โรคโนโมโฟเบีย (nomophobia) โรคสุดฮิตของคนใช้สมาร์ทโฟน

23 ก.ย. 2562 เวลา 08:01 | อ่าน 2,494
 
โนโมโฟเบีย (nomophobia)

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำว่า "no mobile phone phobia" เป็นศัพท์ที่หน่วยงายวิจัยทางการตลาดขนาดใหญ่ (YouGov) บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2010 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร และอาการนี้กำลังถูกเสนอจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล


งานวิจัยที่ป็นที่มาของโรคนี้ได้ทำการศึกษาผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2,163 คนในสหราชอาณาจักรและพบว่า 53% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักรจะเกิดอาการวิตกกังวลเมื่อพบว่าโทรศัพท์หาย แบตเตอรี่หมด หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ อีกทั้งยังพบว่า 58% ของผู้ชาย และ 47% ของผู้หญิงที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีอาการของnomophobia และในจำนวนนี้มีถึง 9% ของกลุ่มที่ศึกษา ระบุว่ารู้สึกเครียดมากถ้าโทรศัพท์ของตนเองใช้การไม่ได้ และเมื่อให้ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ระบุถึงระดับของ ความเครียดจากการขาดโทรศัพท์มือถือนั้น ความเครียดที่เกิดขึ้นเทียบเท่ากับความเครียดที่เกิดขึ้นก่อนวันแต่งงานหรือความเครียดระดับเดียวกับการไปพบทันตแพทย์เลยทีเดียว


อีกการศึกษาหนึ่งที่ทำในนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพศชาย 547 คน พบว่า 23% มีพฤติกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่จะถูกวินิจฉัยได้ว่าเป็น nomophobia และมีอีก 64% ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการนี้ และที่น่าสนใจก็คือ 77% ของเด็กในกลุ่มที่ถูกทำการวิจัยเช็กโทรศัพท์มือถือของตนเองบ่อยมากโดยเฉลี่ย 35 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว


จากงานวิจัยที่ทำพบว่า โนโมโฟเบียพบ มากที่สุดในกลุ่มคนในช่วงอายุ 18-24 ปี โดยคิดเป็นร้อยละ 77 รองลงมาคือกลุ่มคนในช่วงอายุ 25-34 ปี และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีตามลำดับ


โนโมโฟเบีย (nomophobia)

ใครบ้างที่เข้าข่ายเป็นโรคโนโมโฟเบีย


• พกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา ต้องวางไว้ใกล้ตัวเสมอ รู้สึกกังวลใจมากเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว

• หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความจากโซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชั่นต่างๆ อัพเดทข้อมูลจากโทรศัพท์อยู่

ตลอด หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อย แม้ไม่มีเรื่องด่วน

• เมื่อมีการแจ้งเตือนเข้ามาจากโทรศัพท์ จะให้ความสำคัญกับโทรศัพท์ในทันที ไม่เช่นนั้นจะไม่มีสมาธิ มีความกระวนกระวายใจ จนไม่สามารถทำภารกิจที่อยู่ตรงหน้าต่อได้

• เมื่อตื่นนอนก็เช็กโทรศัพท์เป็นอันดับแรก และก่อนนอนก็ยังคงเล่นโทรศัพท์ เล่นเกมส์

• เล่นโทรศัพท์เป็นประจำในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ ขับรถ หรือระหว่างนั่งรอรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า

• เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ จะรู้สึกตื่นตระหนกตกใจมากกว่าสิ่งของอย่างอื่นหาย

• กลัวโทรศัพท์ตัวเองหาย แม้ว่าจะวางอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม

• ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย

• ในแต่ละวันใช้เวลาพูดคุยกับผู้คนผ่านโทรศัพท์ในโลกออนไลน์มากกว่าพูดคุยกับผู้คนจริง ๆ รอบข้าง


โนโมโฟเบีย (nomophobia)

โนโมโฟเบียส่งผลให้เสี่ยงต่อสารพัดโรค และอาการผิดปกติทางร่างกาย


นิ้วล็อก เกิดจากการใช้นิ้วมือกด จิ้ม เขย่า สไลด์ หน้าจอติดต่อกันนานเกินไป ทำให้มีอาการปวดข้อมือ ข้อมืออักเสบ เส้นเอ็นยึด เกิดพังพืด ถ้ารู้สึกว่ากำนิ้วมือแล้วเหยียดนิ้วไม่ได้นั่นคือสัญญาณเตือนว่าควรรีบไปพบแพทย์


อาการทางสายตา เกิดอาการสายตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง จากการเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็กๆ ที่มีแสงจ้านานเกินไป หรือเกิดอันตรายจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์ (Blue Light) ที่ถ้าหากสัมผัสแสงนี้ไปนาน ๆ อาจส่งผลให้วุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อมหรือตาบอดจากAge macular degeneration (AMD) ได้


ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ เพราะในการใช้งานโทรศัพท์ คนส่วนใหญ่จะก้มหน้า ค้อมตัวลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่หดตัวผิดปกติ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเล่นนานๆ อาจมีอาการปวดศีรษะตามมา


หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร ท่าทางการใช้โทรศัพท์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะการก้มหน้า อาจทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถพยุงกระดูกได้ดี อีกทั้งการไม่ออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้กระดูกบางหรือทรุด สองสาเหตุนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสริมสำคัญที่ทำให้เกิดอาการโรคกระดูกต้นคอเสื่อม (C-Spine spondylosis)


โรคอ้วน แม้การใช้โทรศัพท์จะไม่ได้ทำให้เกิดโรคอ้วนโดยตรง แต่การนั่งเล่นโทรศัพท์ทั้งวันโดยแทบไม่ลุกเดินไปไหน ก็จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื่อรังอื่น ๆ ได้



ติดมือถือซะแล้ว ต้องแก้ไขใหม่ !


เพื่อป้องกันโรคทั้งหลาย และไม่ปล่อยให้คุณเสพติดมือถือขนาดหนักอีกต่อไป ลองมาดูคำแนะนำดีๆ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองกัน


• เมื่อรู้สึกเหงา ให้หากิจกรรมอื่นหรือเพื่อนคุยแทนการใช้โทรศัพท์ เช่น คุยกับคนในบ้าน เพื่อนร่วมงาน นัดเพื่อนเพื่อมาเจอกัน ไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับการสนทนาผ่านหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์

• ลองตั้งกฎว่าจะไม่แตะต้องโทรศัพท์มือถือภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงหากไม่มีธุระจำเป็น แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาให้ได้มากขึ้น

• ลองกำหนดให้ห้องนอนเป็นเขตปลอดโทรศัพท์มือถือ แล้วพยายามทำตามให้ได้ เพื่อที่จะไม่ต้องหยิบมือถือมาเล่นทันทีตั้งแต่ลืมตาตื่น หรือผลอยหลับไปกับมือถือที่เล่นก่อนนอน



หากมีอาการสามารถห่างจากโทรศัพท์มือถือได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์ ทางการแพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ที่นิยมใช้รักษาคนมีอาการวิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัว ทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือ





ข้อมูลจาก bangkokhealth.com
ขอบคุณ
พญ. วิมลจันทร์ วุฒิคงสมบัติ
นพ. ตนุพล วิรุฬหการุญ

23 ก.ย. 2562 เวลา 08:01 | อ่าน 2,494
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
82 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
13 23 พ.ย. 2567
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยถูก
80 22 พ.ย. 2567
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
112 21 พ.ย. 2567
นายกฯ แพทองธารนั่งหัวโต้ะ คกก.ศก.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหญ่ครบวงจรเน้น “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้หนี้ปชช. กระตุ้นลงทุน” มั่นใจปีหน้าศก. ไทยกลับคึกคัก
35 19 พ.ย. 2567
มติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ พร้อมชง 2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต เสนอ นบข.
37 19 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2567
66 17 พ.ย. 2567
มติคณะรัฐมนตรี การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
220 12 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2567
49 10 พ.ย. 2567
ไทยแลนด์ น่าท่องเที่ยวหลังเว็บดังยกขึ้นเบอร์หนึ่งที่มีการจองบินมาในระดับโลก
44 9 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...