5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

12 ก.ย. 2561 เวลา 08:02 | อ่าน 2,207
 
ในแต่ละปีมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ‘แบคทีเรียดื้อยา’ หรือ ‘แบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ’ (antibiotic resistance) ที่กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนในทั่วโลกอยู่ขณะนี้

5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา


อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด เชื้อดื้อยาคือเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มักทนต่อยาที่เคยยับยั้งหรือฆ่าเชื้อได้ ทำให้ไม่หายจากการติดเชื้อและมีโอกาสแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่คนอื่นๆ โดยกลไกที่นำมาสู่การดื้อยานั้นเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะมาก/น้อยเกินไปหรือไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมหรือสังคมที่อาศัย เป็นต้น

และนี่คือ 5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดและน่าจับตามองที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

+ ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella typhi)
เป็นเชื้อที่พบได้ในไข้ไทรอยด์ (typhoid fever) ในแต่ละปีพบว่า มากกว่า 21 ล้านคนทั่วโรคติดเชื้อดังกล่าวและกลายเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตราว 223,000 คนหรือหนึ่งเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทั้งหมด

พฤศจิกายน 2016 (พ.ศ.2559) เชื้อดังกล่าวได้แพร่ระบาดอย่างหนักในปากีสถาน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 4 คนในจังหวัดเดียวของปากีสถานและมีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศมากถึง 858 ราย ที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาได้

ความอันตรายของเชื้อซัลโมเนลลา ไทฟิที่กลายเป็นปัญหาน่ากังวลคือการที่เชื้อดังกล่าวพัฒนาตัวเองจาก Multidrug resistance (คือเชื้อที่ดื้อยาตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ได้แก่ aminoglycoside, carbapenem, cephalosporin, beta-lactam plus beta-lactamase inhibitor, quinolone) ขึ้นอีกระดับเป็น Extreme drug resistance (คือเชื้อที่ดื้อต่อยาทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่ม polymyxin หรือ ยากลุ่ม glycylcycline) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าอีกไม่นานเชื้อดังกล่าวอาจสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นสุดท้ายคือ Pandrug resistance (คือเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาทุกกลุ่ม รวมถึงยากลุ่ม polymyxin และ glycylcycline ด้วย) ได้ในอีกไม่ช้านี้[1]

+ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis)
ได้รับสมญานามว่าเป็นนักฆ่าแห่งเชื้อดื้อยา เมื่อเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตมากถึง 1.7 ล้านคนในแต่ละปี โดยความสามารถของไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส คือสามารถเข้าไปหลบซ่อนในเซลล์เราได้ ส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าวต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาที่แตกต่างกันมาก 4 กลุ่มและต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 4-6 เดือน

โดยข้อมูลจากรายงาน Global tuberculosis report ปี 2017 โดย WHO กล่าวปัญหาดังกล่าวโดยระบุว่ากลุ่มประเทศยุโรป (รวมถึงรัสเซีย) มีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในระดับ Multidrug resistance มากถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ผู้ป่วยดังกล่าวต้องเข้าการรักษาและรับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องมากถึง 18 -24 เดือน ทั้งยังราคาสูงและอาจสุ่มเสี่ยงต่อไตและอวัยวะอื่นๆ ตามมา

ขณะที่อีก 123 ประเทศทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในระดับ extensively drug-resistant ถึง 6 เปอร์เซ็นต์และมีอัตราการรักษาสำเร็จเพียง 30 เปอร์เซ็นต์จากในนั้นเท่านั้น

+ เคล็บซีเอลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae)
มักถูกพบในโรงพยาบาลมากที่สุดหรือที่รู้จักกันว่าเป็น ‘โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล’ กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอและพักฟื้นในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลจึงมีโอกาสติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนียที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้สุขภาพแข็งแรงไม่มีความเสี่ยงกับเชื้อดังกล่าว

เมื่อปี 2013 (พ.ศ.2556) พบว่าในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อดังกล่าวทั้งหมด 8,000 คนและมีอัตราผู้เสียชีวิตมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และจากรายงานปี 2016 (พ.ศ.2559) ผู้ติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนียดื้อยาปฏิชีวนะมากถึง 26 ชนิด [2] ส่งผลให้เชื้อดังกล่าวอยู่ในระดับ Pandrug resistance ทันที

+ ซูโดโมนาสแอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa)
เป็นเชื้อที่อยู่ในระดับสุดท้ายคือ Pandrug resistance และเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเช่นเดียวกับข้างต้นโดยซูโดโมนาสแอรูจิโนซาสามารถนำมาสู่การเปิดโรคโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในปอดและทางเดินอาหารอีกด้วย โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักได้รับยาปฏิชีวนะประเภทโคลิสติน (Colistin) ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของยาปฏิชีวินะ

ในสหรัฐอเมริกาประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อดังกล่าวมากถึง 51,000 คนและเสียชีวิตอีก 400 คนในแต่ละปีในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา

+ ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae)
เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหนองในแท้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อดังกล่าว 78 ล้านคน แม้โรคดังกล่าวอาจไม่ทำให้ถึงเสียชีวิตแต่ผู้ที่ติดเชื้อจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

โดย 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรียจะไม่สามารถรับยาปฏิชีวนะได้ 1 กลุ่มซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหนองในแท้พัฒนาเชื้อกลายมาเป็นซูเปอร์โกโนเรีย (Super Gonorrhea) ซึ่งอาจดื้อยามากกว่าเดิมและเป็นไปได้ว่ายังไม่มียาปฏิชีวนะใดๆ ในปัจจุบันรักษาได้

5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา:

1.Five of the scariest antibiotic-resistantbacteria in the past five years

2.คำนิยามของประเภทเชื้อดื้อยา

3.honestdocs.co


12 ก.ย. 2561 เวลา 08:02 | อ่าน 2,207
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
71 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
12 23 พ.ย. 2567
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยถูก
78 22 พ.ย. 2567
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
103 21 พ.ย. 2567
นายกฯ แพทองธารนั่งหัวโต้ะ คกก.ศก.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหญ่ครบวงจรเน้น “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้หนี้ปชช. กระตุ้นลงทุน” มั่นใจปีหน้าศก. ไทยกลับคึกคัก
33 19 พ.ย. 2567
มติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ พร้อมชง 2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต เสนอ นบข.
36 19 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2567
65 17 พ.ย. 2567
มติคณะรัฐมนตรี การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
218 12 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2567
46 10 พ.ย. 2567
ไทยแลนด์ น่าท่องเที่ยวหลังเว็บดังยกขึ้นเบอร์หนึ่งที่มีการจองบินมาในระดับโลก
42 9 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...