ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย

28 พ.ค. 2559 เวลา 09:59 | อ่าน 5,449
แชร์ไปยัง
L
 
(บทความสืบเนื่องจาก "โรคไหลตายในทารก!! ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม" )

ตลอดระยะเวลาเก้าเดือนที่ทารกน้อยได้รับการปกป้องดูแลอย่างดีภายในร่างกายของคุณแม่ ทารกจะลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ทำให้ทารกรู้สึกสบาย ทารกใช้โลกใบน้อยแห่งนี้เป็นที่หลับนอน ผลิกตัวเล่นซน ทานอาหาร ขับถ่าย ถุงน้ำคร่ำจึงเปรียบเหมือนเกราะคุ้มภัยที่แข็งแรงแต่อ่อนนุ่ม แต่เมื่อทารกครบกำหนดคลอดจากครรภ์ของมารดามาเผชิญกับโลกภายนอกอันกว้างใหญ่ มีเสียงดังสับสน บางครั้งทารกมิอาจปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกได้ นอกจากนี้สภาวะอากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงระหว่างวันมีความแตกต่างจากถุงน้ำคร่ำที่ให้ความอบอุ่น ทารกจึงเกิดความกลัว ความหวาดระแวงและรู้สึกไม่ปลอดภัย ทารกจะแสดงออกด้วยการร้องไห้ เพื่อทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น การห่อตัวทารก ถือเป็นหนทางที่ดีในการปลอบโยนทารกแรกคลอด อย่างไรก็ตามการห่อตัวทารกอาจไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยสำหรับทารกอีกต่อไป เพราะจากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Pediatrics ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 พบว่า การห่อตัวทารกอาจมีความเสี่ยงกับโรคไหลตาย โดยการศึกษานี้อาศัยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis)

ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย

เพื่อเป็นการเสริมความเข้าใจที่ถูกต้อง ผู้เขียนขออธิบายรายละเอียดการห่อตัวทารกน้อยและปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายของทารกดังนี้

การห่อตัวทารกแรกคลอดมีประโยชน์อย่างไร ?
เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว จะได้รับการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย หลังจากนั้นคุณพี่พยาบาลจะห่อตัวทารกน้อยก่อนนำมามอบให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ชื่นชม บางครั้งคุณพ่อกับคุณแม่อาจเข้าใจว่าการห่อตัวลูกน้อยเป็นเพียงการช่วยพยุงทารกในระหว่างการฝึกอุ้มเด็กอ่อนหรือเพื่อความสะดวกในการให้นม แต่แท้ที่จริงแล้วการห่อทารกในช่วงหลังคลอดเป็นการช่วยทารกในการปรับตัวให้เคยชินกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง กระชับแขนขา ลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดัง รักษาความอบอุ่นทำให้ทารกไม่รู้สึกหนาว นอนหลับได้นานขึ้น ระยะเวลาในการห่อตัวทารกนั้นไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัด คือตั้งแต่ 3 วันหลังคลอดจนถึง 1 เดือน หรือบางครั้งอาจพิจารณาเลิกห่อตัวเมื่อทารกเริ่มผลิกกลับตัวได้เอง

ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย

การห่อตัวทารกแรกคลอดมีกี่วิธี อย่างไรบ้าง ?
การห่อตัวทารกเป็นวิธีพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะได้เรียนรู้จากพี่พยาบาลภายหลังคลอดทารกน้อย การห่อตัวทารกหมายถึงการนำผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูห่อตัวทารก การห่อตัวเด็กมีอยู่ 3 วิธีคือ 1. ห่อผ้าบริเวณตัวและปกคลุมส่วนศีรษะของทารกโดยเว้นบริเวณใบหน้า 2. ห่อผ้าบริเวณตัวและคลุมถึงส่วนคอของทารก 3. ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก บางครั้งวิธีการห่อตัวทารกมีความแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติและวัฒนธรรม การห่อตัวทารกควรเลือกคุณลักษณะของผ้าให้เหมาะกับสภาวะอากาศ เช่น หากในวันที่มีสภาพอากาศร้อนควรเลือกใช้ผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หรือ ในวันที่มีอากาศเย็นควรเลือกผ้าที่หนาพอจะรักษาความอบอุ่นให้ทารก

เพราะเหตุใดการห่อตัวทารกแรกคลอดอาจเสี่ยงต่อโรคไหลตาย ?
แม้ว่าการห่อตัวทารกน้อยจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ดีขึ้น แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายได้ สาเหตุพื้นฐานที่สามารถอธิบายได้คือ เมื่อทารกน้อยเริ่มพลิกตัวนอนคว่ำในขณะได้รับการห่อตัวอาจทำให้ขาดอากาศหายใจเนื่องจากการคว่ำหน้าลงบนวัสดุรองนอน ทารกน้อยจะไม่สามารถผลิกตัวกลับมานอนหงายได้เอง เนื่องจากแขนขาถูกห่อไว้ นอกจากนี้การศึกษาในต่างประเทศพบว่าทารกที่ได้รับการห่อตัวในขณะหลับจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าทารกที่ไม่ได้รับการห่อตัวหลังได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงดัง ถ้าหากทารกน้อยมีความบกพร่องในการควบคุมการทำงานของหัวใจและไม่สามารถปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับ อาจนำไปสู่การลดการตอบสนองของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดโรคไหลตายในทารกหรือ sudden infant death syndrome (SIDS) นอกเหนือจากภาวะเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารกแล้ว การห่อตัวทารกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจริญพัฒนาของสะโพกที่ผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน ปอดบวม หรืออาจเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน


คุณพ่อคุณแม่จะห่อตัวลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย?
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ให้คำแนะนำในการห่อตัวทารกน้อยเพื่อความปลอดภัยในการนอนของทารกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนไว้ดังนี้


1. ให้ทารกนอนหลับในท่านอนหงาย เฝ้าติดตามดูลูกน้อยเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยไม่ผลิกตัวนอนคว่ำหรือนอนตะแคงข้าง ในระหว่างที่ห่อตัวทารกไว้ขณะนอนหลับ

2. จัดผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนบนเตียงของลูกน้อยให้ตึงอยู่เสมอ เนื่องจากผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนที่หย่อนรวมถึงผ้าห่อตัวทารกที่ห่อไว้หลวมๆ อาจหลุดออกจากเตียงหรือตัวของทารกน้อยและอาจเป็นสาเหตุทำให้อุดปากหรือจมูกขัดขวางทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตจากการขาดอากาศได้

3. วัสดุรองนอนของทารกต้องปราศจากแผ่นรองนอนที่นิ่มจนบุ่มลงเป็นแอ่ง ปราศจากของเล่นชนิดต่างๆ หมอนและเครื่องนอนอื่นๆ ควรแยกที่นอนของทารกออกจากที่นอนหลักของพ่อแม่เพื่อลดความสูญเสียทารกจากการนอนทับหรืออุบัติเหตุอันไม่คาดคิด

4. การห่อตัวอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของทารกสูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตร่างกายของทารกน้อยอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการห่อตัว อาการที่บ่งบอกถึงสภาพของทารกที่ร้อนกว่าปกติ เช่น มีเหงื่อออกตามตัว ผมเปียกชื้น แก้มแดงกว่าปกติ มีผื่นขึ้นจากความร้อน หายใจเร็ว เป็นต้น

5. พิจารณาใช้จุกนมหลอกสำหรับให้ทารกดูดจะช่วยให้ทารกหลับสนิทได้ดีในระหว่างวัน บริเวณที่นอนของทารกต้องปราศจากควันหรือสารพิษอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจากควันบุหรี่



คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านเมื่ออ่านถึงบรรทัดนี้อาจเกิดความวิตกกังวลในการเลือกพิจารณาว่าควรจะห่อตัวลูกน้อยหรือไม่และจะห่อตัวทารกน้อยเป็นเวลานานเท่าใด ควรเลิกห่อตัวน้อยทันทีเลยหรือไม่ เพื่อลดความเสียงของการเกิดโรคไหลตาย ผู้เขียนขออธิบายว่าการห่อตัวเด็กแรกเกิดยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปรับทารกน้อยให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่หลังการคลอด ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงของการเกิดโรคไหลตายในทารกที่ได้รับการห่อตัวเป็นเพียงข้อมูลงานวิจัยจากต่างประเทศและต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาสาระของบทความนี้จะจุดประกายให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ติดตามวิทยาการ ความก้าวหน้าใหม่ๆ ในต่างประเทศโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทารกและเด็กในวัยต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพของลูกหลานท่านในอนาคต "สวัสดีครับ"


โดย
อาจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร
ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


cr.ภาพจาก https://cdn.adenandanais.com/content/files/images/
productimages/large/2053_3-swaddle-muslin-baby-pink-

blue-stripe-icon.jpg www.rakluke.com


28 พ.ค. 2559 เวลา 09:59 | อ่าน 5,449


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
7 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
169 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
324 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
369 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
383 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
420 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
730 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,388 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
76 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
95 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน