ไขปัญหา ร้อยเรื่องลดหย่อน ปีภาษี 2560

17 ม.ค. 2561 เวลา 22:26 | อ่าน 4,138
 
ร้อยเรื่องลดหย่อน ปีภาษี2560

ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรส 2560
หมวดค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรส
1. ชื่อเรื่อง : สามีไม่มีเงินได้ภริยานำไปหักลดหย่อนได้

คำถาม : ภริยามีเงินได้ แต่สามีไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนอย่างไร และแจ้งว่ารวมหรือแยกยื่น

คำตอบ : ภริยาหักลดหย่อนฐานะผู้มีเงินได้ 60,000 บาทและหักลดหย่อนสามีได้อีก 60,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาท และในการยื่นแบบให้แจ้งสถานะคู่สมรสไม่มีเงินได้


2. ชื่อเรื่อง : ภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารไม่ได้แยกยื่นแบบแสดงรายการสามีนำมาหักลดหย่อนได้

คำถาม : ภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วร้อยละ 15 สามีนำภริยามาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้หรือไม่

คำตอบ : ได้ กรณีภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก โดยได้เสียภาษีไว้แล้วร้อยละ 15 และประสงค์จะนำเงินดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับสามี โดยสามีเลือกที่จะไม่นำเงินได้ดอกเบี้ยดังกล่าวมารวมคำนวณกับเงินได้อื่น สามีสามารถนำภริยามาหักลดหย่อนในฐานะคู่สมรสของผู้มีเงินได้จำนวน 60,000 บาท



3. ชื่อเรื่อง : ภริยามีเงินได้จากเงินปันผลไม่ได้แยกยื่นแบบแสดงรายการสามีนำมาหักลดหย่อนได้

คำถาม : ภริยามีเงินได้จากเงินปันผลถูกผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 สามีนำภริยามาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้หรือไม่

คำตอบ : ได้ กรณีภริยามีเงินได้จากเงินปันผล โดยได้เสียภาษีไว้แล้วร้อยละ 10 และประสงค์จะนำเงินดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับสามี โดยสามีเลือกที่จะไม่นำเงินเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณกับเงินได้อื่น สามีสามารถนำภริยามาหักลดหย่อนในฐานะคู่สมรสของผู้มีเงินได้จำนวน 60,000 บาท



4. ชื่อเรื่อง : สามีภริยาแต่งงานแต่มิได้จดทะเบียนสมรส หักลดหย่อนคู่สมรสไม่ได้

คำถาม : นาย ก. และ น.ส. ข. ได้สมรสแต่มิได้จดทะเบียนสมรส จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่

คำตอบ : ไม่ได้ กรณีสามีภริยามิได้จดทะเบียนสมรสถือว่าสถานภาพในการยื่นแบบแสดงรายการ "โสด"ไม่สามารถหักลดหย่อนคู่สมรส

ค่าลดหย่อนบุตร 2560
หมวดค่าลดหย่อนบุตร
1. ชื่อเรื่อง : หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตร

คำถาม : การหักลดหย่อนบุตรต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร

คำตอบ : ตั้งแต่ปีภาษี 2560 การหักลดหย่อนบุตร ตามมาตรา 47(1)(ค)(ฉ) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5มาตรา 6 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 มีรายละเอียดดังนี้

1. บุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อนได้แก่ บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้หรือของคู่สมรส และบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
(1) เป็นผู้เยาว์
- อายุไม่ถึง 20 ปี (มาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) หรือ
- ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส (มาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) หรือ
(2) มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ ชั้นอุดมศึกษา (ระดับอนุปริญญาขึ้นไป) รวมถึงการศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิต หรือ
(3) บุตรที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ และ
(4) ไม่มีเงินได้พึงประเมิน ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่หักลดหย่อนถึง 30,000 บาท และต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้

2. จำนวนเงินที่มีสิทธิหักลดหย่อน
(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท
(2) บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
หมายเหตุ การหักลดหย่อนบุตรตาม (1) และ (2) ให้หักลดหย่อนโดยไม่มีค่าการศึกษาอีก เนื่องจากถูกยกเลิกโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

3. จำนวนบุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อน
ในกรณีผู้มีเงินได้มีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก
เว้นแต่ — ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้
— แต่ถ้าบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้ โดยเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน

4. การนับจำนวนบุตร
ให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุมากน้อยเรียงกันไป โดยให้นับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการลดหย่อน (บรรลุนิติภาวะ) ด้วย (บุตรฝาแฝดที่คลอดออกมาก่อนถือเป็นบุตรที่มีอายุสูงกว่า)

5. ให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

6. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบุตรที่อยู่ในประเทศไทย

7. กรณีบุตรบุญธรรมต้องได้รับการจดทะเบียนรับรองเป็นบุตรบุญธรรม โดยผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน โดยเริ่มหักได้ตั้งแต่ปีภาษีที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วนบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเดิมของบุตรคนนั้น ไม่สามารถหักลดหย่อนได้อีก



2. ชื่อเรื่อง : บุตรชอบด้วยกฎหมาย 4 คน ให้หักลดหย่อนบุตรได้ทั้งหมด

คำถาม : มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 4 คน และมีชีวิตอยู่ทั้งหมด จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่

คำตอบ : หักลดหย่อนบุตรได้ทั้งหมด 4 คน เป็นบุตรที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับการหักลดหย่อนเพราะการหักลดหย่อนบุตรตั้งปีภาษี 2560 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ไม่จำกัดจำนวน โดยหักบุตรได้คนละ 30,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาท ตาม มาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร



3. ชื่อเรื่อง : บุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คนรวมเป็น 5 คน ให้หักลดหย่อนบุตรได้ 4 คน

คำถาม : มีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่

คำตอบ : สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ทั้งหมด 4 คน เป็นบุตรที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับการหักลดหย่อนเพราะการหักลดหย่อนบุตรตั้งปีภาษี 2560 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ไม่จำกัดจำนวน โดยหักบุตรได้คนละ 30,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาท ตาม มาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับบุตรบุญธรรมไม่สามารถหักลดหย่อนได้อีกเนื่องจากเมื่อนำบุตรบุญธรรมมารวมกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วเกินสามคน


4. ชื่อเรื่อง : บุตร 2 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน รวมเป็น 3 คน ให้หักลดหย่อนบุตรได้ 3 คน

คำถาม : มีบุตร 2 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่

คำตอบ : สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ทั้งหมด 3 คน เป็นบุตรที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับการหักลดหย่อนเพราะการหักลดหย่อนบุตรตั้งปีภาษี 2560 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ไม่จำกัดจำนวน และสามารถหักลดหย่อนบุตรบุญธรรมได้อีก 1 คน เนื่องจากเมื่อรวมบุตรบุญธรรมดาแล้วไม่เกินสามคน ดังนั้น สามารถหักบุตรได้คนละ 30,000 บาท รวมเป็น 90,000 บาท ตาม มาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร



5 . ชื่อเรื่อง : บุตรที่อยู่เนอร์สเซอรี่ หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท

คำถาม : บุตรที่อยู่เนอร์สเซอรี่ สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรและการศึกษาบุตรได้หรือไม่

คำตอบ : ตั้งแต่ปีภาษี 2560 เป็นต้นไป ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปีและยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนบุตรที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไปโดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น บุตรที่อยู่เนอร์สเซอรี่ จึงสามารถหักลดหย่อนในฐานะบุตร ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ จำนวน 30,000 บาท ได้ ตามมาตรา 47(1)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร




6 . ชื่อเรื่อง : บุตรจบการศึกษาระหว่างปี ไม่ได้ทำงาน นำมาหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท

คำถาม : สามีภริยาสามารถนำบุตรที่ไม่มีเงินได้และจบการศึกษาระหว่างปีมาหักลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ : การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากรแต่มิให้หักลดหย่อนบุตรที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไปโดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร




7 . ชื่อเรื่อง : บุตรผู้เยาว์มีเงินปันผลนำมาหักลดหย่อนได้

คำถาม : บุตรผู้เยาว์ของนาย ว. มีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลจำนวน 2,000,000 บาท นาย มีสิทธิหักค่าลดหย่อนบุตรผู้เยาว์ ได้หรือไม่

คำตอบ : หากบุตรของนาย ว. เป็นบุตรผู้เยาว์มีเงินได้ประเภทเงินปันผลจำนวน 2,000,000 บาท โดยไม่มีเงินได้ประเภทอื่นอีก ถือว่าเงินได้ของบุตรผู้เยาว์เป็นเงินได้พึงประเมินของนาย ว. ผู้เป็นบิดา ตามมาตรา 40(4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ว. มีหน้าที่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีในนามของตน โดยนิตินัยเป็นผลเท่ากับบุตรผู้เยาว์ไม่มีเงินได้ ดังนั้น นาย ว. มีสิทธินำบุตรผู้เยาว์ดังกล่าวมาหักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร




8 . ชื่อเรื่อง : บุตรบรรลุนิติภาวะมีเงินปันผลนำมาหักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม : บุตรบรรลุนิติภาระของนาย ว. มีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลจำนวน 2,000,000 บาท นาย ว. มีสิทธิหักค่าลดหย่อนบุตร ได้หรือไม่

คำตอบ : หากบุตรของนาย ว. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ตามมาตรา 19 และ 20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีเงินได้ประเภทเงินปันผลจำนวน 2,000,000 บาท โดยไม่มีเงินได้ประเภทอื่นอีก เงินปันผลดังกล่าวเป็นเงินได้ พึงประเมินของบุตร ดังนั้น บุตรผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร นาย ว. ไม่มีสิทธินำบุตรดังกล่าวมาหักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร




9 . ชื่อเรื่อง : บุตรผู้เยาว์มีเงินได้จากรางวัลชิงโชค นำมาหักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม : บุตรชายของนาย ป. ได้รับรางวัลทองคำหนัก 100 บาท นาย ป. พร้อมด้วยภริยาและบุตรได้เดินทางไปรับรางวัลที่บริษัทฯ มูลค่าของทองคำที่เด็กชาย ค. ได้รับคิดเป็นเงินจำนวน 840,000 บาท บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5.0 ของมูลค่ารางวัลที่ได้รับเป็นเงินจำนวน 42,000 บาท นาย ป.จะหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่

คำตอบ : นาย ป. ไม่มีสิทธินำบุตรมาหักลดหย่อนภาษี เนื่องจากบุตรมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเด็กชาย ค. ผู้มีเงินได้พึงประเมินจากเงินรางวัล จะต้องยื่นแบบแสดงรายการโดยเป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นตัวแทนในการชำระภาษีแทนผู้เยาว์


10. ชื่อเรื่อง : บุตรเกิดวันที่ 29 ธันวาคม 2560 มีอายุเพียง 3 วัน นำมาหักลดหย่อนได้

คำถาม : นาย ก และ นาง จ สถานภาพสมรส มีบุตรเกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560 อายุเพียง 3 วัน บิดามารดาจะนำบุตรมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่

คำตอบ : นาย ก. และ นาง จ ในฐานะผู้มีเงินได้ สามารถหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายให้หักได้ตลอดปี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ โดยหักบุตรได้ฝ่ายละ 30,000 บาท


11. ชื่อเรื่อง : บุตรผู้เยาว์เสียชีวิตระหว่างปี นำมาหักลดหย่อนได้

คำถาม : บิดา/มารดาสามารถนำบุตรผู้เยาว์ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษีไปหักค่าลดหย่อนบุตรได้หรือไม่

คำตอบ : การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตามตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร บิดามารดาจึงหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนคนละ 30,000 บาท


ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา 2560
หมวดค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา

1. ชื่อเรื่อง : หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา

คำถาม : การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดาต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร

คำตอบ : การหักค่าลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)
1. หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
2. บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ (ไม่จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับผู้มีเงินได้)
3. บิดามารดามีเงินได้พึงประเมิน ไม่เกิน 30,000 บาท
4. ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา เช่น บิดามารดาจดทะเบียนสมรส / บิดาจดทะเบียน รับรองบุตร (หมายเหตุ บุตรบุญธรรม ไม่สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาบุญธรรมได้)
5. หากผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในไทย
6. ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ในแบบแสดงรายการฯ ด้วย
7. หลักฐานการหักลดหย่อนบิดามารดา
หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) เป็นภาษาไทย (หมายเหตุ ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลภาษาไทยด้วย)
8. กรณีบิดามารดามีบุตรหลายคน ให้บุตรเพียงคนเดียวที่มีหนังสือรับรองฯ (แบบ ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน
9. การหักค่าลดหย่อนบิดามารดา ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้น จะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่


2.ชื่อเรื่อง : มารดาไม่มีเงินได้ บิดาใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนมารดาในฐานะคู่สมรส บุตรผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูมารดาได้

คำถาม : สามีมีเงินได้ แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีได้นำภริยามาหักค่าลดหย่อน 60,000 บาท ในฐานะคู่สมรส บุตรมีเงินได้ได้นำมารดามาหักค่าลดหย่อนในฐานะบุพการีอีก 30,000 บาท กรณีนี้สามารถหักค่าลดหย่อนในฐานะคู่สมรสและฐานะมารดาของผู้มีเงินได้ ใช่หรือไม่

คำตอบ : บุตรมีเงินได้สามารถนำมารดามาหักค่าลดหย่อนในฐานะบุพการีได้อีก 30,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)


3. ชื่อเรื่อง : บิดา/มารดาตายในระหว่างปีภาษีนำมาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้

คำถาม : กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (เช่น ตายในเดือนกันยายน 2560) หรือก่อนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 บุตรจะใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่

คำตอบ : กรณีบิดามารดาตายในระหว่างปีภาษี หรือก่อนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ให้บุตรเพียงคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิหักลดหย่อนได้โดยแนบ แบบ ล.ย.03 และสำเนาใบมรณะบัตร พร้อมกับการยื่นแบบฯ


4. ชื่อเรื่อง : บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวนำมาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้

คำถาม : กรณีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว บุตรสามารถนำมาหักลดหย่อนคนละ 30,000 บาท ได้หรือไม่ ถ้าได้จะใช้หนังสือทะเบียนต่างด้าวใช่หรือไม่ เพราะคนต่างด้าวไม่มีบัตรประชาชน

คำตอบ : การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือมารดาที่เป็นคนต่างด้าว หากเข้าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) และได้ขอมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรประกอบแบบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) ใช้เป็นหลักฐานประกอบการหักลดหย่อนได้


5. ชื่อเรื่อง : คู่สมรส บุตรและบุพการีที่อยู่ต่างประเทศ ของผู้มีเงินได้ชาวต่างชาติซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศหักลดหย่อนได้

คำถาม : ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานบริษัทในไทยเกิน 180 วัน มีเงินได้ประเภทเงินเดือน ภริยา บุตร บุพการี อยู่ต่างประเทศไม่มีเงินได้ บุตรเรียนหนังสือที่ต่างประเทศและบุพการีอายุเกิน 60 ปี มีสิทธิหักลดหย่อนภริยา บุตร และบุพการี ได้เท่าใด

คำตอบ : กรณีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยเกิน 180 วัน ถือว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย สามารถหักลดหย่อนภริยาได้ ไม่ว่าภริยาจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศ โดยหักลดหย่อนภริยาได้จำนวน 60,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนบุตรได้ ไม่ว่าบุตรจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศโดยหักลดหย่อนบุตรได้อีกคนละ 30,000 บาท ทั้งนี้ ตามมาตรา 47(1)(ข) และ (ค) แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับการหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้ชาวต่างชาติจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) โดยบิดามารดาจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประกอบแบบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) ด้วย หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ก็ไม่สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาได้


6. ชื่อเรื่อง : มารดาเป็นข้าราชการบำนาญ แต่บิดาไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนบิดาได้

คำถาม : มารดาเป็นข้าราชการบำนาญ แต่บิดาไม่มีเงินได้บุตรสามารถนำบิดามาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่
คำตอบ : บุตรสามารถนำบิดามาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้จำนวน 30,000 บาท เนื่องจากบิดาไม่มีเงินได้พึงประเมิน


7 . ชื่อเรื่อง : ผู้มีเงินได้เป็นบุตรบุญธรรม หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ได้
คำถาม : กรณีเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำบิดามารดาผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ : บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำบิดามารดาซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้ เพราะการหักค่าลดหย่อนในกรณีนี้ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูเท่านั้น (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)


8 . ชื่อเรื่อง : ภริยามีเงินได้แยกยื่นเสียภาษี สามีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยาไม่ได้

คำถาม : กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 คน และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี โดยภริยาใช้สิทธิมีเงินได้แยกคำนวณภาษี บิดามารดาของภริยาสามารถนำมาหักลดหย่อนในช่องการคำนวณของสามีได้หรือไม่ เนื่องจากภริยามีเงินได้น้อย ไม่

คำตอบ : หากสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และภริยาใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีเงินได้โดยแยกยื่นแบบแสดงรายการ กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท สามีจึงไม่สามารถหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยา


9 . ชื่อเรื่อง : ผู้มีเงินได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาของอดีตสามีหักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม : กรณีสามีได้ทำการหย่าจากภริยาแล้วก่อนที่สามีจะเสียชีวิต แต่ปัจจุบันภริยายังต้องเลี้ยงดูมารดาของสามี กรณีนี้ลดหย่อนได้หรือไม่อย่างไร

คำตอบ : 1. กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ ในปีที่หย่าหรือเสียชีวิต ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของคู่สมรสได้ ตามมาตรา 47(1) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 230) โดยหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
2. ในปีต่อไป ความเป็นสามีภริยาสิ้นสุดลงด้วยความตายหรือการหย่า ตามมาตรา 1501 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ภริยาไม่มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของอดีตสามีได้


10 . ชื่อเรื่อง : บิดามารดามีรายได้จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และมีกำไรจากการซื้อขายหุ้นหักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม : กรณีบิดามารดามีอายุเกิน 60 ปี ไม่มีเงินได้ประจำ แต่มีการซื้อขายในตลาดหุ้นและมีกำไรจากการซื้อขาย ถือเป็นเงินได้ของบิดามารดาหรือไม่ และสามารถนำมาหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่

คำตอบ : กำไรที่ได้จากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นเงินได้ของบิดามารดา หากมีจำนวนไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ผู้มีเงินได้สามารถนำบิดามารดามาหักลดหย่อนได้


11 . ชื่อเรื่อง : บิดามารดามีชื่ออยู่ในคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ ถ้าได้รับส่วนแบ่งกำไรเกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาไม่ได้

คำถาม : บิดามารดา อายุเกิน 60 ปี มีชื่ออยู่ในคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ และมีรายได้เกิน 30,000 บาท บุตรสามารถหักลดหย่อนสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้หรือไม่

คำตอบ : กรณีบิดามารดา อายุเกิน 60 ปี มีชื่ออยู่ในคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ บุตรสามารถนำบิดามารดามาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเงินได้ของคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ
หากคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญนำเงินได้มาแบ่งกันตามส่วน โดยแต่ละคนมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาท ขึ้นไป บุตรไม่สามารถนำบิดามารดามาหักลดหย่อน สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา เนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดว่า เงินได้พึงประเมินของบิดามารดาจะต้องมิใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 230)


12 . ชื่อเรื่อง : พี่น้องหลายคนลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ใช้สิทธิได้เพียงคนเดียว

คำถาม : กรณีบิดามารดามีบุตรที่ดูแลเลี้ยงดูบิดามารดาหลายคน บุตรจะสามารถนำมาหักลดหย่อนสลับกันคนละปีได้หรือไม่

คำตอบ : กรณีผู้มีเงินได้หลายคนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาคนเดียวกัน ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนดังกล่าวในแต่ละปีภาษีได้ โดยใช้แบบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


13 . ชื่อเรื่อง : บิดามารดาไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้

คำถาม : การหักลดหย่อนสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา บิดามารดาต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันหรือไม่

คำตอบ : การหักลดหย่อนบิดามารดาไม่ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับผู้มีเงินได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ก็สามารถหักลดหย่อนได้


14 . ชื่อเรื่อง : ลดหย่อนบิดามารดา ปีนี้ใช้สิทธิลดหย่อนบิดา ปีหน้าจะใช้สิทธิลดหย่อนมารดา ได้

คำถาม : การหักลดหย่อนสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา หากปีภาษีก่อนใช้สิทธิลดหย่อนบิดา ถ้าในปีต่อไปจะเปลี่ยนมาใช้สิทธิมารดาโดยให้พี่หรือน้องใช้สิทธิลดหย่อนบิดา ทำได้หรือไม่

คำตอบ : การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุตรสามารถตกลงกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในแต่ละปีภาษี ได้


ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ 2560
หมวดค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ


1. ชื่อเรื่อง : หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพลภาพ

คำถาม : การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงคนพิการ/ทุพลภาพต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร

คำตอบ : การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท สำหรับเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่ปีภาษี 2552 เป็นต้นไป ตามมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ.2552 ประกอบกับประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 184) และ (ฉบับที่ 193) และ (ฉบับที่ 242)มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิหักลดหย่อน ได้แก่ ผู้มีเงินได้ที่อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ดังนี้
(1) บิดามารดาของผู้มีเงินได้
(2) บิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(3) สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้
(4) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ (บุตรบุญธรรมให้หักในฐานะบุตรบุญธรรมได้ฐานะเดียว)
(5) บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(6) บุคคลอื่นนอกจาก (1)-(5) ซึ่งเป็นคนพิการที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือซึ่งเป็นคนทุพพลภาพและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ จำนวน 1 คน
2. คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) มีเงินได้พึงประเมิน ไม่เกิน 30,000 บาท ในปีที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยไม่รวมเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีคนพิการ ต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ตัวอย่างสมุดประจำตัวคนพิการ คลิกเอกสารแนบ)
กรณีคนทุพพลภาพ ต้องมีแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตรวจ และแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม 1. มีภาวะจำกัด หรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพ หรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน
(3) มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร
3. ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ ดังนี้
(1) มีชื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน
(2) กรณีบุคคลตาม 1. เป็นทั้งคนพิการ และเป็นคนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ในฐานะคนพิการเพียงฐานะเดียว
(3) ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
(4) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ในไทย
(5) กรณีผู้มีเงินได้หลายคน มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ ให้ตกลงกันและทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู
(6) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้ฝ่ายที่มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ เป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู สำหรับบุตรซึ่งเป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพนั้น
(7) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีเงินได้ฝ่ายเดียว โดยคู่สมรสซึ่งไม่มีเงินได้เป็นผู้ดูแลและมีชื่อเป็นผู้ดูแลบุตรชอบด้วยกฎหมายในบัตรประจำตัวคนพิการแต่เพียงผู้เดียว ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นคนพิการนั้นได้
(8) ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อน ดังนี้
- กรณีหักลดหย่อนคนพิการ ต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04)
- กรณีหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04) และหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04-1)
4. เอกสารหลักฐานที่ผู้มีเงินได้ต้องแนบพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อใช้สิทธิลดหย่อน มีดังนี้
กรณีหักลดหย่อนคนพิการ
(1) หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04)
(2) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหัก


17 ม.ค. 2561 เวลา 22:26 | อ่าน 4,138
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
38 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
116 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
705 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
691 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
136 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
76 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
202 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
670 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
887 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
125 25 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...