เบรคพัง รถพัง
เชื่อว่าหลายคนที่ใช้รถต้องเคยเจอกับปัญหาเรื่อง “เบรค” แน่นอน ไม่ว่าตั้งแต่เริ่มออกรถ หรือในขณะที่ขับรถอยู่กลางถนนก็ตาม ซึ่งปัญหา “เบรค” หมายถึงชีวิตคุณเลยทีเดียว!! แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นมันเกิดจากอะไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วครับ…
1. เบรคมีเสียงครูด เสียงแหลมดัง
เบรคเกิดอาการเสียงดังในขณะที่เบรครถ ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากผ้าเบรคหมด จนทำให้เหล็กผ้าเสียดสีกับจานเบรค หรือจานเบรคเป็นรอยเพราะฝุ่นจับ รวมไปถึงเศษหินที่หลุดเข้าไปข้างใน ทำให้เบรครถเกิดปัญหา ถึงขั้น ต้องเจียรจานเบรคใหม่ อย่างไรก็ตามหากเช็คแล้วว่าทั้งผ้าเบรคและจานเบรคยังคงคุณภาพดีทั้งคู่ โปรดจงรู้ไว้เลยว่าเสียงดังนั้นอาจเกิดจากผ้าเบรคที่ไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง ต้องรีบเปลี่ยนโดยด่วนเลยครับ
2. ขณะเบรครถยนต์เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
ในขณะที่เท้าของคุณแตะเหยียบเบรคอยู่นั้นกับพบว่ารถยนต์ของคุณกำลังเหวี่ยงไปทางซ้าย หรือเอียงขวาบ้าง อาการปัดเอียงนั้นบ่งบอกว่าเบรครถกำลังมีปัญหา หากเอียงไปทางซ้าย หมายความว่าระบบเบรคกำลังรวนให้ตรวจสอบระบบเบรคทางด้านขวา โดยอาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของเครื่องยนต์ช่วงล่างกระเด็นมาโดนจานเบรค จนทำให้ผิวลื่นมันและความฝืดลดลง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรคที่มีแรงกดในแต่ละฝั่งแตกต่างกัน
3. ขณะเบรคแป้นเกิดอาการสั่น
“เบรคสั่น” ในขณะที่เหยียบเบรค แป้นเบรคเกิดอากาสั่นขึ้น-ลง หากเบรคสั่นมากอาจจะรับรู้ถึงแรงสั่นได้ถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรคทีแต่เกิดอาการรถสั่นไปทั้งคัน สาเหตุจากจานเบรคเกิดการคดบิดตัว เนื่องจากถูกใช้งานรุนแรงกินไป หรือกรณีที่รถผ่านการลุยน้ำ (จานเบรคที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรคสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรคและดรัมเบรค
4. เบรคแข็งต้องใช้แรงมากกว่าปกติ
อาการแบบนี้เรียกกันว่า “เบรคตื้อ” คือ เวลาเหยียบเบรคแล้วเบรคไม่ค่อยอยู่ เกิดอาการเบรคแข็ง ต้องออกแรงเหยียบมากๆ โดยลักษณะของเบรคตื้ออาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เนื่องจากปั้มดูดไดชาร์จเสียหรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย หรือสายลมรั่ว
5. แป้นเบรคต่ำต้องเหยียบเบรคลึกมาก เบรคถึงทำงาน
เรียกอาการแบบนี้ว่า “เบรคต่ำ” เวลาที่เหยียบเบรค แป้นเบรคจะจมลงต่ำกว่าปกติ เมื่อเหยียบค้างไว้เบรคค่อยๆจมลง สาเหตุเกิดจากลูกยางแม่ปั้มเบรคบนสึกหรอหรือบวม จึงทำให้แรงดันเบรคลดลง จนต้องออกแรงเบรคมากขึ้น บางครั้งต้องเหยียบเบรคซ้ำ ๆ กัน หลาย ๆ ทีก็มี
6. เบรคทำงานทันทีเมื่อเหยียบเพียงเล็กน้อย
เหยียบแป้นเบรคเพียงเล็กน้อยแล้วรถหยุดทันทีแบบทันที คือ เบรคทำงานเร็วเกินไป
สาเหตุหลักที่ทำให้เบรคมีปัญหา
1.
เกิดการรั่วของน้ำมันเบรค เช่น สายอ่อนเบรคแตก ท่อแป๊ปเบรคแตก หรือน้ำมันเบรครั่วซึมเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรคและแม่ปั้มเบรคเก่า เกิดการเสียหายจนน้ำมันเบรครั่วออกมา
2.
ผ้าเบรคหมด บ่อยครั้งที่ผ้าเบรคหมดนาน ๆ แต่ไม่ได้รับการเปลี่ยน จนทำให้หลุดออกมาจากฝักก้ามปูเบรค และถ้าหากลูกสูบผ้าเบรคหลุด เบรคก็จะแตกทันที
3.
ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สากแป้นเบรค (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรคหลุด ฝักเบรค หรือคาลิปเปอร์เบรคยึดไม่แน่น ร่วมไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบเบรคประกอบกันไม่แน่นจนหลุดออก
4.
สายอ่อนเบรคแตก สายอ่อนที่ใช้งานมานานจะเกิดอาการบวม แม้ภายนอกอาจมองไม่เห็นสิ่งผิดปกติแต่เมื่อขับรถและเหยียบเบรคกลับจะเกิดการพองตัวเหมือนลูกโป่ง ซึ่งถือว่าอันตรายมาก หากเหยียบเบาๆ แรงดันน้ำมันเบรคต่ำ อาจจะไม่เกิดอะไร แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ขับคัน จนต้องเบรคแรง ๆ สายอ่อนเบรคจะไม่สามารถรับแรงดันไหวและแตกออกมา ทำให้รถเกิดอันตรายได้
การดูแลรักษาระบบเบรค และข้อควรระวัง
+ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องปีละครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเบรคเกิดสนิม
+ น้ำมันเบรค ควรใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรค DOT อื่นมาผสมได้ หรือนำน้ำมันอื่นมาเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกเกิดอาการบวมได้
+ การเช็คระยะห่างผ้าเบรคในระบบดรั้มเบรค ระยะห่างระหว่างผ้าและจานเบรคที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรคจะต่ำลงและการดึงเบรคมือที่สูงขึ้น
+ ระดับน้ำมันเบรคลดต่ำลง ควรถอดจานเบรคออกมาทำความสะอาดและปัดฝุ่น จากนั้นจึงจัดให้ระยะผ้าเบรคให้ชิดขึ้น โดยใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ส่วนด้านหลังจานเบรคใส่ล้อไขแล้วหมุนให้แน่น
+ การตรวจสอบผ้าเบรค ผ้าเบรคถือว่าเป็นส่วนที่สึกหรอได้ง่าย เนื่องจากเกิดการเสียดสีบ่อยครั้ง รวมไปถึงฝุ่นเกาะเกรอะกรัง ดังนั้นจึงควรถอดออกมาเช็ดเป็นประจำ
+ การเจียรจานเบรค การใช้ผ้าเบรคที่มีโลหะผสมอยู่ ปรอะกอบด้วยฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรคหมด จะทำให้จานเบรคเกิดเป็นรอย และการขับรถลุยน้ำในขณะที่จานเบรคกำลังร้อน จานเบรคจะเกิดการคดหรือบิดตัว ต้องรีบทำการเจียรจาน ซึ่งทำได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ การถอดจานเบรคมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ
+ การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรค เบรคเป็นส่วนที่ถูกใช้งานบ่อยครั้ง ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อมอย่างน้อย 2-4 ปีต่อครั้ง เช่น ลูกยางแม่ปั้มเบรค ลูกยางลูกสูบเบรค และยางกันฝุ่น ส่วนรถที่ถูกนำไปลุยน้ำมาต้องรีบตวรจสอบทันที เพราะน้ำที่หลุดรอดเข้าไปในกระบอกเบรคและแม่ปั้มเบรค จะทำลายลูกสูบเบรคทำให้เกิดสนิม เป็นตามด และทำให้เกิดอาการเบรคติด หรือน้ำมันเบรครั่วซึม หากรถของคุณมีลูกยางกันฝุ่นที่เก่าใกล้หมดสภาพล่ะก็ มันจะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้เลย
หากรถของคุณเกิดเหตุการณ์เบรคมีปัญหาแบบไหน ต้องรีบนำเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการโตโยต้า เค.มอเตอร์ส ได้เลยนะครับ ทิ้ง ๆ ไว้นาน ๆ จะยิ่งเรื้อรังแก้ไขได้ยาก หรือถ้าไม่อยากพารถเข้าศูนย์บ่อย ๆ ก็อย่าลืมดูแลรักษารถของคุณให้ดีด้วยนะครับ จะได้ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเสียตังค์ด้วย #ช่างเค