NIFTY Test มิติใหม่ของการตรวจโรคพันธุกรรมทารกในครรภ์

9 เม.ย. 2559 เวลา 09:14 | อ่าน 3,843
แชร์ไปยัง
L
 
ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ของสามีภรรยาหรือคู่แต่งงาน หลังจากทราบว่าทั้งสองกำลังจะเป็นพ่อคนหรือแม่คนนั้น ย่อมหนีไม่พ้นคำถามที่ว่าลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาขึ้นมาดูโลกเป็นลูกชายหรือลูกสาว จะมีหน้าตาน่ารักเหมือนพ่อกับแม่หรือไม่ นอกจากสองคำถามนี้แล้ว ประเด็นเรื่องสุขภาพของทารกในครรภ์ เช่นมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรง มีอวัยวะครบถ้วนและปราศจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ย่อมเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้เราสามารถติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด เช่นการทำอัลตร้าซาวด์แบบธรรมดาหรือแบบ 4 มิติ เพื่อให้ทราบเพศของทารกและในกรณีเดียวกันนี้ เราสามารถติดตามพัฒนาการของอวัยวะหรือแม้แต่ลักษณะใบหน้าของทารกได้ อย่างไรก็ตามการทำอัลตร้าซาวด์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถตรวจสอบลักษณะโรคทางพันธุกรรมของทารก แม้แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวด์ ก็ไม่สามารถตรวจความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความน่าจะเป็นของโรคได้ทั้งหมด จึงต้องมีการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น สภาพสังคมในเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้คู่สามีภรรยาแต่งงานช้าลง เป็นสาเหตุให้เราพบทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เพิ่มขึ้น ในประเทศไทยมีทารกดาวน์เกิดใหม่ประมาณ 1000 รายต่อปี สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้ทารกดาวน์มีความพิการได้แก่ หัวใจและลำไส้อุดตัน มีลักษณะความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มีแขนขาสั้น หนังที่คอหนา และมีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 20-50 หรือภาวะปัญญาอ่อน ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในระยะแรกเกิดหรือมีอายุไขเฉลี่ย 40 ปี


NIFTY Test

การตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ ปัจจุบันนิยมใช้วิธีการเจาะน้ำคร่ำหรือวิธีการเก็บเซลล์ตัวอย่างรก ซึ่งสองวิธีนี้ต้องเข้ารับการตรวจโดยสูตินรีแพทย์เท่านั้นเปรียบเสมือนการทำผ่าตัดเล็กและต้องอาศัยการวิเคราะห์ผลจากผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์โครโมโซม ประสบการณ์ที่ผ่านมาคุณแม่ตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปที่มารับการตรวจด้วยวิธีเจาะน้ำคร่ำ จะตรวจพบเพียงร้อยละ 25 ของทารกดาวน์ทั้งหมดเท่านั้น ถึงแม้จะใช้วิธีอื่นตรวจร่วมด้วยเช่นการเจาะหาสารชีวเคมีในเลือดแม่จะพบทารกดาวน์ได้เพียงร้อยละ 60 ซึ่งหมายความว่าคุณแม่ที่เจาะเลือดเพื่อตรวจสารชีวเคมีในเลือดร่วมกัน 3 หรือ 4 ชนิด ก็ยังไม่สามารถคัดกรองทารกดาวน์ได้แม่นยำ นอกจากนั้นยังมีการตรวจผิดว่าเป็นโรคทั้งที่ไม่เป็น ประมาณร้อยละ 5 ทำให้คุณแม่ต้องไปเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็น


การตรวจนิฟตี้ หรือ NIFTY test คืออะไร ?
การทดสอบนิฟตี้ (NIFTY: Non-Invasive Fetal TrisomY test) คือวิธีการตรวจกรองหาลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดาโดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ เพียงแค่เจาะเลือดคุณแม่เพียง 10 มิลลิลิตรก็สามารถตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของลูกได้ วิธีดังกล่าวนี้คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป การตรวจอาศัยหลักการวิเคราะห์หาลำดับของสารพันธุกรรมเพื่อตรวจสอบการเกินของโครโมโซมคู่ที่ 21 คู่ที่ 18 และ 13 และนอกจากนี้ยังสามารถตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้อีกเช่นความผิดปกติของโครโมโซมเพศ


การตรวจนิฟตี้ให้ข้อมูลความผิดปกติของโรคพันธุกรรมชนิดใดได้บ้าง?
เบื้องต้นการตรวจนิฟตี้จะเน้นกลุ่มความผิดปกติที่พบบ่อยคือ การมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง เช่น กลุ่มดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง กลุ่มเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s Syndrome) โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง และกลุ่มพาทัวซินโดรม (Patau syndrome) โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง นอกจากนั้นยังสามารถตรวจโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่นความผิดปกติของโครโมโซมเพศ หรือแม้แต่การตรวจเพศทารกในครรภ์


การตรวจนิฟตี้มีหลักการอย่างไร?
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 8 สัปดาห์ลูกน้อยจะมีพัฒนาการสร้างอวัยวะที่สมบูรณ์และเมื่อถึงสัปดาห์ที่ 10 หรือประมาณ 2 เดือนครึ่ง อวัยวะภายในของทารกจะทำงานเพิ่มขึ้น ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารและขับของเสียผ่านทางสายรกที่เชื่อมต่อกับคุณแม่ แต่ระบบเลือดของแม่กับลูกไม่ได้แลกเปลี่ยนสารอาหารโดยตรงแต่จะมีเยื่อบางๆ (placental blood barrier) ในการทำหน้าที่เพื่อป้องกันเซลล์ของลูกและแม่ไม่ให้พบกันและต่อต้านกันเพราะเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของแม่จะตรวจสอบว่าเซลล์ของทารกเป็นสิ่งแปลกปลอม เยื่อบางๆ นี้ยอมให้สารพันธุกรรม (DNA) ของลูกผ่านเข้าไปในระบบเลือดของแม่ได้ ด้วยเหตุนี้เพียงเราเก็บเลือดของแม่ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป จะสามารถตรวจหาโรคทางพันธุกรรมจาก DNA ของลูกน้อยที่ปนออกมาในเลือดของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงและเจ็บตัวมากกว่า


NIFTY Test มิติใหม่ของการตรวจโรคพันธุกรรมทารกในครรภ์


การตรวจนิฟตี้มีความแม่นยำกว่าการตรวจน้ำคร่ำหรือไม่?
ข้อมูลจากการวิจัยทางคลินิคพบว่า การตรวจนิฟตี้มีความไวในการตรวจหาโรคถึง 99% เทียบกับวิธีเจาะน้ำคร่ำร่วมกับการวิเคราะห์หาสารเคมีในเลือดที่มีความไวเพียง 60% จากการทดสอบในอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ 112,000 คน นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการตรวจผิดพลาดว่าเป็นโรคทั้งที่ไม่เป็นเหลือเพียง 0.1% เทียบกับวิธีเจาะน้ำคร่ำที่มีความผิดพลาดสูงถึง 5% ในปัจุบันมีคุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่า 400,000 คนทั่วโลกเลือกวิธีการตรวจนิฟตี้ในการหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก


คุณแม่ตั้งครรภ์ประเภทไหนบ้างที่แนะนำให้ทำการทดสอบนิฟตี้?

วิธีการทดสอบนิฟตี้เป็นวิธีที่ใหม่ซึ่งหลายคนไม่คุ้นเคยและยังมีค่าใช้จ่ายสูง ข้อมูลในแต่ละข้อต่อไปนี้อาจจะทำให้เราเลือกพิจารณาความเหมาะสมได้มากขึ้นว่า ควรเข้ารับการตรวจด้วยวิธีนิฟตี้หรือไม่ หากท่านเป็นคุณแม่ที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้

1. คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

2. แพทย์ตรวจพบความผิดปกติของทารกที่อาจมีความเสี่ยงต่อโรคพันธุกรรมด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

3. ต้องการตรวจยืนยันผลความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกจากการตรวจครั้งแรกด้วยวิธีอื่น

4. มีสภาวะเสี่ยงที่ไม่แนะนำให้ทำตรวจน้ำคร่ำ เช่น ภาวะแท้งบุตรง่าย ภาวะรกเกาะต่ำหรือรกของทารกนั้นมาเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกใกล้กับปากมดลูก หรือมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี (HBV, HCV infection)

5. มีประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกชนิด trisomy จากการท้องครั้งก่อน

6. เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือมีภาวะแท้งซ้ำซ้อน

7. มีประวัติครอบครัวหรือญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคที่ผิดปกติทางพันธุกรรม


การตรวจนิฟตี้ต้องเตรียมตัวอย่างไร มีที่ไหนรับตรวจบ้าง?

การตรวจกรองด้วยวิธีนิฟตี้ เหมือนกับการตรวจสุขภาพทั่วไป ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร ทีมแพทย์จะซักประวัติและให้ลงนามในเอกสารในการตรวจ จากนั้นจะเจาะเลือดคุณแม่ 10 มิลลิลิตร (ประมาณ 3 ซ้อนโต๊ะ) ตัวอย่างเลือดจะถูกนำส่งไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และจะทราบผลภายใน 10 วัน จากนั้นแพทย์จะนัดมาฟังผลและให้คำปรึกษา สถาบันทางการแพทย์ที่ให้บริการตรวจมีทั้งหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน คุณแม่ท่านใดสนใจสามารถหาข้อมูลได้จากสื่อสังคมออนไลน์หรือเอกสารเชิญชวนในระหว่างขั้นตอนฝากครรภ์


การมีครอบครัวที่สมบูรณ์เป็นความสุขพื้นฐานของมนุษย์ ในบางคู่สามีภรรยาที่ประสบปัญหาการมีบุตรยากหรือเมื่อมีแล้วทารกเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากพันธุกรรม ย่อมสร้างภาระต่อการดูแลบุตร ธิดา ในอนาคต ถ้าเราสามารถตรวจพบโรคได้ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ย่อมจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว คุณพ่อและคุณแม่สามารถปรึกษากันได้ว่าจะยอมรับภาระเลี้ยงดูลูกที่มีความพิการในอนาคตหรือไม่ สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านครับ สุดท้ายผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความฉบับนี้คงเป็นประโยชน์กับสามีภรรยา คู่แต่งงานที่วางแผนจะมีทายาทในอนาคต สำหรับคราวหน้า พบกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยในการมีบุตรและการตรวจโรคทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของทารกในครรภ์ครับ



โดย อาจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร
ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


9 เม.ย. 2559 เวลา 09:14 | อ่าน 3,843


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
116 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
181 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
211 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
349 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
362 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
672 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,378 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
74 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
750 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน