กระทรวงการคลังชี้แจงข้อวิจารณ์ กรณีเงินคงคลังลดลงและขาดดุลเป็นจำนวนมาก ยืนยันมีการดูแลและบริหารเงินคงคลังอย่างใกล้ชิด

24 มี.ค. 2561 เวลา 11:34 | อ่าน 3,216
แชร์ไปยัง
L
 
กระทรวงการคลังชี้แจงข้อวิจารณ์ กรณีเงินคงคลังลดลงและขาดดุลเป็นจำนวนมาก ยืนยันมีการดูแลและบริหารเงินคงคลังอย่างใกล้ชิด เพื่อทำให้เงินคงคลังมีจำนวนที่เหมาะสม เพียงพอต่อการสนับสนุนให้การดำเนินภารกิจของรัฐบาลเป็นไปด้วยความราบรื่น

กระทรวงการคลังชี้แจงข้อวิจารณ์ กรณีเงินคงคลังลดลงและขาดดุลเป็นจำนวนมาก

วันที่ 21 มีนาคม 2561 นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ชี้แจงข้อวิจารณ์กรณีเงินคงคลังลดลงและขาดดุลเป็นจำนวนมาก ตามที่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี ม.รังสิต และเพจอาณาจักรไบกอน Returns เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเงินคงคลัง ปี 2557 จำนวน 495,746 ล้านบาท ในปี 2560 คงเหลือ 74,907 ล้านบาท และข้อมูลการขาดดุลเงินคงคลังปี 2561 ที่สูงถึง 6 แสนล้านบาท โดยเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงต่อประชาชนว่าเหตุใดเงินคงคลังลดลงและมีการขาดดุลเป็นจำนวนเงินดังกล่าว นั้น กระทรวงการคลังขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและรับมือกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก การดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลดังกล่าวเป็นการขาดดุลสำหรับรายจ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งการลงทุนภาครัฐช่วยส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในภาพรวม ช่วยกระตุ้นและดึงดูดการลงทุนเพิ่มจากภาคเอกชนและจากต่างประเทศ (crowding-in effect) ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจและการจ้างงานในระยะสั้น ยังช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว และที่สำคัญ รัฐบาลยึดถือหลักวินัยการเงินการคลังเป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการคลังและการบริหารเงินคงคลังเสมอมา โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจและสภาพคล่องของรัฐบาล ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการวางแผนอย่างรอบคอบในการบริหารจัดการเงินคงคลังให้อยู่ในระดับเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด

ทั้งนี้ เงินคงคลังคือเงินสดที่รัฐบาลมีสำรองไว้สำหรับใช้จ่าย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นสภาพคล่องของรัฐบาล มิได้สะท้อนฐานะการคลังของรัฐบาล โดยการบริหารเงินคงคลังยึดถือหลักการคือ ให้มีเงินคงคลังเพียงพอต่อความต้องการใช้เงินในแต่ละช่วง โดยไม่จำเป็นต้องมีสะสมไว้มากจนเกินจำเป็น เนื่องจากอาจทำให้เสียโอกาสในการนำเงินไปใช้พัฒนาประเทศในด้านอื่นและต้องคำนึงถึงต้นทุนและภาระดอกเบี้ยในการมีเงินคงคลังมากเกินความจำเป็น

การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง (ในปี 2557 2558 2559 และ 2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.0 3.0 3.3 และ 3.9 ตามลำดับ) และในปี 2561 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ใกล้เคียงร้อยละ 4.2 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี

โดยในปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล 4.5 แสนล้านบาท และได้มีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมอีก 1.5 แสนล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลจะกู้เงินเพิ่มเพียง 1.0 แสนล้านบาท จะทำให้ในปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลรวม 5.5 แสนล้านบาท โดยคาดการณ์เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอ เหมาะสม และใกล้เคียงกับจำนวนเงินคงคลังในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ในขณะที่ระดับหนี้สาธารณะของประเทศที่ผ่านมาอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ณ เดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.44 (ซึ่งต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60) สะท้อนให้เห็นถึงเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ

ทั้งนี้ ในอนาคต เมื่อเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ รัฐบาลก็อาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล อีกทั้ง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังมุ่งมั่นรักษาความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีแผนจะจัดทำงบประมาณสมดุล และแผนการคลังระยะปานกลาง เพื่อเป็นการรักษากรอบวินัยการเงินการคลังของประเทศให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ และสามารถรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกอย่างยั่งยืน

จึงขอให้มั่นใจว่า กระทรวงการคลังได้มีการดูแลและบริหารเงินคงคลังอย่างใกล้ชิด ผ่านเครื่องมือทางการคลัง ทั้งรายได้ รายจ่าย และเงินกู้ เพื่อทำให้เงินคงคลังมีจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการสนับสนุนให้การดำเนินภารกิจของรัฐบาลเป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย

---------------------------


24 มี.ค. 2561 เวลา 11:34 | อ่าน 3,216


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
136 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
248 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
275 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
366 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
379 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
697 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,381 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
74 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
765 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน