บล็อคเชน (blockchain) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

6 พ.ย. 2562 เวลา 21:59 | อ่าน 4,328
 
บล็อคเชน (blockchain) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

Blockchain อาจจะเป็นคำที่เพื่อนหลายๆคนยังไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก หรือบางคนอาจได้ยินมาบ้าง ตามงานอบรมต่างๆ หรือเคยเปิดผ่านตาตามเว็บไซต์ และเว็บบอร์ดแต่ไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร ในบทความนี้เราจะมาให้ความกระจ่างกับความหมายของ Blockchain กันค่ะ


Blockchain แท้จริงแล้วคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม หรือไม่ต้องผ่านคนกลาง ด้วยแนวคิดที่ว่าการทำธุรกรรมการเงินที่ไม่ต้องผ่านคนกลางนั้นจะมีความน่าเชื่อถือได้มากกว่า


ซึ่งการใช้ Blockchain นั้นจะทำให้การทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดย Blockchain ก็เปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งสามารถแชร์ไปได้เป็นห่วงโซ่ หรือ Chain โดยที่ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้นๆค่ะ ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain แล้วจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแก้ไข


บล็อคเชน (blockchain) คืออะไร


เทคโนโลยี บล็อคเชน เป็นนวัตกรรมที่ฉลาด ที่รวมรวมเอา 3 เทคโนโลยีซึ่งมีมานานแล้วมาใช้งานร่วมกันอย่างแยบยล ซึ่งก่อการณ์โดยกลุ่มคนหรือบุคคลไม่ประสงค์จะเผยนามที่สร้างเหรียญบิทคอยน์ขึ้นมา เรียกว่าคนกลุ่มนี้ว่า ซาโตชิ นากาโมระ ปรากฎครั้งแรกในปี 2008 โดยใช้ เทคโนโลยี บล็อคเชน เป็นเครื่องมือบันทึกธุรกรรมของเงินดิจิตัล สกุลบิทคอยน์ จากความสำเร็จของเหรียญบิทคอยน์ ส่งผลให้ เทคโนโนโลยี บล็อคเชน เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและได้ถูกนำไปใช้ในหลายๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเงินและธนาคาร


เทคโนโลยี บล๊อคเชน คืออะไร ?


บล๊อคเชน เป็นบัญชีดิจิตัลทีบันทึกธุรกรรมที่ไม่อาจช่อโกงได้ และไม่ได้บันทึกได้แค่ธุรกรรมการเงินเท่านั้นแต่บันทึกได้ทุกธุรกรรมที่มีมูลค่า: Don & Alex Tapscott

อย่างที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยี บล๊อคเชน เริ่มแรกถูกใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะที่บันทึกธุรกรรมของเงินดิจิทัลสกุลบิทคอยน์ และในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในหลากหลายธุรกรรม ซึ่งจริงๆแล้ว เทคโนโลยี บล๊อคเชน เป็นบันทึกธุรกรรมต่างๆที่มีมูลค่า ด้วยหลักการใหม่ ที่นำเอา 3 เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วนำมาทำงานร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันอย่างหลากหลายในปัจจุบัน


บล็อคเชน

แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก

เพื่อความเข้าใจการทำงานของบล็อคเชนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันอยู่ เช่น การบันทึกเอกสารของ google doc หรือ google sheet หรือ wikipedia คือเมื่อเราต้องการให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถแก้ไข และบันทึกเอกสาร และสุดท้ายเผยแพร่ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งหมดนี้ล้วนต้องกระทำบนเซิร์ฟเวอร์กลางผู้คนถึงจะเข้าถึงเอกสารได้หลายๆคนพร้อมกัน ซึ่งมีเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้กำหนดสิทธิ์ และรับรองสิทธิ์ของผู้เข้าถึงบัญชีหรือเอกสาร และอีกทั้งยังเป็นผู้รักษาความปลอดภัยของเซิฟเวอร์จากการแฮกของแฮกเกอร์ เหมือนกันกับการบันทึกทางธุรกรรมการเงินของธนาคารในปัจจุบันก็กระทำบนเซิร์ฟเวอร์กลางของธนาคารผู้เป็นเจ้าของบัญชี


แต่การบันทึกบัญชีหรือบันทึกธุรกรรมบน เทคโนโลยี บล็อคเชน มีความแตกต่างกันออกไป เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้นของสองฝ่าย คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครือข่าย เพียร์ทูเพียร์ ( peer to peer network เป็นเครือข่ายที่ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์กลาง) ทั้งหมดจะช่วยกันบันทึกและตรวจสอบความถูกต้อง และสุดท้ายเผยแพร่ให้กับเครือข่ายทั้งหมดรับรู้ธุรกรรมที่เกิดขึ้น ไม่มีบุคคลใดสามารถควบคุมการทำธุรกรรมนี้ได้ ไม่มีบุคคลใดสามารถทำธุรกรรมปลอมขึ้นมาได้ เพราะใครก็ตามที่ต้องการปลอมต้องเปลี่ยนทั้งหมดทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง ซึ่งไม่มีใครมีคอมพิวเตอร์ที่มีพลังมากมายขนาดนั้น


บล็อคเชน

เทคโนโลยี บล็อคเชน ทำงานได้อย่างไร ?


จากที่ได้กล่าวถึงว่า เทคโนโลยี บล็อคเชน ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนแล้ว 3 อย่างหลักแล้วนำมาใช้ร่วมกันกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่แสนสุดวิเศษ เทคโนโลยี 3 อย่างที่ว่านั่นคือ 1) Cryptographic keys (การเข้ารหัสลับ) 2) ระบบ เพียร์ ทู เพียร์ เนตเวิร์ค (peer to peer network หมายถึงเรื่องข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) ใช้ในการบันทึก และเผยแพร่บัญชีการทำธุรกรรม 3) โปรแกรมในการให้แรงจูงใจกับเครือข่ายในการให้บริการเก็บรักษาข้อมูลและความปลอดภัย ต่อไปนี้เป็นการไล่เรียงการทำงานของระบบ เทคโนโลยี บล๊อคเชน


เทคโนโลยี การเข้ารหัส Cryptographic keys


เมื่อบุคคลหรือหน่วยงานต้องการทำธุรกรรมร่วมกัน แต่ละฝ่ายต้องมีรหัสลับ 2 ชุดด้วยกันคือ 1)รหัสลับส่วนตัว (Private Key) 2)รหัสสาธารณะ (Public key) วัตถุประสงค์ของ เทคโนโลยี บล๊อคเชน ที่นำเอาเทคโนโลยีการเข้ารหัสมาใช้เพื่อเป็นการสร้างข้อมูลประจำตัวในการอ้างอิงในระบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัย โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในการยืนยันตัวเองว่าคุณเป็นใครมาจากไหน เพียงแค่การรวมตัวกันของรหัสลับส่วนตัวกับรหัสสาธารณะก็เกิดเป็นลายเซ็นต์ดิจิทัลขึ้นมาใช้ในการบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของผู้ที่จะทำธุรกรรมได้


ระบบเครือข่ายแบบกระจาย


ระบบเครือข่ายที่กระจายตัวแบบนี้มีความสำคัญต่อ เทคโนโลยี บล็อคเชน เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้นระหว่างสองฝ่าย แม้จะมีการยืนยันตัวตนโดยใช้รหัสส่วนตัวและรหัสสาธาณะแล้ว แต่เมื่อไม่มีใครรับรู้ว่าธุรกรรมก็เป็นที่สงสัยว่าธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีเครือข่ายแบบกระจายเพื่อจะได้ช่วยยืนยันการทำธุรกรรม และช่วยเผยแพร่ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่าย การยืนยันธุรกรรมในแบบปัจจุบันอาจจะใช้เอกสารรูปถ่ายลายเซ็นต์ แต่การยืนยันและเผยแพร่ ของเทคโนโลยีนี้ใช้ รูปแบบทางคณิตศาสตร์


ในช่วงแรกๆขนาดของเครือข่ายมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยยิ่งปริมาณของเครือข่ายมากยิ่งมีความปลอดภัยสูง ยกตัวอย่าง บล็อคเชน ของเงินดิจิทัลสกุลบิทคอยน์ มีเครือข่ายมากมาย เมื่อหลายปีที่แล้ว บิทคอยน์มีกำลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมากถึง 3,500,000 TH/s ซึ่งมากกว่าธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 10,000 แห่งรวมกันนับว่ามหาศาล ปัจจุบันนี้เครือข่ายของบิคอยน์มีกำลัง 17.6 ล้าน TH/s นับว่ามากมายมหาศาลเกินกว่าระบบคอมพิวเตอร์ใดๆจะเข้าแทรกแซงได้


การบันทึกข้อมูล


เมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้น เครือข่ายของ บล็อคเชน จะทำการรวบรวมข้อมูลใส่ไว้ในลิสต์รายการที่เรียกว่า บล็อค (ฺBlock) โดยข้อมูลในนั้นประกอบไปด้วย รหัสลับส่วนตัว รหัสสาธารณะ และข้อมูลแฮชบางส่วนของบล็อคที่ได้รับการยืนยันแล้วที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และข้อมูลหรือข้อความของบล็อคนี้ที่ต้องการส่งหรือบันทึกไว้ รวมกันแล้วแฮชเป็นบล็อคใหม่ จากนั้นจะแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายทราบ เพื่อที่จะช่วยกันยืนยันและบันทึกธุรกรรม เมื่อได้รับการยืนยันแล้ว บล็อคหรือลิสต์ข้อมูลที่แฮชแล้วนี้ จะถูกนำไปต่อเข้ากับบล็อคก่อนหน้านี้ เมื่อข้อมูลถูกต้องระบบก็จะรวมเข้าในเครือข่ายบล็อคเชน ข้อมูลของบล็อคอื่นๆก็จะมาต่อกันเรื่อยๆเป็นลูกโซ่ ถ้ามีใครสักคนหนึ่งพยายามจะทำบล็อคธุรกรรมปลอมเข้ามาแทนที่บล็อคที่ถูกบันทึกไว้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อบล็อคอื่นๆต่อมา ซึ่งทำให้เกิดกลายเป็นบล็อคธุรกรรมปลอมด้วยกันทั้งหมด ดังนั้นบล็อคธุรกรรมปลอมนั้นจะถูกตัดทิ้ง และเข้ามาแทนที่ไม่ได้เพราะจะทำให้บล็อคธุรกรรมที่ตามมาปลอมหมด ดังนั้นการบันทึกธุรกรรมแบบบล็อคเชนจึงไม่สามาถแก้ไขและทำปลอมได้


โปรแกรมการให้แรงจูงใจในการยืนยันและบันทึกข้อมูลของเครือข่าย


แน่นอนว่าในการบันทึกธุรกรรมนี้ต้องอาศัย Node ต่างๆของเครือข่ายแบบ Peer to Peer ที่ยอมนำเอากำลังของคอมพิวเตอร์เข้ามาแชร์ในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลธุรกรรม แน่นอนว่าต้องมีระบบตอบแทนหรือแรงจูงใจ ยกตัวอย่างเครือข่าย บล็อคเชน ของบิทคอยน์ ระบบเครือข่ายบิทคอยน์จะให้รางวัล 25 บิทคอยน์ในการแฮชแต่ละบล็อคสำเร็จ และอัพเดตไปในระบบ บล็อคเชน (บัญชีแยกประเภทถูกอัพเดต) และทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบไปพร้อมๆกัน แต่ด้วยทั้งระบบของบิทคอยน์มีเหรียญบิทคอยน์เพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ถ้าใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทำคงใช้เวลาเพียงนิดเดียวเหรียญคงหมดเกลี้ยง ดังนั้นระบบเครือข่ายของบิทคอยน์จึงต้องสร้างให้มีความยากขึ้นไปอีกเพื่อรักษาสมดุลย์ของเหรียญบิทคอยน์โดยให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทำงานชนิดหนึ่งเพิ่มเติมในเงื่อนไขที่ยาก เรียกว่างานนี้ว่า “Proof of Work” เมื่อทำสำเร็จจึงจะยอมรับว่า บล็อคที่สร้างมานั้นถูกต้องและนำไปต่อกันกับบล็อคก่อนหน้านี้ได้ ใครทำสำเร็จก็จะได้รับรางวัล เงื่อนไขนี้จะถูกปรับให้ยากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่าบิทคอยน์เป็นรางวัลที่มีค่าสูงจึงทำให้มีเครือข่ายในระบบมาก เครือข่ายบล็อคเชนของบิทคอยน์จึงมีความปลอดภัยสูง


ชนิด จำนวน วิธีการตรวจสอบบันทึก จะมีวิธีแตกต่างกันไปในแต่ละเครือข่ายของบล็อคเชนนั้นๆ โดยขึ้นกับโปรโตคอลของบล็อคเชนที่ผู้สร้างเขียนขึ้นมาว่า คอมพิวเตอร์ของเนตเวิร์คต้องดำเนินการยืนยันด้วยวิธีอย่างไร และจะให้แรงจูงใจเป็นอะไรแบบไหนเท่าไร เพื่อให้เครือข่ายประสบความสำเร็จและมีผู้คนสละกำลังของคอมพิวเตอร์มาร่วมกันบันทึกและยืนยันธุรกรรมของเครือข่าย


เทคโนโลยี บล็อคเชน ใช้ทำอะไรได้บ้าง


เทคโนโลยี บล็อคเชน ไม่ได้มีใช้แต่เฉพาะในเรื่องของเหรียญดิจทัลเท่านั้น แต่ยังถูกประยุกต์ในทั้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน และอุตสหกรรมที่อยู่นอกวงการการเงิน ซึ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของการนำเทคโนโลยี บล็อคเชน มาประยุกต์ใช้





ข้อมูลจาก siambc.com และ khundee.com รูป th.wikipedia.org

6 พ.ย. 2562 เวลา 21:59 | อ่าน 4,328
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
25 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
91 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
672 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
637 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
132 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
73 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
183 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
656 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
852 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
120 25 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...