ใช้แอสไพรินทุกวันเป็นอันตรายในผู้สูงอายุ

5 ต.ค. 2561 เวลา 21:25 | อ่าน 3,618
 
สำนักข่าวบีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2561 ว่า การศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเตือนให้ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพรินทุกวัน

ใช้แอสไพรินทุกวันเป็นอันตรายในผู้สูงอายุ

แม้หลักฐานจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมายืนยันประโยชน์ของแอสไพรินในผู้ที่มีประวัติหัวใจวายหรือสโตรก แต่จากการศึกษาล่าสุดไม่พบประโยชน์ของแอสไพรินในผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีซึ่งยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และพบด้วยว่าแอสไพรินเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกภายในซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
แพทย์มักสั่งจ่ายแอสไพรินในผู้ป่วยที่มีประวัติหัวใจวายหรือสโตรกเนื่องจากแอสไพรินมีคุณสมบัติลดความข้นของเลือดและลดความเสี่ยงการเป็นซ้ำ อีกด้านหนึ่งการใช้แอสไพรินในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงมักมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้บทบาทของแอสไพรินในแง่การลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งก็ยังเป็นที่สนใจในวงการแพทย์

อย่างไรก็ดีการศึกษาวิจัยประโยชน์ของแอสไพรินส่วนใหญ่มักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างวัยกลางคน ขณะเดียวกันก็เริ่มมีหลักฐานชี้ให้เห็นอันตรายจากการใช้แอสไพรินเมื่ออายุมากขึ้น

ไม่มีประโยชน์


การศึกษาวิจัยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 19,114 รายในสหรัฐและออสเตรเลียซึ่งมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประวัติโรคหัวใจ และมีอายุมากกว่า 70 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งใช้แอสไพรินโดสต่ำติดต่อกันทุกวันมาตลอด 5 ปี ผลการศึกษา 3 ชุดซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine รายงานว่าแอสไพรินไม่ลดความเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติของหัวใจหรือมีประโยชน์ด้านอื่น ขณะที่พบว่าแอสไพรินเป็นสาเหตุให้อุบัติการณ์ของเลือดออกในกระเพาะอาหารสูงขึ้น

ศ.จอห์น แม็คนีล จากมหาวิทยาลัยโมนาชของออสเตรเลียให้ความเห็นว่า การใช้แอสไพรินโดสต่ำโดยไม่มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนในหมู่ผู้สูงอายุหลายล้านคนทั่วโลกอาจไม่มีความจำเป็น ดังที่พบจากการศึกษาว่าไม่คุ้มกับความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก และว่า ผลลัพธ์จากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับแพทย์ที่ยังไม่มั่นใจว่าควรแนะนำการใช้แอสไพรินสำหรับผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่

การศึกษาวิจัยยังพบอัตราที่สูงขึ้นของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง แต่ผู้ศึกษาวิจัยชี้ว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเนื่องจากผลลัพธ์ดังกล่าวขัดแย้งกับหลักฐานในปัจจุบัน

ด้าน ศ.ปีเตอร์ รอธเวล ผู้เชี่ยวชาญด้านแอสไพรินจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดชี้ว่า ผลลัพธ์จากการศึกษายืนยันอย่างแน่ชัดว่าการใช้แอสไพรินมีประโยชน์น้อยมากในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งไม่มีประวัติโรคหัวใจหรือสโตรก ดังนั้นจึงไม่ควรใช้แอสไพรินเองโดยปราศจากข้อบ่งใช้ที่แน่ชัด

ศ.รอธเวล ชี้ด้วยว่า ผลการศึกษานี้ไม่ครอบคลุมถึงผู้ที่ใช้แอสไพรินภายหลังเกิดหัวใจวายหรือสโตรก และผู้ป่วยควรใช้แอสไพรินต่อตามคำแนะนำของแพทย์ นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้แอสไพรินโดสต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานานควรปรึกษาแพทย์และไม่ควรหยุดยาแบบฉับพลัน




ขอบคุณที่มา "Aspirin-a-day risky in old age" - major study: www.bbc.com


5 ต.ค. 2561 เวลา 21:25 | อ่าน 3,618
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 เมษายน 2568
91 20 เม.ย. 2568
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
136 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
26 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
124 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
38 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
458 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
127 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
166 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
192 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
60 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...