กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติ เป็นไทย "และการได้มีสัญญาติไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยตาม
กฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน พ.ศ.๒๕๐๘
บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ
๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)
๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า
๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด
๒.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไป
เรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑
การลงบัญชีทหารกองเกิน
ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน(ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของเตน ภายใน พ.ศ.นั้น(ตั้งแต่ ๑ ม.ค.- ๓๑ ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารในพ.ศ.๒๕๔๑ ผู้ใดไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน(ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้นถือว่าหลี่กเลี่ยงขัดขืนทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ ๑ ม.ค. ของปีถัดไป
๑. การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติ ดังนี้
กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน)
การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน(แบบ สด.๙)ให้เป็นหลักฐาน
๒. การลงบัญชีทหารกองเกินแทน ผู้ใดมีความจำเป็นไม่สามารถไปลงบัญชีทหารด้วยตนเองได้ต้อง ให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน โดยปกติจะเป็นบิดา มารดา หรือพี่ ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่กระชั้นวันหมดเขตระยะเวลาลงบัญชี(ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็นดังนี้
๒.๑ ป่วย
๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับ หรือ มีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับเลยกำหนดเวลาการรลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว
๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่
บุคคลซึ่งยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปลงบัญชีทหารทุกคนตามกฏหมาย จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนไมได้ ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารด้วยตนเองเพราะมีความผิดปกติขึ้นแล้ เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกิอแล้วทางอำเภอจะออกใบสำคัญ(แบบ สด.๙)
ให้ไว้เป็นหลักฐานต่อไป เมื่อมีประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ก็ย่อมทำได้ โดยแจ้งต่อนายอำเภอ (สัสดีอำเภอ) ท้องที่ที่ตนเองเข้ามาอยู่นั้น (โดยไม่ต้องแจ้งย้ายที่อำเภอเดิม) การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารให้กระทำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย่ายทะเบียนเข้ามาอยู่ในท้องที่ใหม่โดยนำใบสำคัญ(แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) กับทะเบียนบ้านไปประกอบหลักฐานการแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารด้วย
อนึ่ง ถ้าได้รับในอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล พร้อมก้บใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือ หนังสือสำคัญ(แบบ สด.๘) ไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตเพื่อแก้หลักฐานให้ถูกต้อง เมื่อได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในอำเภอที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
ข้อมูลจาก
http://fahstudentland.blogspot.com