ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย

28 พ.ค. 2559 เวลา 09:59 | อ่าน 5,438
แชร์ไปยัง
L
 
(บทความสืบเนื่องจาก "โรคไหลตายในทารก!! ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม" )

ตลอดระยะเวลาเก้าเดือนที่ทารกน้อยได้รับการปกป้องดูแลอย่างดีภายในร่างกายของคุณแม่ ทารกจะลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ทำให้ทารกรู้สึกสบาย ทารกใช้โลกใบน้อยแห่งนี้เป็นที่หลับนอน ผลิกตัวเล่นซน ทานอาหาร ขับถ่าย ถุงน้ำคร่ำจึงเปรียบเหมือนเกราะคุ้มภัยที่แข็งแรงแต่อ่อนนุ่ม แต่เมื่อทารกครบกำหนดคลอดจากครรภ์ของมารดามาเผชิญกับโลกภายนอกอันกว้างใหญ่ มีเสียงดังสับสน บางครั้งทารกมิอาจปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกได้ นอกจากนี้สภาวะอากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงระหว่างวันมีความแตกต่างจากถุงน้ำคร่ำที่ให้ความอบอุ่น ทารกจึงเกิดความกลัว ความหวาดระแวงและรู้สึกไม่ปลอดภัย ทารกจะแสดงออกด้วยการร้องไห้ เพื่อทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น การห่อตัวทารก ถือเป็นหนทางที่ดีในการปลอบโยนทารกแรกคลอด อย่างไรก็ตามการห่อตัวทารกอาจไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยสำหรับทารกอีกต่อไป เพราะจากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Pediatrics ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 พบว่า การห่อตัวทารกอาจมีความเสี่ยงกับโรคไหลตาย โดยการศึกษานี้อาศัยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis)

ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย

เพื่อเป็นการเสริมความเข้าใจที่ถูกต้อง ผู้เขียนขออธิบายรายละเอียดการห่อตัวทารกน้อยและปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายของทารกดังนี้

การห่อตัวทารกแรกคลอดมีประโยชน์อย่างไร ?
เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว จะได้รับการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย หลังจากนั้นคุณพี่พยาบาลจะห่อตัวทารกน้อยก่อนนำมามอบให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ชื่นชม บางครั้งคุณพ่อกับคุณแม่อาจเข้าใจว่าการห่อตัวลูกน้อยเป็นเพียงการช่วยพยุงทารกในระหว่างการฝึกอุ้มเด็กอ่อนหรือเพื่อความสะดวกในการให้นม แต่แท้ที่จริงแล้วการห่อทารกในช่วงหลังคลอดเป็นการช่วยทารกในการปรับตัวให้เคยชินกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง กระชับแขนขา ลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดัง รักษาความอบอุ่นทำให้ทารกไม่รู้สึกหนาว นอนหลับได้นานขึ้น ระยะเวลาในการห่อตัวทารกนั้นไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัด คือตั้งแต่ 3 วันหลังคลอดจนถึง 1 เดือน หรือบางครั้งอาจพิจารณาเลิกห่อตัวเมื่อทารกเริ่มผลิกกลับตัวได้เอง

ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย

การห่อตัวทารกแรกคลอดมีกี่วิธี อย่างไรบ้าง ?
การห่อตัวทารกเป็นวิธีพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะได้เรียนรู้จากพี่พยาบาลภายหลังคลอดทารกน้อย การห่อตัวทารกหมายถึงการนำผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูห่อตัวทารก การห่อตัวเด็กมีอยู่ 3 วิธีคือ 1. ห่อผ้าบริเวณตัวและปกคลุมส่วนศีรษะของทารกโดยเว้นบริเวณใบหน้า 2. ห่อผ้าบริเวณตัวและคลุมถึงส่วนคอของทารก 3. ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก บางครั้งวิธีการห่อตัวทารกมีความแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติและวัฒนธรรม การห่อตัวทารกควรเลือกคุณลักษณะของผ้าให้เหมาะกับสภาวะอากาศ เช่น หากในวันที่มีสภาพอากาศร้อนควรเลือกใช้ผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หรือ ในวันที่มีอากาศเย็นควรเลือกผ้าที่หนาพอจะรักษาความอบอุ่นให้ทารก

เพราะเหตุใดการห่อตัวทารกแรกคลอดอาจเสี่ยงต่อโรคไหลตาย ?
แม้ว่าการห่อตัวทารกน้อยจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ดีขึ้น แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายได้ สาเหตุพื้นฐานที่สามารถอธิบายได้คือ เมื่อทารกน้อยเริ่มพลิกตัวนอนคว่ำในขณะได้รับการห่อตัวอาจทำให้ขาดอากาศหายใจเนื่องจากการคว่ำหน้าลงบนวัสดุรองนอน ทารกน้อยจะไม่สามารถผลิกตัวกลับมานอนหงายได้เอง เนื่องจากแขนขาถูกห่อไว้ นอกจากนี้การศึกษาในต่างประเทศพบว่าทารกที่ได้รับการห่อตัวในขณะหลับจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าทารกที่ไม่ได้รับการห่อตัวหลังได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงดัง ถ้าหากทารกน้อยมีความบกพร่องในการควบคุมการทำงานของหัวใจและไม่สามารถปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับ อาจนำไปสู่การลดการตอบสนองของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดโรคไหลตายในทารกหรือ sudden infant death syndrome (SIDS) นอกเหนือจากภาวะเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารกแล้ว การห่อตัวทารกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจริญพัฒนาของสะโพกที่ผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน ปอดบวม หรืออาจเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน


คุณพ่อคุณแม่จะห่อตัวลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย?
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ให้คำแนะนำในการห่อตัวทารกน้อยเพื่อความปลอดภัยในการนอนของทารกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนไว้ดังนี้


1. ให้ทารกนอนหลับในท่านอนหงาย เฝ้าติดตามดูลูกน้อยเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยไม่ผลิกตัวนอนคว่ำหรือนอนตะแคงข้าง ในระหว่างที่ห่อตัวทารกไว้ขณะนอนหลับ

2. จัดผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนบนเตียงของลูกน้อยให้ตึงอยู่เสมอ เนื่องจากผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนที่หย่อนรวมถึงผ้าห่อตัวทารกที่ห่อไว้หลวมๆ อาจหลุดออกจากเตียงหรือตัวของทารกน้อยและอาจเป็นสาเหตุทำให้อุดปากหรือจมูกขัดขวางทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตจากการขาดอากาศได้

3. วัสดุรองนอนของทารกต้องปราศจากแผ่นรองนอนที่นิ่มจนบุ่มลงเป็นแอ่ง ปราศจากของเล่นชนิดต่างๆ หมอนและเครื่องนอนอื่นๆ ควรแยกที่นอนของทารกออกจากที่นอนหลักของพ่อแม่เพื่อลดความสูญเสียทารกจากการนอนทับหรืออุบัติเหตุอันไม่คาดคิด

4. การห่อตัวอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของทารกสูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตร่างกายของทารกน้อยอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการห่อตัว อาการที่บ่งบอกถึงสภาพของทารกที่ร้อนกว่าปกติ เช่น มีเหงื่อออกตามตัว ผมเปียกชื้น แก้มแดงกว่าปกติ มีผื่นขึ้นจากความร้อน หายใจเร็ว เป็นต้น

5. พิจารณาใช้จุกนมหลอกสำหรับให้ทารกดูดจะช่วยให้ทารกหลับสนิทได้ดีในระหว่างวัน บริเวณที่นอนของทารกต้องปราศจากควันหรือสารพิษอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจากควันบุหรี่



คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านเมื่ออ่านถึงบรรทัดนี้อาจเกิดความวิตกกังวลในการเลือกพิจารณาว่าควรจะห่อตัวลูกน้อยหรือไม่และจะห่อตัวทารกน้อยเป็นเวลานานเท่าใด ควรเลิกห่อตัวน้อยทันทีเลยหรือไม่ เพื่อลดความเสียงของการเกิดโรคไหลตาย ผู้เขียนขออธิบายว่าการห่อตัวเด็กแรกเกิดยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปรับทารกน้อยให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่หลังการคลอด ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงของการเกิดโรคไหลตายในทารกที่ได้รับการห่อตัวเป็นเพียงข้อมูลงานวิจัยจากต่างประเทศและต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาสาระของบทความนี้จะจุดประกายให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ติดตามวิทยาการ ความก้าวหน้าใหม่ๆ ในต่างประเทศโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทารกและเด็กในวัยต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพของลูกหลานท่านในอนาคต "สวัสดีครับ"


โดย
อาจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร
ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


cr.ภาพจาก https://cdn.adenandanais.com/content/files/images/
productimages/large/2053_3-swaddle-muslin-baby-pink-

blue-stripe-icon.jpg www.rakluke.com


28 พ.ค. 2559 เวลา 09:59 | อ่าน 5,438


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
621 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
51 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
52 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
385 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
487 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
375 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
433 8 เม.ย. 2567
สธ.จัดทีม SEhRT เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพ-คุณภาพ แม่น้ำโขง หลังเกิดเหตุ กรดซัลฟิวริก รั่วไหลที่ลาว
77 6 เม.ย. 2567
​โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ สั่งการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลังคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณเที่ยวบินช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11 – 17 เมษายน 2567 เพิ่มขึ้น 20%
81 6 เม.ย. 2567
โฆษกฯ เผย รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา กยศ. ปรับโครงสร้างลูกหนี้ กว่า 3.5 ล้านราย เก็บดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อปี ลดเบี้ยปรับไม่เกินร้อยละ 0.5% ต่อปี ไม่ต้องมีผู้ค้ำทุกกรณี
939 31 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน