ภาษีมรดกและภาษีการให้ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

21 มิ.ย. 2558 เวลา 17:23 | อ่าน 7,386
แชร์ไปยัง
L
 
หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการเสียภาษีของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา
ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ แต่มีภาษีอยู่เรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและกำลัง
จะถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในไม่ช้านี้ นั่นก็คือร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... โดย
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดหลักเกณฑ์การเสียภาษีของกฎหมายฉบับนี้เพื่อทำความเข้าใจก่อนที่
จะถึงวันบังคับใช้จริง

ภาษีมรดก

กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีดังนี้

(1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(2) บุคคล
ธรรมดาที่มิได้มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(3) บุคคลผู้มิได้มี
สัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินอยู่ในไทย อย่างไรก็ดี ผู้ที่ได้รับมรดกเป็นบุคคลตาม (1) (2)
ต้องเสียภาษีจากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งที่อยู่ในไทยและต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นบุคคลตาม (3)
เสียเฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในไทยเท่านั้น อย่างไรก็ดี บุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษียังให้รวมถึงในกรณีที่ผู้รับมรดก
เป็นนิติบุคคลด้วย โดยหากนิติบุคคลดังกล่าวจดทะเบียนในไทยหรือจัดตั้งตามกฎหมายไทย หรือมีมีสัญชาติ
ไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือมีผู้มีสัญชาติไทยมีอำนาจบริหารเกินกึ่งหนึ่งของกิจการ
ให้ถือเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตาม (1)

สำหรับทรัพย์มรดกที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น ให้รวมถึงทรัพย์มรดกอันได้แก่
อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินฝากหรือเงินอื่นใด
ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ นอกจากนี้ ยังให้รวมถึง
ยานพาหนะทุกชนิดที่มีหลักฐานทางทะเบียน และทรัพย์สินทางการเงินที่กฎหมายอาจมีการกำหนดเพิ่มเติม
ในอนาคต โดยทรัพย์มรดกที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ต้องนำมาคำนวณรวมกันเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ชีวิต

ในส่วนของอัตราการจัดเก็บนั้น กฎหมายได้ก าหนดว่าผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกไม่ว่าจะรับมา
ในคราวเดียวหรือหลายคราวแต่ถ้ารวมกันแล้วมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีร้อยละ 10 เฉพาะ
ส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานให้
เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกส่วนที่เกิน โดยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
และช าระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดก อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถ
ผ่อนชำระภาษีภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีได้ และเมื่อได้ชำระภาษีครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้วจะได้รับ
ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม แต่ในกรณีที่ผ่อนชำระภาษีเกิน 2 ปี ต้องเสียเงินเพิ่มบางส่วนตามที่กฎหมาย
กำหนด

อย่างไรก็ดีกฎหมายได้ยกเว้นการเก็บภาษีมรดกโดยไม่ใช้บังคับแก่เจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่
กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ และมรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อยกเว้น
ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกในกรณีที่

(ก) มรดกที่เจ้ามรดกมีความประสงค์ให้ใช้มรดกเพื่อกิจการศาสนา
การศึกษา หรือสาธารณประโยชน์
(ข) หน่วยงานรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับ (ก) และ
(ค) บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ไทยมีต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมาย
ระหว่างประเทศ

เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... จึงได้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ภาษีการรับให้) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ได้รับโอนมีหน้าที่เสียภาษีจากการรับทรัพย์นั้น ในอัตราร้อยละ 5 ตั้งแต่บาทแรกของมูลค่าทรัพย์ โดยให้ยกเว้นใน 4 กรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่หนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์กับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่มีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท
กรณีที่สอง เงินที่ได้รับจากการอุปการะหรือการให้จากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสที่มีจ านวนไม่เกิน 20 ล้านบาท
กรณีที่สาม เงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือการให้เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม
ประเพณีที่ไม่ใช่จากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส จ านวนไม่เกิน 10 ล้านบาท
กรณีที่สี่ เงินที่ได้มีความประสงค์เพื่อศาสนา การศึกษา สาธารณประโยชน์
โดยถ้าเงินได้ที่ได้รับเกิน 4 กรณีดังกล่าว จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เกินมูลค่าหรือจำนวนดังกล่าว
ดังนั้น จากกรณีข้างต้น หากผู้รับได้รับเงินเกินจำนวนที่กฎหมายก าหนดจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เกิน
นั่นเอง


... เมื่อรู้อย่างนี้แล้วใครมีเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
การรับมรดกและภาษีการรับให้ก็ทำหน้าที่ของตนเอง
ด้วยนะจ๊ะจะได้ช่วยกันลดความเลื่อมล้ำ และกระจาย
ทรัพยากรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมต่อไป ...

บทความกฏหมายน่ารู้จาก สศค. โดย นางธัญลักษณ์ สะตางาม


21 มิ.ย. 2558 เวลา 17:23 | อ่าน 7,386


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
53 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
92 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
94 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
312 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
320 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
639 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,353 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
710 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน