พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

1 ธ.ค. 2559 เวลา 08:12 | อ่าน 7,072
 
ยาพาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายหาซื้อได้ง่าย เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกวิธี
พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่างๆได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ เคล็ด ขัด ยอก หลายท่านจึงมีติดตู้ยาที่บ้านและมักเป็นยาที่นึกถึงเป็นขนานแรกเมื่อมีอาการปวด เมื่อใช้ในรูปแบบยาเดี่ยว พาราเซตามอลมีฤทธิ์ลดอาการปวดจำกัด รักษาได้เพียงอาการปวดขั้นอ่อนถึงปานกลางเท่านั้น

อาการปวดที่ยาพาราเซตามอลใช้ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล
แม้พาราเซตามอลจะมีฤทธิ์บรรเทาปวดได้หลายอย่างจนเหมือนจะรักษาปวดได้ครอบจักรวาล แต่อย่างไรก็ตามมีอาการปวดบางชนิดที่พาราเซตามอลไม่มีผลรักษาหรืออาจไม่ใช่ยาที่เหมาะสม เช่น

● อาการปวดขั้นรุนแรง

เช่นปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง วิธีการประเมินความปวดอย่างง่ายวิธีหนึ่งคือการให้คะแนนความปวดจาก 0 ถึง 10 ให้เลข 0 แทนความรู้สึกที่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใดและเลข 10 แทนความรู้สึกปวดมากที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ หากประเมินแล้วตัวเลขตกอยู่ในช่วง 7-10 นั่นหมายถึงการมีอาการปวดขั้นรุนแรง ยาพาราเซตามอลแต่เพียงขนานเดียวไม่สามารถรักษาได้แม้ว่าจะใช้เกินขนาดไปเท่าใดก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความปวดระดับดังกล่าวห้ามใช้พาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนำเพื่อหวังผลลดปวดและควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสมต่อไป

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

● อาการปวดที่มีลักษณะอาการแบบแปลกๆ

อาการปวดโทยทั่วไปที่พาราเซตามอลมีผลรักษาเช่น ปวดตื้อ หรือ กดเจ็บ จากเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ หรือปวดศีรษะทั่วไป แต่มีอาการบวดบางแบบที่พบได้ในผู้ป่วยเช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นพักๆ ปวดเหมือนเข็มเล็กๆทิ่มแทง ปวดเหมือนไฟช๊อต ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่นๆ อาการปวดเหล่านี้อาจบ่งถึงอาการปวดจากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ ปวดร่วมกับอาการชา ยาพาราเซตามอลมีผลน้อยมากในการรักษาอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทมักมีอาการเรื้อรังจึงอาจใช้ยาพาราเซตามอลเองเป็นระยะเวลานานซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

● อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

การใช้ยาพาราเซตามอลรักษาอาการปวดศีรษะบ่อยๆ โดยเฉพาะการใช้ยามากกว่า 15 วันต่อเดือนประมาณ 2-3 เดือนติดต่อกันจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache)” ดังนั้นผู้ที่อาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง เช่นปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเดือนละ 3-4 ครั้ง หรือปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนศีรษะถูกบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและอาจจำเป็นต้องรับยาอื่นที่ไม่ใช่พาราเซตามองเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะต่อไป

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

คำแนะนำการใช้ยาพาราเซตามอลในการระงับปวดให้ปลอดภัย
● รับประทานยาอย่างเคร่งครัดตามที่ได้รับการแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือห้ามใช้เกินขนาดที่แนะนำ

ขนาดยาพาราเซตามอลโดยทั่วไปเมื่อใช้ในการรักษาความปวดเบื้องต้นในผู้ใหญ่คือ 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ใน 1 วัน (24 ชั่วโมง) ไม่เกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) จากขนาดยาดังกล่าวสังเกตว่าหากรับประทานครั้งละ 2 เม็ดทุก 4 ชั่วโมง จะเท่ากับ 6,000 มิลลิกรัมซึ่งเกิน 4,000 มิลลิกรัม ให้ระมัดระวังการใช้ยาในขนาดสูงดังกว่า ขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่นี้ ใช้สำหรับรักษาความปวดเบื้องต้น แนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 5-7 วัน หากจำเป็นต้องใช้นานกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์

● หากใช้ยาบางชนิดร่วมด้วยต้องใช้พาราเซตามอลภายใต้การดูแลของแพทย์

ยาบางชนิดอาจทำให้พิษต่อตับของยาพาราเซตามอลเพิ่มขึ้นเช่น ยารักษาวัณโรค เช่น rifampin หรือยารักษาโรคลมชักเช่น phenytoin, carbamazepine และ phenobarbital หรือการดื่มสุราจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน พาราเซตามอลอาจเพิ่มฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น warfarin ซึ่งเป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด หากได้รับยาดังกล่าวควรใช้ยาพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวดทุกชนิดภายใต้การดูแลของแพทย์

● ตรวจสอบชื่อสามัญทางยาของยาที่ใช้อยู่ให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการได้รับพาราเซตามอลเกินขนาด

ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาอยู่หลายขนานให้ทำการตจาวลสอบชื่อสามัญทางยาว่ามี พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) อยู่ในยาแต่ละขนานอย่างซ้ำซ้อนหรือไม่ เพราะมียาหลายชื่อการค้าที่มีพาราเซตามอลแฝงอยู่โดยเฉพาะยาสูตรผสมแก้หวัด เช่น Tiffy® Decolgen®, Pharcold® และ Apracur® และยาสูตรผสมแก้ปวด เช่น Norgesic®, Ultracet® และ Tylenol with codeine® การได้รับยาเหล่านี้ซ้ำซ้อนกันหลายชนิดอาจเป็นเหตุให้ได้รับยาพาราเซตามอลเกิดขนาดโดยไม่ตั้งใจได้ หากไม่แน่ใจในขนาดยารวมของพาราเซตามอลที่ใช้ให้ปรึกษาเภสัชกร



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
อาจารย์ ภก. พงศธร มีสวัสดิ์สม
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://drlumbago.com/body-aches-pains-hurt-all-over/
ข้อมูลจาก บทความเผยแพร่สู่ประชาชน


1 ธ.ค. 2559 เวลา 08:12 | อ่าน 7,072
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
57 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
11 23 พ.ย. 2567
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยถูก
71 22 พ.ย. 2567
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
95 21 พ.ย. 2567
นายกฯ แพทองธารนั่งหัวโต้ะ คกก.ศก.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหญ่ครบวงจรเน้น “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้หนี้ปชช. กระตุ้นลงทุน” มั่นใจปีหน้าศก. ไทยกลับคึกคัก
33 19 พ.ย. 2567
มติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ พร้อมชง 2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต เสนอ นบข.
34 19 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2567
64 17 พ.ย. 2567
มติคณะรัฐมนตรี การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
218 12 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2567
46 10 พ.ย. 2567
ไทยแลนด์ น่าท่องเที่ยวหลังเว็บดังยกขึ้นเบอร์หนึ่งที่มีการจองบินมาในระดับโลก
42 9 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...