แพทย์เตือน ดื่ม"น้ำเกรพฟรุ๊ต"พร้อม"ยา 43 ชนิด" อาจอันตรายถึงชีวิต

29 พ.ย. 2555 เวลา 08:20 | อ่าน 4,947
 
รายงานการศึกษาชิ้นล่าสุดระบุว่า คนทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายของการรับประทานยาบางประเภทร่วมกับ"เกรพฟรุ๊ต" ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการ"โอเวอร์โดส"ได้

images by free.in.th

การรับประทานหรือดื่มน้ำ"เกรพฟรุ๊ต"อาจส่งผลให้เกิดอาการโอเวอร์โดสหรือการเพิ่มระดับของยาในเลือด เนื่องจากน้ำดังกล่าวจะมีฤทธิ์ทำให้ยาไม่แตกตัวในลำไส้และตับ และนักวิจัยที่สังเกตเห็นการเชื่อมโยงดังกล่าวเตือนว่า ชนิดของยาที่เป็นอันตรายกับน้ำเกรพฟรุ๊ตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว



สถาบันวิจัยสุขภาพลอว์สันจากมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งเปิดเผยรายงานดังกล่าวในวารสารสมาคมการแพทย์แคนาดา เปิดเผยว่า ชนิดของยาที่มีผลข้างเคียงในระดับรุนแรงต่อน้ำเกรพฟรุ๊ต เพิ่มขึ้นจาก 17 ชนิด ในปี 2008 เป็น 43 ชนิด ในปี 2012



โดยประเภทของยาที่มีผลข้างเคียงในระดับอันตราย อาทิ ยาลดความดันเลือดสูง ยามะเร็ง และยาลดระดับคอเลสเตอรอล หรือยาที่ใช้เพื่อกดระบบภูมิต้านทาน หลังจากเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ



สารเคมีในผลเกรพฟรุ๊ต หรือ"furanocoumarins" จะเป็นตัวขจัดเอ็นไซม์ที่มีหน้าที่ทำให้ยาแตกตัว ซึ่งหมายความว่าจะมียาจำนวนมากที่ไม่ถูกดูดซึมผ่านระบบการย่อยอาหารที่สะสมในเลือดใรนระดับมากกว่าที่ร่างกายจะจัดการได้

โดยมีรายงานว่า ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำเกรพฟรุ๊ตหนึ่งแก้ว พร้อมกับยา felodipine ซึ่งเป็นหนึ่งในยาลดความดัน ส่งผลให้มีระดับยาสูงสุดในพลาสมาสูงกว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำเปล่าถึง 3 เท่า


ขณะที่ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับประเภทของยา ซึ่งรวมถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ไตเสียหายเฉียบพลัน หรือเสียชีวิต

ดร.เดวิด ไบลีย์ หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าวว่า การทานยาหนึ่งเม็ดร่วมกับน้ำเกรพฟรุ๊ตหนึ่งแก้ว อาจส่งผลให้เกิดอาการคล้ายการทานยา 5 หรือ 10 เม็ดพร้อมกันพร้อมน้ำหนึ่งแก้ว และคนส่วนใหญ่มักไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากการขาดการให้ความเข้าใจต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีอาการปกติ อาจมีอาการถึงขึ้นเสียชีวิต เพียงเพราะกินยาและน้ำดังกล่าวพร้อมกัน

นอกจากนั้น การรับประทานส้มที่เรียกว่า Seville orange ที่มักเป็นส่วนประกอบในการทำน้ำมะนาว รวมถึงมะนาวบางประเภทยังอาจส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน

ผู้เชี่ยวจากชาญสมาคมเภสัชศาสตร์อังกฤษเปิดเผยว่า เกรพฟรุ๊ตไม่ได้เป็นอาหารประเภทเดียวที่ก่อให้เกิดอันตรายเท่านั้น แต่ในบางกรณี นมสดก็อาจยับยั้งการดูดซึมยาปฏิชีวนะบางประเภทได้ หากดื่มพร้อมกัน

ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ www.matichon.co.th วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 08:00:53 น.


29 พ.ย. 2555 เวลา 08:20 | อ่าน 4,947
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 เมษายน 2568
76 20 เม.ย. 2568
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
126 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
24 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
116 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
38 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
437 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
127 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
161 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
186 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
60 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...