ตัวอย่าง เวลาราชการปกติ 27 ปี 5 เดือน 15 วัน ได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้ายในอัตรา 32,740 บาท
กรณีผู้มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ
= 32,740 x 28
=
916,720 บาท
บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ / 50
= 32,740 x 28 / 50
=
18,334.40 บาท
* จำนวนปีเวลาราชการ หมายถึง จำนวนปีรวมเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็น 1 ปี
ตัวอย่าง
เวลาราชการปกติ 27 ปี 5 เดือน 15 วัน ไม่มีเวลาทวีคูณ
จำนวนปีเวลารากชการ = 28 ปี
กรณีผู้มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ เป็นสมาชิก กบข
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
= 32,740 x 27.46
=
899,040.40 บาท
บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ / 50
= 28,315 x 27.46 /50
=
15,550.59 บาท
คำนวณเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ปีปัจจุบัน = (32,740 x 6) + (31,820 x 6) = 387,360 บาท
ย้อนหลัง 1 ปี = (30,900 x 6) + (29,840 x 6) = 364,440 บาท
ย้อนหลัง 2 ปี = (28,780 x 6) + (27,720 x 6) = 339,000 บาท
ย้อนหลัง 3 ปี = (27,720 x 6) + (25,160 x 6) = 317,280 บาท
ย้อนหลัง 4 ปี = (24,700 x 6) + (23,770 x 6) = 290,820 บาท
รวม 60 เดือน = 1,698,900 บาท
เฉลี่ย 60 เดือน = 1,698,900 / 60 =
28,315 บาท
* บำนาญปกติที่คำนวณได้ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (28,315 x 70% = 19,820.50 บาท)
* การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนนปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งหนึ่งให้นับเป็น 1 ปี
ตัวอย่าง การคำนวณเวลาราชการ กบข.
เวลาราชการปกติ 27 ปี 5 เดือน 15 วัน ให้นับเป็นเวลาราชการ 28 ปี เพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามมาตรา 48 แต่เวลาราชการที่ใช้ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญจริง คือ 27 ปี 5 เดือน 15 วัน
เวลาราชการ = 27 + 5/12 + 15/360
= 27 + 0.42 + 0.04
=
27.46 ปี