สมาชิก กบข. ทุกคนจะมีเงินออมในบัญชีของสมาชิก 2 ส่วน คือ
ส่วนที่รัฐเป็นผู้นำส่ง 3 ถุง
ถุงที่ 1 เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐส่งเข้าบัญชีให้สมาชิก กบข. เดือนละ 3%
ถุงที่ 2 เงินชดเชย คือ เงินที่รัฐส่งเข้าบัญชีให้สมาชิก กบข. เดือนละ 2%
ถุงที่ 3 เงินประเดิม คือ เงินที่รัฐส่งเข้าบัญชีให้สมาชิก กบข. เฉพาะกลุ่มสมัครเข้า (บรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540)
ส่วนที่สมาชิกเป็นผู้นำส่ง 2 ถุง
ถุงที่ 4 เงินสะสม คือ เงินที่สมาชิก กบข. ส่งสะสม เดือนละ 3%
ถุงที่ 5 เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ออมเพิ่ม) คือ เงินสะสมตามความสมัครใจ ตั้งแต่ 1-12%
ดังนั้น ในทุก ๆ เดือนสมาชิก กบข. จะมีเงินออมรายเดือน ดังนี้
ออมตามกฏหมาย = เงินสะสมสมาชิก 3% + เงินรัฐสมทบ 3% + เงินรัฐชดเชย 2% = 8% ของเงินเดือน
ออมเพิ่ม = กรณีสมาชิกส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม (ออมเพิ่ม) 12% สมาชิกจะมีเงินออมรายเดือนเข้า กบข. สูงสุด = 20% ของเงินเดือน เลยทีเดียว
และ กบข. จะช่วยนำเงินออม (ถุงที่ 1 เงินสมทบ , ถุงที่ 4 เงินสะสม , ถุงที่ 5 เงินสะสมส่วนเพิ่ม) ไปลงทุนตามแผนการลงทุนรายบุคคลที่สมาชิกเลือกไว้ โดยทุกแผนมุ่งเน้น "ความปลอดภัย ของเงินต้น" และ "ผลตอบแทนจากการลงทุน" ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมภายหลังการเกษียณ
ข้าราชการทุกคน มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จหรือเงินบำนาญรายเดือนจากกรมบัญชีกลาง
แต่ข้าราชการ ที่เป็นสมาชิก กบข. นอกจากเงินจากกรมบัญชีกลางแล้ว เมื่อเกษียณอายุ จะได้รับเงินก้อนจาก กบข. อีกด้วย
*อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขของเงินแต่ละถุงและผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับให้ดีก่อนถึงวันเกษียณ
คู่มือสมาชิก :
http://www.gpf.or.th/download/ebook/60/gpf.html