ผลการตรวจสอบเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz (3G)

7 ธ.ค. 2555 เวลา 03:52 | อ่าน 3,634
แชร์ไปยัง
L
 
images by free.in.th

ในวันที่ 6 ธันวาคม 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. ได้แถลงการณ์เรื่องการรับทราบผลคดีพิพาทจากศาลปกครองกลาง, ผลตรวจสอบกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ, ผลการตรวจสอบจากคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz และผลพิจารณาคำชี้แจงเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. คำสั่งของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555 ศาลปกครองกลางนัดผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ฟ้องคดี) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) (ผู้ถูกฟ้องคดี) เข้ารับฟังคำสั่งศาลคดี ซึ่งภายหลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2865/2555 ระหว่างผู้ตรวจการแผ่นดิน กับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนการกระทำทางปกครองในการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ของสำนักงาน กสทช. รวมถึงประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ซึ่งคำสั่งศาลปกครองกลางมีความว่า “การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ตามประกาศของ กสทช รวมถึงประกาศ กสทช ที่เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลเป็นคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้มีสิทธิเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองตามมาตรา 245 วรรคหนึ่ง(2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา14 (2) แห่งพรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน 2552 และมาตรา 43 แห่งพรบ. จัดตั้งศาลปกครอง 2542 ได้ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวดุจกัน จึงมีคำสั่งไม่รับคำเสนอเรื่องพร้อมความเห็นและคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาและใหิจำหน่ายคดีออกจากสารบบ"

สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของกทค. นั้น มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ให้อำนาจ กทค. ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ได้ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามมาตรา 27 (4) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) (13) และ (16) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การจัดการประมูลคลื่นความถี่ การรับรองผลการประมูลซึ่งเป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของการออกใบอนุญาต กทค. จึงมีอำนาจดำเนินการแทน กสทช. และการดำเนินการหรือการกระทำของ กทค. มีผลสมบูรณ์ กสทช. ไม่มีอำนาจทบทวนการกระทำดังกล่าว ส่วนหน้าที่ของ กสทช. ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน กสทช. ไม่สามารถคาดเดาในขั้นตอนของการกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่าจะมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย และแต่ละรายต้องการความถี่จำนวนเท่าใด
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมีอำนาจตรวจสอบเรื่องต่างๆ แต่รัฐธรรมนูญมีข้อยกเว้นว่าสำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ใช่ข้าราชการ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ศาลปกครองกลาง จึงไม่อาจตีความเรื่องคุณสมบัติของ กสทช. ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายหลักได้ และผู้ฟ้องยอมรับในสำนวนคำร้องว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบ กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งศาลปกครองกลางยืนยันว่าการประมูลใบอนุญาตฯ เป็นอำนาจของ กสทช. ดังนั้นศาลปกครองกลาง จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา

2. ผลการตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จาก DSI เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ ได้ส่งผลการตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยวิธีประมูลตามประกาศ กสทช. ดังกล่าวเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการคมนาคม 2553 ซึ่งกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตและจะต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด

ซึ่งการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ได้ดำเนินการประมูลคลื่นความถี่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ ในขั้นตอนการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ กสทช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด มีผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะเข้ามาประมูลได้ 20 ราย โดยมีผู้มารับแบบคำขอรับใบอนุญาตและลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมชี้แจงการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาต 17 ราย และมายื่นคำขอรับใบอนุญาต 4 ราย ผ่านคุณสมบัติที่มีสิทธิเข้าเสนอราคาได้ จำนวน 3 ราย และจากการเสนอราคาปรากฏว่าได้มีการแข่งขันในการเสนอราคาทั้งหมด 7 รอบ และราคาที่ได้ไม่ต่ำกว่าราคาตั้งต้นที่มูลค่า 4,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าคลื่นความถี่จำนวน 6,440 ล้านบาท นอกจากนี้ กสทช. กำหนดวิธีการประมูลคลื่นความถี่ออกเป็น 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกเป็นการประมูลชุดคลื่นความถี่ และขั้นตอนที่สอง เป็นการกำหนดย่านความถี่ โดยการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาตพร้อมกันและดำเนินการประมูลหลายรอบ โดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ย่อมเห็นได้ว่าการประมูลได้มีการแข่งขันราคากัน กรณีดังกล่าวจึงไม่เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคามผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

3. หนังสือชี้แจงเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหนังสือชี้แจงความเห็นเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ระบุว่ายังไม่มีข้อสังเกตที่จะแจ้งให้ทางสำนักงาน กสทช. ดำเนินการใดๆ แต่เพื่อประโยชน์ในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการต่อไป ซึ่งภายใต้ข้อมูลตามเอกสารที่ส่งมาให้พิจารณานั้นมีข้อมูลอ้างอิงและมีเหตุผลที่รับฟังได้

4. คณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ได้สรุปผลการตรวจสอบพฤติกรรมเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ซึ่งเมื่อคณะทำงานฯ ได้วิเคราะห์จากข้อเท็จจริงประกอบกับพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz แล้วเห็นว่าไม่ปรากฏว่ามีพฤติกรรมใดของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถีท 2.1 GHz เข้าข่ายเป็นการกระทำอันแสดงถึงเจตนาที่ไม่สุจริตในการเสนอราคา หรือแสดงให้เห็นว่ามีการสมยอมในการเสนอราคา หรือมีการประพฤติผิดเงื่อนไขในกฏเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunication - IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 แต่อย่างใด เนื่องจาก ในวันประมูลเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. ได้มอบ Password เป็นการเฉพาะแก่ผู้เข้าร่วมประมูล และผู้แทนของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลทุกคนมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือติดต่อสื่อสารทุกชนิดไว้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานกสทช. อีกทั้งได้จัดให้ผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทอยู่คนละห้อง ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประมูลทั้งสามรายนั้น ได้ยืนยันว่าขณะที่มีการเสนอราคานั้น ไม่สามารถทราบว่ารายอื่นมีการเสนอราคาที่ชุดความถี่ใด รวมทั้งในการเลือกย่านความถี่นั้ นผู้มีสิทธิเลือกย่านความถี่ ได้ตัดสินใจเลือกย่านความถี่โดยพิจารณาจากปัจจัยในเชิงเทคนิคและธุรกิจของตนเป็นสำคัญ

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) น้อมรับผลการตรวจสอบ และขอบคุณทุกหน่วยงานที่ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ทาง กทค. ได้ดำเนินการด้วยความรอบคอบ ภายใต้กรอบกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้คือการเดินหน้าดำเนินการออกใบอนุญาตฯ ให้แก่ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลต่อไป พร้อมๆกับการกำหนดอัตราค่าบริการที่จะต้องลดลงจากปัจจุบัน 15-20 % และมาตรฐานเรื่องคุณภาพของบริการเป็นเรื่องที่ท่านประธาน กสทช. และ กทค. ได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อสาธารณะอย่างชัดเจนแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
ทั้งนี้ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการที่ผู้ประกอบการสามารถนำคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มาใช้ให้บริการเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนได้มากขึ้นก่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต และเป็นพื้นฐานต่อการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ พร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเชียน (AEC) อย่างเต็มภาคภูมิ ท่ามกลางการแข่งขันในระดับสากลต่อไป

ข้อมูลจาก มติชนออไลน์ www.matichon.co.th วันที่ 06 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:13:30 น.


7 ธ.ค. 2555 เวลา 03:52 | อ่าน 3,634


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
136 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
239 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
261 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
366 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
375 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
697 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,379 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
74 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
759 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน