หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (รับขึ้นทะเบียนทุกเดือนพฤศจิกายนของทุกปี) ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1. สัญชาติไทย
2. มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ในกรณีที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น เช่น เกิด พ.ศ. 2497 ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม 249
3. ขอรับเบี้ยตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
4. ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือเทศบาล อบต.จัดให้เป็นประจำ
ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก(ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด
ผู้อื่นยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้หรือไม่?
สามารถยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้ และหากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตัวจริงพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด
ยื่นเอกสารแล้วจะได้รับเงินเมื่อไหร่?
ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)
ผู้สูงอายุแต่ละคนจะได้รับเงินเท่าไหร่?
ปัจจุบันได้จ่ายแบบขั้นบันได ดังนี้
อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท
อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท
อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
หมายเหตุ ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้เทศบาล หรือ อบต.ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น คือเดือนกันยายน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ต้องไปจดทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาลหรือ อบต.แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1 -30 พฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคมของปีถัดไป
เอกสารต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ โดยผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
(สูงวัย) เฮ ! ก.คลัง เตรียมเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ เป็น 1,200-1,500 บาท ต่อเดือน
กระทรวงการคลังเตรียมเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ จาก 600 บาทเป็น 1,200 บาทต่อเดือน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย โดยอาจจะนำเงินจากการจัดเก็บภาษีบาป มาจัดตั้งเป็นกองทุน ด้านอธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า เงินภาษีบาปกว่า 1 แสนล้านบาท สามารถจัดสรรมาช่วยผู้สูงอายุได้ หากรัฐบาลมีนโยบาย
วันที่ 26 ม.ค. 60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า เตรียมเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย รอบ 2 ระหว่างวันที่ 3-30 เมษายน 2560 ผ่านธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.
พร้อมออกบัตรประจำตัวชิพการ์ด เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์รูดใช้จ่ายบริการสาธารณูปโภค และรถสาธารณะ ในอัตราสวัสดิการที่รัฐจะจัดให้ในอนาคต
ขณะเดียวกัน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังศึกษาแนวทางเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ จากปัจจุบันเดือนละ 600 บาท เป็น 1,200 - 1,500 บาท ซึ่งถือเป็นระดับที่เหมาะสมต่อสภาพค่าครองชีพ
โดยอาจนำเงินส่วนหนึ่งจากผู้ที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุที่มีฐานะ และประสงค์จะสละสิทธิ์ และเงินอีกส่วนจากการตั้งกองทุนชราภาพ ซึ่งเงินเข้าจากภาษีเหล้าและบุหรี่ เดือนละ 100 บาท หรือประมาณปีละ 2 พันล้านบาท
ปัจจุบัน ผู้สูงอายุกว่า 10 ล้านคน มีผู้ไม่มาลงทะเบียน 2 ล้านคน และในจำนวนนี้ 8 ล้านคน ถือเป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะดี
ด้าน นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บได้กว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และนำส่งเข้าคลังเพื่อไปใช้จัดสรรในงบประมาณส่วนต่างๆ ซึ่งหากจะมีการตั้งกองทุนชราภาพจากเงินในส่วนนี้ ก็สามารถดำเนินการได้
ข้อมูลจาก
https://news.mthai.com/general-news/461860.html และ
http://workpointtv.com/news/22048