โรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) ภัยใกล้ตัว

2 ก.พ. 2560 เวลา 06:44 | อ่าน 4,353
 
จากกรณีที่มีข่าวและเผยแพร่ในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการติดเชื้อหลังจากถูกสัตว์ที่เลี้ยงไว้ข่วนหรือกัด แล้วทำให้มีอาการรุนแรงจนเกิดโรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Flesh-eating disease) นั้น ทำให้หลายๆ คนต้องกลับมาย้อนคิดและระมัดระวังตนเองมากขึ้น เพราะนอกจากโรคพิษสุนัขบ้าจากเชื้อไวรัสแล้วยังมีโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียได้อีกด้วย บทความนี้จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเนื้อเน่าหรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ รวมถึงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้

โรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) ภัยใกล้ตัว

โรคเนื้อเน่าหรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียและก่อให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงที่ผิวหนัง โดยมีการแพร่กระจายไปยังชั้นเนื้อเยื่ออ่อนใต้ผิวหนัง เนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อพังผืด รวมถึงกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อในบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้เป็นโรคที่มีรายงานอุบัติการณ์หรือการเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ถ้ามีอาการเกิดขึ้นหรือเป็นโรคนี้แล้ว ย่อมส่งผลเสียและเป็นอันตรายอย่างมากต่อตัวผู้ป่วย

สาเหตุของการเกิดโรค
โรคเนื้อเน่าหรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิดร่วมกัน แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A streptococci) เชื้อเคล็บเซลลา (Klebsiella) เชื้อคลอสตริเดียม (Clostridium) เชื้ออีโคไล (E. coli) เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และ แอโรโมแนส ไฮโดรฟิลา (Aeromonas hydrophila) โดยพบว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุที่สำคัญคือ เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A streptococci) แต่เชื้อที่มีความรุนแรงคือ แอโรโมแนส ไฮโดรฟิลา (Aeromonas hydrophila)


อาการของโรค
ในระยะแรกของการติดเชื้อ จะเกิดอาการ เจ็บ ปวด บวม แดง ร้อนที่ผิวหนังอย่างรวดเร็ว โดยอาการที่ปวดมากมักไม่สัมพันธ์กับบาดแผลที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ผิวหนังบริเวณบาดแผลมีสีคล้ำ ม่วง ดำ หรือมีถุงน้ำเกิดขึ้น และเกิดการตายของเนื้อเยื่อในบริเวณนั้น ตำแหน่งที่เกิดโรคส่วนใหญ่คือบริเวณขาและเท้า ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือ การช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เบาหวาน และภาวะไตวาย

บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
1. ผู้ที่มีบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ เช่นมีดบาด ตะปูตำ สัตว์กัดหรือข่วน แล้วไม่มีการทำความสะอาดบาดแผล หรือทำความสะอาดบาดแผลอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มดังกล่าว จนเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง

3. ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคไม่ดี เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะไตวาย หลอดเลือดผิดปกติ มะเร็ง ผู้สูงอายุที่ได้เคมีบำบัด ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ เป็นต้น


การวินิจฉัยและรักษาโรค
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยรักษาอย่างเร่งด่วน โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการผ่าตัดนำส่วนเนื้อเยื่อที่มีการตายออก และการให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อยับยั้งการติดเชื้อที่อาจลุกลามเพิ่มขึ้น และป้องกันการดื้อยาของเชื้อที่เป็นสาเหตุ

การดูแลป้องกันโรค
ระวังอย่าให้มีบาดแผลเกิดขึ้น ถ้ามีบาดแผลเกิดขึ้นไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่จากสาเหตุใดๆ ก็ตาม เช่นถูกของมีคมข่วน ตำ แทง บาด หรือถูกสัตว์เลี้ยงข่วนหรือกัด อย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด ควรทำความสะอาดทันทีโดยใช้น้ำสะอาด สบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% ทำความสะอาดบริเวณรอบบาดแผล และใส่ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เช่น โพวิโดนไอโอดีน ที่บาดแผล ห้ามใช้ยาผงโรยใส่แผลโดยตรง และควรสังเกตว่าบาดแผลนั้นลึกหรือไม่ ถ้าลักษณะของบาดแผลรวมถึงสิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลนั้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งของเชื้อโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้การรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ฝึกให้มีสุขลักษณะที่ดี เช่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ รักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงถ้ามีอาการผิดปกติภายหลังการเกิดบาดแผล เช่น มีไข้ ปวด บวมบริเวณบาดแผลเพิ่มมากขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และควรดูแลบุคคลที่มีบาดแผลโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคไม่ดี ก็จะเป็นการป้องกันทั้งตนเองและผู้อื่นจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเนื้อเน่าหรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อได้



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนโดย มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ ดร.ทนพ. เมธี ศรีประพันธ์
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://www.podiatrytoday.com/current-insights-multidisciplinary-treatment-%E2%80%A8-necrotizing-fasciitis


2 ก.พ. 2560 เวลา 06:44 | อ่าน 4,353
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 เมษายน 2568
97 20 เม.ย. 2568
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
149 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
28 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
130 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
40 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
475 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
129 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
175 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
203 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
62 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...