การคิดดอกเบี้ยคิดอย่างไร? เลือกดอกเบี้ยแบบไหนคุ้มค่าที่สุด

27 ก.ค. 2562 เวลา 23:11 | อ่าน 1,791
แชร์ไปยัง
L
 
การคิดดอกเบี้ย

ผมเชื่อว่าถ้าเลือกได้ ก็ไม่มีใครอยากจะมีหนี้จี้ก้น จ่ายกันทุกสิ้นเดือนหรอกครับ แต่ถ้าไม่มีเงินกู้ ชีวิตมันก็อาจจะไปต่อไม่ได้ เช่น คนทำอาชีพค้าขาย ถ้าเงินทุนตัวเองไม่พอ ก็ต้องกู้ยืมมาขยายกิจการ หรือบางคนที่อยากจะซื้อบ้าน ก็จำเป็นต้องกู้เงินเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราจำเป็นต้องสร้างหนี้ สิ่งสำคัญที่พี่ ป้า น้า อา ควรต้องรู้ก่อนเป็นหนี้ 2 อย่างก็คือ


1. เขาคิดดอกเบี้ยเราแบบไหน

เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก่อนเลยนะครับเพื่อที่เราจะได้วางแผนในการจ่ายหนี้ถูก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการคิดดอกเบี้ยก็จะมี 2 แบบ คือ


- การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่

คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยเราจากยอดเงินที่เรากู้ทั้งหมดคงที่ตลอดอายุสัญญา แม้ว่าเราจะผ่อนไปบ้างแล้วดอกเบี้ยก็ไม่ลดลงตามต้นเงินครับ
ตัวอย่างเช่น กู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดจะอยู่ที่ 2,250 บาท เจ้าหนี้ก็จะเอาไปบวกกับเงินที่กู้ไป รวมเป็นเงิน 17,250 บาท แล้วก็เอามาหาร 12 เดือน ก็จะได้เงินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ต่อเดือนๆ ละ 1,437.5 บาท และหากผ่อนไปแล้ว 6 เดือน เกิดโชคดีถูกหวยขึ้นมา อยากรีบเอาเงินมาปิดหนี้ ก็ไม่มีประโยชน์มากนักเพราะก็ต้องจ่ายส่วนที่ขาดไปอีก 6 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ไม่ลด ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบนี้ส่วนใหญ่จะเจอในการกู้ซื้อรถ หรือการกู้หนี้นอกระบบครับ

การคิดดอกเบี้ย


- การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดต้นลดดอก

คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยเรา ตามยอดหนี้ที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน เช่น กู้มา 15,000 บาท เดือนแรกเขาก็จะคิดดอกเราจากยอดเงิน 15,000 บาท และในเดือนแรกเราผ่อนจ่ายไป 1,500 บาทแล้ว เดือนถัดไปเขาจะเอาเงินต้นที่เหลืออยู่ก็คือ 13,500 บาท มาคิดดอกเบี้ย ซึ่งจะต่างจากแบบแรกที่ถ้ากู้ 15,000 บาท จะผ่อนจ่ายไปกี่เดือนแล้วก็ตามเวลาคิดดอกเบี้ยก็จะคิดจากยอดกู้ 15,000 บาท แหมะดอกเบี้ยถูกกว่ากันเห็นๆ

ตัวอย่างเช่น ไปกู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ย ลดต้นลดดอกร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ทางเจ้าหนี้เขาจะคำนวนมาให้เลยว่าเราจะผ่อนเดือนละ 1,360 บาท รวมเป็นเงิน 16,320 บาท ซึ่งรวมแล้วเราจะจ่ายถูกกว่าแบบเงินต้นคงที่และถ้าเรามีเงินก้อน เราก็สามารถเอาเงินก้อนไปโปะได้ ดอกเบี้ยก็จะลดลงอีกด้วย จากยอดที่เราต้องจ่ายทั้งหมด 16,320 บาท อาจจะเหลือแค่ 16,000 บาทก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ดอกเบี้ยลักษณะนี้คือการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อส่วนบุคคลครับ

การคิดดอกเบี้ย

2. แล้วเราจะเลือกผ่อนสั้นผ่อนยาวดีล่ะถึงเหมาะกับเรา ?

เรื่องนี้ขอกระซิบบอกหน่อยครับว่า “ไม่ว่าจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แม้ว่าทั้งสองแบบจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยต่างกัน แต่สิ่งที่เขาให้เรามีสิทธิ์เลือกได้ก็คือ เราจะผ่อนแบบสั้น หรือแบบยาว” เออนั้นซิแล้วผ่อนแบบไหนดีกว่ากันครับ!!! ตอบยากจังเลยยย เอาเป็นว่าผมขอแนะนำแบบนี้ดีกว่าครับ


ถ้าเลือกผ่อนสั้น

การผ่อนหนี้ในแต่ละเดือนก็จะสูง แต่ก็หมดไวมีภาระผ่อนไม่นาน แถมดอกเบี้ยก็จะน้อยลงไปด้วย ซึ่งถ้าเรารู้ว่าเรามีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น เป็นพนักงานมีเงินเดือน สามารถประเมินรายได้แต่ละเดือนได้ ถ้าดูจากเงินเดือนแล้วสามารถผ่อนระยะสั้นไหว การผ่อนระยะสั้นก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจนะครับ หมดหนี้ไว เราอย่าได้รู้จักกันนานเลยครับคุณหนี้


ถ้าเลือกผ่อนแบบยาว

ในแต่ละเดือนเราก็จะผ่อนน้อย ผ่อนนาน ผ่อนสบาย แต่ว่าดอกเบี้ยก็เยอะขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งถ้าเราทำอาชีพค้าขาย หรืองานรับจ้างต่างๆ ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำไม่ได้เป็นประจำแน่นอนตลอด การเลือกผ่อนแบบยาวก็ดูเข้าทางเรามากกว่าผ่อนสั้นนะครับ ถึงแม้ว่าดอกเบื้ยจะแพงกว่าก็เถอะ แต่เราก็จะไม่ลำบากต้องไปหาหยิบยืม สร้างหนี้ มาจ่ายหนี้อีก ถ้าเดือนไหนเรามีรายได้เข้ามาน้อย แต่ถ้าเดือนไหนมีรายได้เข้ามาเยอะ เราก็ควรกันไว้จ่ายในเดือนที่รายรับเราได้มาน้อย หรือเอาไปโปะถ้าสินเชื่อที่เรากู้เป็นแบบลดต้นลดดอก จะได้หมดหนี้ไวๆ เสียดอกน้อยลง แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกก็เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นดีกว่าครับ

การคิดดอกเบี้ย

สุดท้าย และท้ายสุดอยากฝากไว้ว่าถ้าพี่ ป้า น้า อา ทั้งหลาย จำเป็นจะต้องสร้างหนี้เพื่อให้ชีวิตหมุนต่อได้ ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมนะครับว่าหนี้ของเรานั้นควรจะผ่อนสั้นหรือยาว เลือกผ่อนในแบบที่เราสามารถจ่ายไหว ไม่เกินกำลังของตัวเอง หรือบีบรัดจนกลายเป็นกลัวเสียดอกเยอะเลยเลือกผ่อนสั้น แต่พอผ่อนจริงๆ แล้วผ่อนไม่ไหว อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตให้ต้องนอนเอาขาก่ายหน้าผากวันละ 8 ตลบได้นะครับ




ข้อมูลจาก เงินติดล้อ


27 ก.ค. 2562 เวลา 23:11 | อ่าน 1,791


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
0 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
63 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
65 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
298 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
315 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
633 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,342 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
705 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน