โรคแพนิก โดย DMH Staff กรมสุขภาพจิต

13 พ.ย. 2555 เวลา 09:22 | อ่าน 6,136
 
โรคแพนิคเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียก โรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะท้องไส้ปั่นป่วนขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วยโดยที่ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตายกลัวเป็นโรคหัวใจบางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือ เป็นบ้าอาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก

ซึ่งโรคนี้ นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จาก http://www.ramamental.com ให้ความความกระจ่างว่า

อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยากแต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่นผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถทำให้ไม่กล้าขับรถบางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้า ขึ้นสะพานลอยผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียวหรือไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการ ขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วยในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้เช่นการออกกำลังหนักๆหรือ เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้

ขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมาผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกันผู้ป่วยหลายๆ ราย ไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพโดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดและ ไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ จนเป็นที่มาของการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินเป็นประจำ และใช้หมอเปลืองมาก (บางราย อาจจะมากกว่า 10 ด้วยซ้ำไป) อยู่ในภาวะที่เรียกว่า doctor shopping ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่าอาการแพนิคซึ่งแปลว่าตื่นตระหนกเราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่างๆจะคล้ายกับ อาการของคนที่กำลังตื่นตระหนกในโรคแพนิคผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุกระตุ้นและ เกิดแล้วเกิดอีกซ้ำๆการไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้นอาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานานบางคนเป็นมาหลายปีเกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้งแต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักทีบางคน เป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล"แทบไม่ทัน"ทุกครั้งแต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป"ทัน"ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย

สาเหตุ
สาเหตุของโรคจริงๆนี้นไม่ทราบ แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. ทางด้านร่างกาย

1.1 ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าสาเหตุของโรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุม "ความกลัว (fear)" ซึ่งก็คือบริเวณโครงสร้างลึกๆในสมองที่เรียกว่า "อะมิกดาลา (Amygdala)" ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มีปฏิกิริยามากมายต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองสรุปไว้ว่า ภาวะความผิดปกติทางด้านวิตกกังวลทั้งหลายมีความสัมพันธ์กันกับอะมิกดาลาในสมองที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะความกลัว ความจำ (เจ็ดชั่วโคตร) ความวิตกกังวลมากมายที่ส่งผลต่อพฤติกรรม จึงทำให้มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมากมายเพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาให้เหมาะสม

ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นจากภายนอกหรือภายในก็ตามที ทำให้มีผลเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดเป็นอย่างมาก ภาวะวิตกกังวลนี้ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจให้ตกอยู่ในภาวะการณ์ที่เรียกว่า "สู้หรือถอย (fight or flight)

1.2 ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน ความเจ็บป่วยโรคทางกาย สารเสพติด และ กรรมพันธ์

2. สาเหตุทางจิตใจ เช่น การเผชิญความวิตกกังวลในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง (severe stress) เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ถูกข่มขืน หย่าร้าง อกหัก ตกงาน หรือมีประวัติได้รับความกระทบเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง

โรคแพนิกเป็นภาวะะวิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่ง ศ. นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ ได้กล่าวไว้ใน คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชว่า เป็นภาวะวิตกกังวลที่ผู้ป่วยจะจำได้แม่นยำถึงอาการ ความรุนแรงของอาการ สถานที่เกิดอาการ จนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดหรือพยายามเลิกกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น หากเป็นขณะขับรถ ก็จอดรถ หรือหากเป็นขณะซื้อของในห้างก็จะรีบออกจากห้าง เช่นนี้เป็นต้น

ลักษณะเฉพาะเจาะจงของโรคแพนิก
1. อาการของโรคแพนิก ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผู่ป่วยมีความกลัว หรือรูสึกไม่สบายอย่างรุนแรง โดยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อาการ เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและรุนแรงที่สุดภายในเวลา 10 นาที


ใจสั่น
หัวใจเต้นแรง
เหงื่อแตก ตัวสั่น
เวียนศรีษะ หรือเป็นลม
เจ็บหรือแน่นหน้าอก
หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ
ชาหรือรู้สึกเป็นเหน็บ
หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ
คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
กลัว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้
กลัวว่าตนเองจะตาย

2. อาการของแพนิก เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ

3. ผู้ปวยมีความกังวลว่าตัวเองจะเกิดอาการแบบนี้ขึ้นมาอีกหรือไม่สบายใจเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการมีแพนิก หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมากที่สัมพันธ์กับการเกิดแพนิก

4. ความกังวลหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นนานอย่างน้อย 1 เดือน

การรักษา
ด้วยว่าโรคแพนิกนั้น จัดว่าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ (real illness) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง ดังนั้น การรักษาที่จะได้ผลดี ประกอบไปด้วย

1. การรักษาด้วยยา

1.1 ยาแก้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็วใช้เมื่อเกิดอาการขึ้นมาเป็นทีกินทีกินแล้วหายเร็วได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกัน ในนามของยา"กล่อมประสาท"หรือยา"คลายกังวล"ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงแต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆจะเกิดการติดยาและเลิกยาก

1.2 ยาป้องกันเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลเมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลยยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัวยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหายในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายยาทั้ง 2 กลุ่มในช่วงแรกๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆหยุดยา ผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีกแต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลงในกรณี แบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆ

2. การรักษาทางใจ ที่สำคัญและได้ผลมากคือ การให้ความรู้ Psychoeducation และการทำพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิกและอาการของแพนิค การฝึกการหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกการจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก เหล่านี้เป็นต้น


*******************************************


เอกสารอ้างอิง:
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับแพทย์ (ปรับปรุง 2544): กรงเทพ: เรดิชั่นจำกัด. กุมภาพันธ์ 2544.
http://www.helpguide.org/mental http://www.nimh.nih.gov/publicat/panicfacts.cfm http://www.psych.org/ http://www.ramamental.com
ข้อมูลจาก http://www.dmh.go.th


13 พ.ย. 2555 เวลา 09:22 | อ่าน 6,136
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
23 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
90 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
663 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
632 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
132 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
73 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
183 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
656 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
850 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
120 25 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...