเทียบพระยานาหมื่น คือศักดินา 10,000 ไร่ ส่วนระดับ 9 เทียบพระยาศักดินาต่ำลงมาคือ 5,000 ไร่)
ข้าราชการระดับ 11 เทียบ "เจ้าพระยา"

ส่วน บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ ไม่อาจเทียบได้กับข้าราชการปัจจุบัน แต่เหมือนกับการยกสามัญชน ขึ้นเทียบเท่าเจ้าต่างกรมมากกว่า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการเทียบเพียงคร่าวๆ เท่านั้น
หากจะเทียบขุนนางสมัยก่อนกับข้าราชการในสมัยปัจจุบันอาจเทียบได้ดังนี้ คือ ตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง ในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันเรียก ปลัดกระทรวง นั้นในสมัยโบราณมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" ส่วนตำแหน่ง เจ้ากรม ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเรียก อธิบดี สมัยโบราณนั้น เจ้ากรมมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" หรือ "พระ" เพราะฉะนั้นหากจะเทียบเคียงกันจริงๆนั้น เทียบได้ยาก แต่ก็พอเปรียบได้ดังนี้ คือ ปลัดกระทรวง มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระยา รองปลัดกระทรวง,อธิบดี มีบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยา" หรือ "พระ" รองอธิบดี,ผู้อำนวยการสำนัก มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง" ผู้อำนวยการกอง,หัวหน้ากลุ่มงาน มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงหรือขุน"
ระบบบรรดาศักดิ์ของไทย รวมทั้งราชทินนาม ได้มีการยกเลิกไปใน พ.ศ. 2485 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/

18 มี.ค. 2556 เวลา 22:19 | อ่าน 27,623


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รองนายกฯสมศักดิ์-กฤษฎา-อนุชา ถก คณะทำงานโครงการโคแสนล้าน ได้ข้อยุติ ธ.ก.ส.ให้อัตราดอกเบี้ย 4.5% ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ชี้ วัวเป็นหลักประกันได้ เตรียมนำข้อสรุปชงคณะรัฐมนตรี
51 27 มี.ค. 2567
ครม.เห็นชอบ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน
87 27 มี.ค. 2567
สมศักดิ์ เผย ยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. คืบหน้าแล้ว ล็อตแรกนำร่อง 20 ฉบับ จ่อชงคณะรัฐมนตรี เคาะ เม.ย.นี้ ย้ำ หากหน่วยงานมีความเห็นให้ยกเลิกเพิ่ม ก็จะตามไปในล็อตสอง
13 26 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาลเชื่อมั่นรายได้ชาวนาปีนี้เพิ่มแน่ เป็นไปตามความตั้งใจรัฐบาลสร้างรอยยิ้มให้ชาวนา
9 26 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 มีนาคม 2567
302 24 มี.ค. 2567
สธ.จ่อหารือ ก.พ.เพิ่มความก้าวหน้า “เภสัชกร” เลื่อนไหลเป็น “ชำนาญการพิเศษ” ได้ทุกตำแหน่ง
589 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือโดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล แนะห้ามกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน APP Store หรือ Play Store
693 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก อำนวยความสะดวกผู้ขายและผู้ซื้อ ผ่านเว็บไซต์
427 23 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2567
843 17 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาล เผย ผลงานนายกฯ ดันราคายางสูงขึ้นทะลุ 90 บาท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี
46 13 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน