วิตามิน อาหารเสริมของผู้สูงอายุ

17 มี.ค. 2558 เวลา 09:21 | อ่าน 5,941
 

ใครๆ ก็คงไม่อยากเป็นผู้สูงวัยกันใช่ไหมครับ ยิ่งปัญหาสุขภาพกับผู้สูงอายุดูเป็นสิ่งที่คู่กันที่ใครก็อย่าหลีกเลี่ยง เรามารู้จักผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพกันดีไหม เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันหรือลดปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคำว่า “ผู้สูงอายุ” ก่อน พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 บัญญัติไว้ว่า ผู้สูงอายุ คือ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับที่บัญญัติไว้โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation, UN 2007) แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรปและญี่ปุ่น มักจะถือเอาเกณฑ์อายุ 65 ปีขึ้นไป และใช้เป็นเกณฑ์การเกษียณอายุ ปัจจุบันมีหลายประเทศมีแนวโน้มเพิ่มอายุเกษียณจาก 65 ปีขึ้นไป




ผู้สูงอายุ

ในสถานการณ์ปัจจุบันโลกมีแนวโน้มเข้าสู่โลกของผู้สูงอายุ โดยในปี ค.ศ. 2014 ที่ผ่านมา ประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วโลก มีสูงถึง 868 ล้านคน คิดเป็น 12.06% ของประชากรทั้งหมด ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 10.2 ล้านคน คิดเป็น 15.20% ของประชากรไทย และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นทุกปี ตัวเลขในปี ค.ศ. 2013 ประเทศญี่ปุ่นมีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด (32%) และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 63 ของโลก (14.3%) จากสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ องค์การอนามัยโลก (WHO) และหลายประเทศทั่วโลกจึงได้มีนโยบายหลายประการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ข้อหลักๆ คือ


การจัดให้มีเงินสวัสดิการ หรือเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุการจัดให้มีงานแก่ผู้สูงอายุที่ยังต้องการทำงาน การมีความชอบธรรม สิทธิและอิสรภาพ ในการรับบริการด้านสาธารณสุข
ด้วยปัญหาสุขภาพที่มีมากขึ้นตามวัย จึงมีโรคหลายชนิดที่สัมพันธ์กับวัยที่สูงขึ้น (Aging-associated diseases) ซึ่งโรคที่พบบ่อยได้แก่
1) โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ

2) โรคเบาหวานโดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2

3) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

4) ความดันโลหิตสูง

5) ต่อมลูกหมากโต

6) ปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น

7) โรคข้อและกระดูก

8) มะเร็ง

และ 9) อาการซึมเศร้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคที่พบในผู้สูงอายุ จัดเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อว่า NCD (Noncommunicable Diseases) ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุการตายสูงสุดของผู้สูงอายุ มากกว่าโรคติดต่อหรืออุบัติเหตุร่วมกันเสียอีก ซึ่งปัญหาโรค NCD เป็นปัญหาและภาระอันหนักหน่วงของสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จากข้อมูลงานวิจัยองค์การอนามัยโลก ผลการสำรวจจาก 23 ประเทศ ในช่วงปี ค.ศ. 2006-2015 คาดการณ์ว่า การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรค NCD มีมูลค่ารวมมากกว่า 83 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาล


ดังนั้นการลดปัจจัยเสี่ยงอันเป็นสาเหตุนำพาให้เกิดโรค NCD จึงมีความสำคัญมาก ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค NCD ในผู้สูงอายุได้แก่ การสูบบุหรี่ การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขภาพ ภาวะเฉื่อยหรือการขาดการออกกำลังกาย และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จะเห็นว่าโลกก้าวเข้าสู่โลกผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรคที่สัมพันธ์กับอายุที่สูงขึ้นมีประเด็นหลักคือโรค NCD ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถแก้หรือลดความรุนแรงได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การที่ผู้สูงอายุได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ได้ทานอาหารที่ถูกสุขภาพ มีการออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ด้วยสุขภาพที่อาจเสื่อมโทรมไปตามวัย ผู้สูงอายุจำนวนมากจึงใช้วิตามินและอาหารเสริม ทั้งที่อาจมาตามใบสั่งแพทย์หรือนำมาใช้เอง สาเหตุที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้องใช้วิตามินหรืออาหารเสริมมากกว่าคนวัยอื่นๆ อาจเนื่องมาจากปัญหาด้านการทานอาหารที่น้อยลงและไม่ได้คุณค่าครบถ้วน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสาเหตุการเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร ปัญหาสุขภาพฟัน การสูญเสียการรับรสและการดมกลิ่น ความยากลำบากในการจัดหาอาหารที่ถูกสุขภาพ ปัญหาด้านการเงิน และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ด้วยเหตุนี้จึงจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุต้องการวิตามินและสารอาหารเสริมสุขภาพเพื่อ

1. ทดแทนอาหารที่จำเป็นที่ขาดหายไป อันเนื่องมาจากต้องทานในปริมาณที่สูง

2. ใช้ป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากโรคหรืออาการต่างๆ

3. เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

4. ให้พลังงานหรือความกระฉับกระเฉงแก่ร่างกาย

5. เพิ่มประสิทธิภาพของสมองและการทำงานของร่างกาย

6. เพื่อลดปัญหาโรคหรืออาการต่างๆ

7. ใช้เพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือช่วยในระบบการขับถ่าย

เมื่ออาหารเสริมและวิตามินมีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างถูกต้องและให้มีประสิทธิภาพดี จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ วิธีที่ระบุไว้ข้างล่างจึงถือเป็นสิ่งที่ควรคำนึงก่อนใช้วิตามินและอาหารเสริม

อาหารหลัก 5 หมู่

1. อาหารเสริมและวิตามินไม่สามารถชดเชยคุณค่าอาหารจากธรรมชาติได้ทั้งหมด เช่น คุณค่าอาหารจากผักสด ผลไม้ และธัญพืช คุณก็ยังต้องพยายามทานอาหารที่มีคุณภาพให้ได้มากที่สุด

2. ห้ามใช้วิตามินและอาหารเสริมแทนยา ผู้ป่วยก็ยังต้องทานยาตามที่กำหนดไว้ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

3. การใช้อาหารเสริมและวิตามินแต่ละชนิด ต้องพิจารณาสุขภาพของแต่ละบุคคลด้วย

4. ต้องระวังผลข้างเคียงจากอาหารเสริมและวิตามิน

5. การทานอาหารเสริมและวิตามินที่มากเกินไป ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ควรทานเท่าที่จำเป็น

6. หลีกเลี่ยงการใช้อาหารเสริมและวิตามินเป็นระยะเวลานาน

7. ควรใช้อาหารเสริมและวิตามินอย่างชาญฉลาด

8. อย่าลืมศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ วิตามิน และอาหารเสริมของคุณตลอดเวลา

เมื่ออาหารเสริมและวิตามินมีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เชื่อว่าข้อแนะนำ 8 ประการดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่เป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ก็สามารถใช้กับทุกวัยได้ ดังนั้นขอให้ท่านใช้อาหารเสริมและวิตามินอย่างฉลาด แล้วคุณจะมีสุขภาพดีกว่าคนในวัยเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, เทพเพ็ญวานิส กรุงเทพฯ, 2553; 1-13.
World Health Organization, Definition of an older or elderly person, http://www.who.int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/. Center for disease control and prevention, Identifying vulnerable older adults and legal options for increasing their protection during all-hazards emergencies, 2012; 3-24.
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546.
European Food Safety Authority and Health & consumer protection directorate-general; European commission.
Food and Nutrition board, Institute of medicine, national academic, Dietary Reference Intakes (DRIs), http://www.nap.edu/.
โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์
ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

17 มี.ค. 2558 เวลา 09:21 | อ่าน 5,941


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 12-18 พฤษภาคม 2567
30 14 พ.ค. 2567
คารม เผยข่าวดีแรงงานไทย เปิด รับสมัครคนทำงานมาเก๊า 46 ตำแหน่ง สวัสดิการดี เงินเดือนสูง สมัครด่วนถึง 22 พ.ค 67
576 12 พ.ค. 2567
ลงทะเบียนบริการล้างแอร์ฟรี รัฐบาลเชิญชวน ปชช. ลงทะเบียนบริการล้างแอร์ฟรี ผ่านโครงการ อาชีวะล้างแอร์
158 11 พ.ค. 2567
นายกฯ สั่งการก.คลัง ดีเดย์ด่านOne stop service หนองคายทดลอง1ก.ย.นี้ลดขั้นตอนส่งสินค้าไปลาวและจีนพร้อมสั่งกรมโรงงานเร่งพิจารณาออกใบอนุญาต รง.4
72 8 พ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 5 – 11 พฤษภาคม 2567)
222 5 พ.ค. 2567
จอดพักรถ เปิดฝากระโปรงหน้า ไว้ ดีจริงเหรอ?
81 4 พ.ค. 2567
​พรุ่งนี้ดีเดย์!! 1 พฤษภาคม วันขึ้นเงินเดือนข้าราชการและ ขึ้นเงินบำนาญขั้นต่ำ
1,669 30 เม.ย. 2567
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
229 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
425 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
1,622 25 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน