เจาะผลคะแนนชิงดำ"พท.-ปชป." ศึกชิงผู้ว่าฯกทม.17เขตระอุ! ชี้ขาด"สุขุมพันธุ์-พงศพัศ"

17 ม.ค. 2556 เวลา 09:20 | อ่าน 5,234
แชร์ไปยัง
L
 
รายงาน
images by free.in.th

ศึกเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีกำหนดหย่อนบัตรวันที่ 3 มีนาคม เจ้าของแชมป์เก่า "พรรคประชาธิปัตย์" (ปชป.) เปิดตัวหาเสียงช่วย "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" อดีตผู้ว่าฯกทม. ด้วยยุทธศาสตร์ "รักกรุงเทพฯร่วมสร้างกรุงเทพฯ เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร"

ทั้งนี้ "ปชป." ยังนำกลยุทธ์หาเสียงผ่านทางโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/Sukhumbhand
ในขณะที่ผู้สมัครหรือคู่แข่งคนสำคัญอย่าง "พรรคเพื่อไทย" (พท.) ซึ่งพลาดหวังในสนามผู้ว่าฯกทม.มาหลายครั้ง เพิ่งเปิดตัว "พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ" โดยชูแคมเปญหาเสียง "รัฐบาลเพื่อไทย พร้อมรับใช้คน กทม."

"พท." วางยุทธศาสตร์ในช่วงโค้งแรกของการหาเสียงโดยชูสโลแกนว่า "วางยุทธศาสตร์ สร้างอนาคตกรุงเทพฯร่วมกับรัฐบาลอย่างไร้รอยต่อ" และเปิดโซเชียลมีเดียสู้กับ "ปชป." ผ่านทาง www.facebook.com/pongsapatbkk
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ใน 2-3 ครั้งที่ผ่านมา มักเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้น

โดย "ปชป." ประสบความสำเร็จคว้าเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.ได้ 3 สมัย ในขณะที่ตัวแทนของ "พท." หรือ "พรรคพลังประชาชน" และ "พรรคไทยรักไทย" ในอดีตต่างประสบความพ่ายแพ้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น

การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งนี้ จึงน่าจะเป็นการชิงดำของ "พท." และ "ปชป." อีกครั้ง

หากนำผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งล่าสุดมาวิเคราะห์จะพบว่าคนกรุงออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,120,721 คน หรือร้อยละ 51.10 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,150,103 คน

การเลือกตั้งครั้งล่าสุด "ปชป." ส่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 934,602 คะแนน หรือ ร้อยละ 45.41 "พท." ส่ง นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ได้ 611,669 คะแนน หรือร้อยละ 29.72

ขณะที่ผู้สมัครอิสระ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล 334,846 คะแนน หรือร้อยละ 16.27 ส่วนนายแก้วสรร อติโพธิ จากกลุ่มกรุงเทพฯใหม่ ได้ 144,779 คะแนน หรือร้อยละ 7.03

เมื่อนำผลคะแนนของ "สุขุมพันธุ์" และ "ยุรนันท์" มาเทียบกัน จะพบว่า "สุขุมพันธุ์" ชนะห่างด้วยตัวเลข 322,953 คะแนน

แต่หากนำผลคะแนนเลือกตั้งของ "ม.ล.ณัฏฐกรณ์" มารวมกับ "ยุรนันท์" จะพบว่ามีคะแนนรวม 946,515 คะแนน เฉือนชนะ "สุขุมพันธุ์" อย่างฉิวเฉียด

และหากนำผลเลือกตั้งของ "ม.ล.ณัฏฐกรณ์" มารวมกับ "สุขุมพันธุ์" จะพบว่ามีคะแนนรวม 1,269,448 คะแนน โดยจะทิ้งห่างเพิ่มขึ้นอีก 6 แสนกว่าคะแนน

ทั้งนี้ "มติชน" ขอนำผลคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ใน กทม. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้

โดยนำผลคะแนนที่ "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) รายงานจากการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พบว่า พท. มีผู้ลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย 1,209,508 คะแนน ปชป. มีผู้ลงคะแนนให้ 1,277,669 คะแนน โดยมีคะแนนที่ ปชป.ชนะ พท.ห่างกัน 68,161 คะแนน

ในขณะที่ "กกต." รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ใน กทม. ทั้ง 33 เขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พบว่า พท.มีผู้ลงคะแนนให้ 1,206,617 คะแนน ปชป. มีผู้ลงคะแนนให้ 1,356,672 คะแนน

โดย ปชป. มีคะแนนชนะห่าง พท. 150,055 คะแนน หรือ ปชป.ได้ ส.ส.กทม. จำนวน 23 เขต ในขณะที่ พท.ได้ ส.ส.กทม. จำนวน 10 เขต

นอกจากนี้ เมื่อเข้าไปสำรวจผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.เชิงลึกในแต่ละเขตเลือกตั้งทั้ง 33 เขต เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พบว่าเป็นการต่อสู้กันของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ระหว่าง "พท." กับ "ปชป."

โดยแบ่งสัดส่วนกลุ่มคะแนนได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มที่มีเขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคชนะห่างกันเกิน 10,000 คะแนนขึ้นไปมีทั้งหมด 7 เขตเลือกตั้ง โดย ปชป.ชนะ 4 เขตเลือกตั้ง พท.ชนะ 3 เขตเลือกตั้ง ดังนี้

เขต 1 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ปชป. 40,328 คะแนน พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ เภกะนันทน์ พท. 20,230 คะแนน

เขต 2 น.ส.อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ ปชป. 52,178 คะแนน ม.ล.ณัฎฐพล เทวกุล พท. 26,956 คะแนน

เขต 3 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ปชป. 47,982 คะแนน นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ พท. 29,976 คะแนน

เขต 4 อนุชา บูรพชัยศรี ปชป. 44,621 คะแนน

นายวรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ พท. 29,749 คะแนน

เขต 13 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พท. 51,765 คะแนน นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ปชป. 33,805 คะแนน

เขต 20 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พท. 44,914 คะแนน นางสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์ ปชป. 26,256 คะแนน

เขต 22 นายสามารถ มะลูลีม 10 ประชาธิปัตย์ 50,467 คะแนน นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ 1 เพื่อไทย 39,437 คะแนน

เมื่อดูจากผลคะแนนในเขตเลือกตั้งแล้วพบว่า "ปชป." มีฐานที่แน่นหนาใน กทม.ถึง 4 เขตเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คะแนนดังกล่าวนี้มาช่วยสนับสนุน "ม.ร.ว.สุขุมพันธ์" ได้ ในขณะที่ อีก 2 เขตเลือกตั้งเป็นฐานเสียงที่แน่นหนาของ "พท." ซึ่งจะเป็นคะแนนหลักในการสนับสนุน "พล.ต.อ.พงศพัศ"

2.เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคชนะคะแนนห่างกันตั้งแต่ 5,000 คะแนน แต่ไม่เกิน 10,000 คะแนน มี 9 เขต โดย ปชป.ชนะใน 7 เขตเลือกตั้ง พท.ชนะใน 2 เขตเลือกตั้ง ดังนี้

เขต 6 นายธนา ชีรวินิจ ปชป. 51,501 คะแนน นายกวี ณ ลำปาง พท. 45,792 คะแนน

เขต 7 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ปชป. 38,470 คะแนน น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ พท. 32,692 คะแนน

เขต 8 นายสรรเสริญ สมะลาภา ปชป. 43,293 คะแนน นายสิงห์ทอง บัวชุม พท. 38,187 คะแนน

เขต 12 นายการุณ โหสกุล พท. 38,351 คะแนน นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ปชป. 30,675

เขต 14 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พท. 49,829 คะแนน นายวิทเยนทร์ มุตตามระ ปชป. 41,735 คะแนน

เขต 21 นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ปชป. 42,754 คะแนน นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ พท. 33,317 คะแนน

เขต 23 นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ ปชป. 47,993 คะแนน นายวัฒนา เซ่งไพเราะ พท. 39,668 คะแนน

เขต 24 นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ ปชป. 44,689 คะแนน นายเอนก หุตังคบดี พท. 35,789 คะแนน

เขต 25 นางนันทพร วีรกุลสุนทร ปชป. 44,140 คะแนน นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ พท. 38,399 คะแนน

เมื่อดูผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.เขตในกลุ่มนี้ พบว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งล่าสุด "ปชป." สามารถกุมชัยชนะได้ 7 เขตเลือกตั้ง โดย 7 เขตเลือกตั้งจึงน่าจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนคะแนนเสียงให้กับ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" และอีก 2 เขตเลือกตั้ง เป็นฐานเสียงสำคัญที่จะสนับสนุนให้กับ "พล.ต.อ.พงศพัศ"

3.เขตเลือกตั้งที่คะแนนสูสี 2 พรรคต่างชนะห่างกันไม่เกิน 5,000 คะแนน มี 17 เขต โดย ปชป.ชนะใน 10 เขตเลือกตั้ง พท.ชนะใน 7 เขตเลือกตั้ง ดังนี้

เขต 5 น.ส.ลีลาวดี วัชโรบล พท. 38,206 คะแนน น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ปชป. 37,528

เขต 9 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ปชป. 42,352 คะแนน น.ส.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ พท. 37,602 คะแนน

เขต 10 นายชื่นชอบ คงอุดม ปชป. 32,306 คะแนน นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ พท. 30,596 คะแนน

เขต 11 นายสุรชาติ เทียนทอง พท. 28,376 คะแนน นายสกลธี ภัททิยกุล ปชป. 25,704 คะแนน

เขต 15 นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ปชป. 37,260 คะแนน นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ พท. 32,737 คะแนน

เขต 16 นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พท. 48,690 คะแนน นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ปชป. 47,425 คะแนน

เขต 17 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พท. 42,450 คะแนน นายชาญวิทย์ วิภูศิริ ปชป. 39,634 คะแนน

เขต 18 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พท. 39,058 คะแนน นายสมัย เจริญช่าง ปชป. 37,910 คะแนน

เขต 19 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พท. 36,530 คะแนน นายวสันต์ มีวงษ์ ปชป. 32,667 คะแนน

เขต 26 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ปชป. 46,910 คะแนน น.ส.นพสรัญ วรรณศิริกุล พท. 45,092 คะแนน

เขต 27 นายสากล ม่วงศิริ ปชป. 38,137 คะแนน นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ พท. 33,475 คะแนน

เขต 28 พ.ต.อ.สามารถ ม่วงศิริ ปชป. 41,601 คะแนน นายวัน อยู่บำรุง พท. 40,465 คะแนน

เขต 29 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ปชป. 37,932 คะแนน นายแสวง ฤกษ์จรัล พท.34,457 คะแนน

เขต 30 นายอรอนงค์ คล้ายนก ปชป. 48,362 คะแนน ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต พท. 43,420 คะแนน

เขต 31 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ พท. 50,192 คะแนน นายมานะ คงวุฒิปัญญา พท. 46,693 คะแนน

เขต 32 นายชนินทร์ รุ่งแสง ปชป. 43,407 คะแนน นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ พท. 40,942 คะแนน

เขต 33 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ปชป. 36,458 คะแนน นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ พท. 32,217 คะแนน

เมื่อดูจากผลคะแนนในกลุ่มนี้ จะพบว่าเป็น 17 เขตเลือกตั้งที่ผลแพ้และชนะอาจออก "หัว" หรือ "ก้อย" ได้เสมอ ซึ่งจะเป็นการต่อสู้กันของ "พท." และ "ปชป." อย่างสูสีและคู่คี เพราะคะแนนของคู่แข่งใน 2 พรรคใหญ่ต่างชนะกันไม่เด็ดขาด

ใน 17 เขตเลือกตั้งดังกล่าวนี้ จึงน่าจะเป็นตัวแปรชี้ขาดให้กับ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" และ "พล.ต.อ.พงศพัศ"

ซึ่งจะเป็นการเดิมพันห้ำหั่นกันของ 2 พรรคการเมืองที่มีฐานคะแนนเสียงใน กทม.อย่างแน่นหนาในช่วงนับถอยหลังก่อนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2556 วันหย่อนบัตรเลือกผู้ว่าฯกทม.คนใหม่

โดยมีโอกาสที่ "ปชป." กับ "พท." หรือ "สุุขุมพันธุ์" และ "พงศพัศ" จะมีโอกาสเป็นได้ทั้ง "ผู้แพ้" หรือ "ผู้ชนะ" ได้เช่นกัน!!!

ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใน กทม. เมื่อ 3 กรกฎาคม 2554

พรรคการเมือง คะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

พรรคประชาธิปัตย์ 1,277,669 1,356,672

พรรคเพื่อไทย 1,209,508 1,206,617

คะแนนห่างกัน 68,161 150,055

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 11 มกราคม พ.ศ. 2552

พรรคการเมือง/ผู้สมัคร คะแนน ร้อยละ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

พรรคประชาธิปัตย์ 934,602 45.41

นายยุรนันท์ ภมรมนตรี

พรรคเพื่อไทย 611,669 29.72

หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (ผู้สมัครอิสระ) 334,846 16.27

นายแก้วสรร อติโพธิ

กลุ่มกรุงเทพฯ ใหม่ 144,779 7.03

หน้า 11 มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2556
ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358387520&grpid=03&catid=&subcatid= วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:00:25 น.


17 ม.ค. 2556 เวลา 09:20 | อ่าน 5,234


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
รองนายกฯสมศักดิ์-กฤษฎา-อนุชา ถก คณะทำงานโครงการโคแสนล้าน ได้ข้อยุติ ธ.ก.ส.ให้อัตราดอกเบี้ย 4.5% ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ชี้ วัวเป็นหลักประกันได้ เตรียมนำข้อสรุปชงคณะรัฐมนตรี
59 27 มี.ค. 2567
ครม.เห็นชอบ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน
97 27 มี.ค. 2567
สมศักดิ์ เผย ยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. คืบหน้าแล้ว ล็อตแรกนำร่อง 20 ฉบับ จ่อชงคณะรัฐมนตรี เคาะ เม.ย.นี้ ย้ำ หากหน่วยงานมีความเห็นให้ยกเลิกเพิ่ม ก็จะตามไปในล็อตสอง
14 26 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาลเชื่อมั่นรายได้ชาวนาปีนี้เพิ่มแน่ เป็นไปตามความตั้งใจรัฐบาลสร้างรอยยิ้มให้ชาวนา
9 26 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 มีนาคม 2567
302 24 มี.ค. 2567
สธ.จ่อหารือ ก.พ.เพิ่มความก้าวหน้า “เภสัชกร” เลื่อนไหลเป็น “ชำนาญการพิเศษ” ได้ทุกตำแหน่ง
599 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือโดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล แนะห้ามกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน APP Store หรือ Play Store
698 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก อำนวยความสะดวกผู้ขายและผู้ซื้อ ผ่านเว็บไซต์
435 23 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2567
854 17 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาล เผย ผลงานนายกฯ ดันราคายางสูงขึ้นทะลุ 90 บาท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี
46 13 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน