ค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่าง
ประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะตลาด เช่น ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็ง เราอาจใช้เงินบาทเพียง 32 บาท เพื่อแลกเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในบางช่วงเวลาที่ค่าเงินบาทอ่อน เราต้องใช้เงินบาทเพิ่มเป็น 34 บาท เพื่อแลกเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ
การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินบาท จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออก ผู้นำเข้า นักลงทุน และผู้ที่กู้เงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ได้ และเสียประโยชน์เสมอ
การดูแลค่าเงินบาทจึงต้องพิจารณาผลกระทบให้รอบด้าน และเป็นไปไม่ได้เลยที่แบงก์ชาติจะทำการฝืนตลาดเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งค่า
การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน จะเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ แบงก์ชาติจะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครับ
ค่าเงินบาทแข็ง คือ การใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
ใครได้ประโยชน์ ?
ผู้นำเข้า ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศถูกลง
ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้ถูกลง
ผู้ลงทุน นำเข้าสินค้าทุนได้ถูกลง เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้ลดลง เพราใช้เงินบาทน้อยลงในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
ใครเสียประโยชน์
ผู้ผู้สงออก นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
ผู้คนทำงานต่างประเทศ นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
ผู้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
เงินบาทอ่อน คือ การใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
ใครได้ประโยชน์?
ผู้ผู้ส่งออก นำรายได้ทีเป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
ผู้คนทำงานต่างประเทศ นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
ผู้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
ใครเสียประโยชน์?
ผู้ผู้นำเข้า เพิ่มต้นทุนการนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
ผู้ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
ผู้ผู้ลงทุน นำเข้าสินค้าทุนแพงขึ้น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
ผู้ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทมากขึ้นในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย