วิกฤตต้มยำกุ้ง

31 ต.ค. 2555 เวลา 08:38 | อ่าน 8,862
 
วิกฤตต้มยำกุ้ง หมายถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ในยุค รัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างทันทีทันใด จากเดิมประมาณ 25.60 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 28.75 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และค่าเงินบาทอ่อนลงตามลำดับ ในช่วงต่ำสุดเคยตกลงถึง 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และรัฐบาลถูกกดดันให้ลาออกแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ยังส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศมาเลย์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ มากบ้างน้อยบ้าง

ความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพยุงค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดคลังจนต้องขอกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เช่น งบประมาณแผ่นดินจะต้องตั้งเกินดุล 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาษี มูลค่าเพิ่มจะต้องเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เข้าใจกันว่าเกิดจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่

1) การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง

2) การสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สาเหตุ 2 ประการข้างต้นมีที่มาจากการเร่งรัดเปิดระบบวิเทศธนกิจ หรือ BIBF (Bangkok International Banking Facility) เมื่อปี 2536-2537 ทำให้เกิดการก่อหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจำนวนมหาศาลถึง 70,000 ล้านบาท ในขณะที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐถูกตรึงค่าอยู่ที่ 25.60 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เมื่อปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐสูงถึง 45-50 บาท ต่อดอลล่าร์สหรัฐในช่วงหลังวิกฤตได้ไม่นาน ทำให้หนี้เงินกู้ของบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และพากันล้มละลายหรือมีหนี้ท่วมตัว

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล

ข้อมูลจาก http://www.kpi.ac.th


31 ต.ค. 2555 เวลา 08:38 | อ่าน 8,862
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
79 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
18 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
73 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
36 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
392 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
123 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
143 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
158 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
59 12 เม.ย. 2568
โอกาสทอง.. แรงงานไทยไปมาเก๊า เงินเดือนสูงสุด 9 หมื่นบาท สวัสดิการดี ถูกกฎหมาย สนใจสมัครที่เว็บไซต์ toea.doe.go.th ตั้งแต่วันนี้ - 16 เมษายน 2568
63 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...