*ขยายเวลายื่นแบบฯ ปีภาษี 2562 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
ค่าลดหย่อนส่วนตัว
ส่วนตัว 60,000 บาท
คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
บุตรคนละ 30,000 บาท
(บุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ 2561 เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท)
ค่าคลอดบุตร ท้องละ 60,000 บาท
พ่อ/แม่ คนละ 30,000 บาท
ผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ
ประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพ 15,000 บาท
รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพพ่อ-แม่ 15,000 บาท
ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 10,000 บาท
รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนการซื้อหน่วยลงทุน
RMF 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันชีวิตแบบบำนาญ 15 %ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุน กบข. ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ 13,200 บาท
รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
LTF 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันสังคมไม่เกิน 9,000 บาท
ลงทุน start-up 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ท่องเที่ยวเมืองหลัก 15,000 บาท
ท่องเที่ยงเมืองรอง 20,000 บาท
(ตั้งแต่ 30 เม.ย.2562-30มิ.ย.2562 กฎกระทรวง 344)
แต่รวมกันไม่เกิน 20,000 บาท
อุปกรณ์การศึกษา/กีฬา 15,000 บาท
(ตั้งแต่ 1 พ.ค.2562-30 มิ.ย.2562 กฎกระทรวง 345)
OTOP 15,000 บาท
(ตั้งแต่ 30 เม.ย.2562-30 มิ.ย.2562 กฎกระทรวง 346)
ช้อปช่วยชาติ 15,000 บาท
(ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562-16 ม.ค. 2562) ยางรถยนต์/หนังสือ/OTOP
หนังสือ/e-book 15,000 บาท
(เมื่อรวมกับปี 2561 แล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท ตั้งแต่ 1 ม.ค.2562-31 ธ.ค. 2562 กฎกระทรวง 347)
ค่าลดหย่อนซ่อมน้ำท่วม (กฎกระทรวง 342, 354)
วันที่ 3 ม.ค.2562-31 มี.ค.2562 (พายุปาบึก)
วันที่ 29 ส.ค.2562-30 พ.ย. 2562 (พายุโพคุล/คาจิกิ)
ซ่อนบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท
ซ่อมรถ ไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนเพื่อที่อยู่อาศัย (กฎกระทรวง 313, 348)
บ้านหลังแรก (2558-2559) 120,000 บาท
บ้านหลังแรก (2562) 200,000 บาท
ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
โรงพยาบาล/การกีฬา 2 เท่าของที่จ่ายจริง
การศึกษา (ผ่านระบบ e-Donation) 2 เท่าของที่จ่ายจริง
บริจาคอื่น ๆ เท่าที่จ่ายจริง
////////////////////////////////////////////////
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90
ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากรหลายประเภทหรือประเภทเดียว (แต่มิใช่เงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว) ในปีภาษี 2562 ตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
2. ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
3. กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
5. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
6. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
สูตรหรือวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(1) เงินได้พึงประเมิน (ที่ไม่ได้รับยกเว้น) - ค่าใช้จ่ายตามกฎหมายกำหนด (ต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนดแต่ละประเภทเงินได้)
(2) นำ (1) - ค่าลดหย่อน (ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้, ลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้, ลดหย่อนบุตร, ลดหย่อนบิดามารดาผู้มีเงินได้, ลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้, ลดหย่อนตามนโยบายรัฐบาล ฯลฯ)
(3) นำ (2) มาหักกับเงินบริจาค (ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ (2))
คำนวณแล้วมีภาษีชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สามารถแบ่งชำระเป็น 3 งวด ๆ เท่า ๆ กัน ดังนี้
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563
งวดที่ 2 ชำรภายในวันที่ 30 เมษายน 2563
งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
ค่าลดหย่อน มีอะไรบ้าง ?
1. ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
2. คู่สมรส 60,000 บาท (ไม่มีเงินได้)
3. บุตร
3.1 บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท (บุตรดังกล่าวตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี พ.ศ.2561 ให้หักเพิ่มอีกคนละ 30,000 บาทโดยการนับลำดับบุตรให้นับลำดับของบุตรทุกคนไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม
3.2 บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
3.3 กรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้ง 3.1 และ 3.2 ให้นำบุตร 3.1 ทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรตาม 3.2 มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม 3.1 ที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนสามคนขึ้นไป จะนำบุตรตาม 3.2 มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม 3.1มีจำนวนไม่ถึงสามคนให้นำบุตรตาม 3.2 มาหักได้ โดยเมื่อรวมกับบุตรตาม 3.1 แล้วต้องไม่เกินสามคน
**ให้หักได้เฉพาะบุตรมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย (ถึงปริญญาเอก)
ข้อมูลสรุปจาก สท.อ่างทอง