รถยนต์คันแรกของโลก Benz Patent Motor Wagen : รถคันแรกของโลกมี 3 ล้อ!!

4 ธ.ค. 2555 เวลา 12:07 | อ่าน 4,987
แชร์ไปยัง
L
 
รถยนต์คันแรกของโลก Benz Patent Motor Wagen : รถคันแรกของโลกมี 3 ล้อ!!
Benz นำเครื่องยนต์หนึ่งแรงม้ามาใส่ในจักรยาน?เป็นหัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์ Neue Badische Landeszeitung(หนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายในแคว้น Baden ทางตอนใต้ของเยอรมนี)ฉบับวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1886 บทความดังกล่าวเขียนไว้ว่า

มันได้เรียกความ สนใจอย่างมากจากเพื่อน ๆ ที่ยังคงใช้รถจักรยานสองล้ออยู่ ยิ่งได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังจะเป็นก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่นี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Benz & Cie. บริษัทในท้องถิ่นที่เป็นผู้ผลิตจักรยานแบบสามล้อ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นบริษัทที่ทำการผลิตเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์นี้มีกระบอกสูบเพียง 9 เซนติเมตรและถูกติดตั้งไว้บนขดสปริงเหนือเพลาระหว่างสองล้อหลัง ผลิตกำลังได้เกือบ ๆ จะหนึ่งแรงม้า รอบเครื่องยนต์หมุน 300 รอบภายในหนึ่งนาที รูปร่างของรถคันนี้ก็ไม่ได้แตกต่างหรือใหญ่โตกว่ารถจักรยานแบบสามล้อทั่วไป อย่างไรก็ตามจากรูปลักษณ์ก็ดูคล่องแคล่วไม่ใช้น้อย และสร้างความประทับใจเมื่อแรกเห็นเป็นอย่างมาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะได้รับความนิยมอย่างมากต่อไปรวมไปถึงการปรับปรุงให้ ใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมและจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานสำหรับแพทย์, นักเดินทาง, นักกีฬาและอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตอันใกล้


โดยตัวของผู้เขียนบทความกล่าวดังกล่าวน่าจะเป็นพวกผู้ชื่นชอบกีฬาที่ต้องใช้ ยาน พาหนะเป็นส่วนประกอบ เพราะกีฬาที่อาศัยการหมุนของล้อกลม ๆ เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามเขาก็เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลไม่ใช่น้อยเพระเขามี ความเชื่อมั่นและมีโอกาสสัมผัสกับความพิเศษของยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ น้ำหนักเบาและเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขณะนั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1886 นักข่าวคนเดียวกันได้รายงานไว้ว่า?เครื่องยนต์เบนซินที่ออกแบบและผลิตโดย Rheinische Gasmotorenfabril Benz & Cie. ซึ่งเป็นหัวข้อข่าวไปเมื่อหลายอาทิตย์ก่อนถูกทดสอบเช้าวันนี้ที่ Ringstrbe และผลการทดสอบเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างมาก

เบนซ์มีงานอดิเรกที่ชื่นชอบจักรยานมาก ดังนั้นงานอดิเรกชิ้นนี้จึงได้นำพาเขาไปรู้จักกับเจ้าของร้านซ่อมจักรยานใน เมืองมานน์ไฮม์ คือ Max Rose และ Friedrich Wilhelm Eßlinger ซึ่งในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1883 คาร์ล เบนซ์ ร่วมกับหุ้นส่วนอีก 2 คน คือ Max Rose และ Friedrich Wilhelm Eßlinger ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทใหม่ที่ผลิตเครื่องจักรทางอุตสาหกรรมที่ชื่อ Benz & Company Rheinische Gasmotoren-Fabrik ขึ้นที่เมืองมานน์ไฮม์ ซึ่งมักเป็นที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า Benz & Cie และบริษัทนี้ก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว มีพนักงานทั้งสิ้น 25 คน และต่อมาไม่นานก็ผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน

การตั้งบริษัทใหม่เปิดโอกาสให้เบนซ์ได้สานต่อความฝันที่จะสร้างยานพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยปราศจากม้าลาก และในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เดมเลอร์สร้างเครื่องยนต์ที่ไปใช้กับทั้งจักรยานยนต์และรถยนต์ที่มี 4 ล้อเป็นครั้งแรก คาร์ล เบนซ์ ก็กำลังอยู่ในช่วงเวลาของการพัฒนารถยนต์ 3 ล้อ ซึ่งต่อมาได้รับการรับรองว่าเป็น "รถยนต์" ที่ แท้จริงคันแรกปรากฏต่อสาธารณชน จากประสบการณ์และความชื่นชอบในจักรยาน เขาใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันกับการสร้างจักรยานเพื่อสร้างรถยนต์ที่มี เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ออกแบบให้อยู่ระหว่างล้อหลังทั้งสองล้อ โดยเขาได้ทดลองใช้กับรถสามล้อนับเป็นรถยนตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในคันแรกของโลก รถ 3 ล้อ ของเบนซ์ เป็นรถยนตร์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์ เขาสร้างเจ้าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1885 และเรียกมันว่า “Benz Patent Motorwagen” ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “รถยนตร์” อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงมีหลายคนถือว่า คาร์ล เบนซ์ เป็นผู้คิดค้นรถยนตร์ได้เป็นผลสำเร็จ และรถยนตร์คันแรกของโลกซึ่งมี 3 ล้อ

Motorwagen ในปี ค.ศ. 1885 ดูจะสร้างความตื่นเต้นให้กับสาธารณชน การทดสอบรถนั้นดึงดูดผู้เห็นเหตุการณ์ให้เข้ามารุมหัวเราะและล้อเลียนรถ ยนตร์ของเขา เมื่อมันชนโครมกับกำแพง เพราะการทดลองใช้ช่วงแรกๆ นั้นยังมีปัญหาเรื่องการควบคุมรถ และเจ้า Motorwagen ได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1886 และได้จดทะเบียนสิทธิบัตรหมายเลข DRP no. 37435 ที่ออกให้โดยสำนักงาน Imperial Patent Office สิทธิบัตรฉบับนี้ก็คือ “สูติบัตร” ของรถที่คาร์ล เบนซ์ เป็นผู้ให้กำเนิดนั่นเอง

เบนซ์ได้พัฒนายนตรกรรมคันแรกของโลกที่ผลิตภายใต้แนวคิดแบบองค์รวม โดยมีการนำตัวยานพาหนะ และ เครื่องยนต์มาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างระบบเครื่องจักรกลอันมี ประสิทธิภาพที่น่าทึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก น้ำหนักโดยรวมของรถอยู่ที่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัม เฉพาะเครื่องยนต์อย่างเดียวก็หนักเกินกว่า 100 กิโลกรัม จึงทำให้ยนตรกรรมจากเบนซ์คันนี้มีน้ำหนักเบาเป็นอย่างมาก ระบบขับเคลื่อนก็มีความทันสมัยอย่างยิ่งในขณะนั้น ด้วยห้องเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในของเครื่องยนต์เป็นแบบสูบเดียว 4 จังหวะที่ติดตั้งในแนวนอนช่วยสร้างศักยภาพในการระบายความร้อนตามแบบ Thermosyphon และระบบการหล่อลื่นในแบบ drip lubrication

โครงสร้างของตัวถังทำจากเหล็กที่ตัดเชื่อมให้โค้งงอเข้ารูป และด้วยเหตุที่เป็นรถยนตร์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังในกรณีเช่นที่ต้องเข็นรถจากทางด้านหลัง เบนซ์เกรงว่าจะเกิดปัญหาให้กับระบบพวงมาลัยซึ่งมีระบบที่แตกต่างไปจากยานพาหนะที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เขาจึงตัดสินใจให้รถยนตร์คันแรกของมีเพียงสามล้อเท่านั้น โดยที่ล้อหน้าติดตั้งในลักษณะเหมือนกับล้อรถจักรยานและควบคุมการเคลื่อนที่ด้วยแรงดึงจากเฟืองซึ่งเชื่อมต่อกับข้อเหวี่ยง

เบนซ์ได้ผลิตล้อแบบซี่ลวดและยางตันด้วยตัวของเขาเองมีเพียงขอบล้อเท่านั้นที่เป็นแบบ outsourced ล้อหน้าทำงานด้วยลูกปืนล้อส่วนล้อหลังมีปลอกทำด้วยดีบุกหุ้มป้องกันการเสียดสี ขับ เคลื่อนด้วยโซ่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขับเคลื่อนเพลาถ่วงดุลน้ำหนักเบาที่ล้อ หลัง ซึ่งจะส่งผลต่อตัวรถเช่นเดียวกับเพลาหลังแบบแข็งและสปริงรูปไข่

รถยนต์คันแรกของโลกมีเพียงเกียร์เดียวและไม่มีเกียร์ถอยหลัง ความเร็วที่ใช้ในการขับเคลื่อนได้มาจากเพลาถ่วงดุลที่ประกอบด้วยจานขับตัวหลักและเฟืองขับพร้อมทั้งตัวควบคุมรอบเดินเบา ลิ้นเปิดปิดควบคุมการทำงานระหว่างเครื่องยนต์กับเพลาถ่วงดุลทำหน้าที่เช่นเดียวกับคลัทช์ การสตาร์ทเครื่องยนต์ทำโดยหมุนสายพานที่อยู่ระหว่างจานที่ควบคุมรอบเดินเบากับจานขับหลัก ความเร็วที่ใช้ขึ้นอยู่กับการควบคุมของปลอกลูกเลื่อนที่อยู่ใต้เบาะที่นั่งคนขับ

และในปีถัดมาเบนซ์ก็สร้าง Motorwagen Model 2 ที่ได้รับการปรับปรุงหลายอย่าง และในปี ค.ศ. 1887 Model 3 ที่ สมบูรณ์แบบขั้นสุดท้ายที่มีล้อทำจากไม้ก็เผยแพร่สู่สาธารณชน เบนซ์มีความภูมิใจกับรถรุ่นที่ 3 มาก ถึงกับโฆษณาถึงรุ่นนี้ว่าเป็นรถยนตร์ที่นั่งสะดวกสบาย และเป็นรถที่มีสมรรถนะที่สามารถขึ้นเขาได้ รถถูกออกแบบให้มีทรงกระทัดรัดแบบ 3 ล้อที่เบนซ์ออกแบบมาเพื่อความประหยัด โดยละเว้นสิ่งตกแต่งที่สวยงาม สมัยก่อนรถยนต์ยุคแรกๆ จะแสดงให้เห็นชิ้นส่วนและการทำงานภายใน แต่ต่อมาเบนซ์ได้ออกแบบตัวถังให้ปกปิดส่วนต่างๆ ให้มิดชิดขึ้น มีล้อ 4 ล้อ ที่ถูกออกแบบมาเป็นแนวตั้งตรง เพราะผู้สร้างคิดว่าแนวตรงนี้ จะทำให้รถเลี้ยวด้วยความมั่นใจและปลอดภัยในการเกาะถนนและการทรงตัว


รถคันนี้โชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เมอร์เซเดส- เบนซ์ ณ เมืองสตุ๊ตต์การ์ตขณะนี้นั้นเป็นแบบจำลองจากของจริงที่ คาร์ล เบนซ์ผลิต เพราะเขาได้อุทิศให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในเมืองมิวนิค เมื่อปี 1906


ปีที่ผลิต 1886
กำลังเครื่องยนต์ 0.55 กิโลวัตต์ (0.75 แรงม้า) ที่ 400 รอบต่อนาที
ความจุกระบอกสูบ 954 cc
ช่วงชักกระบอกสูบ 91.4 x 150 มิลลิเมตร
ความเร็วสูงสุด 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง
น้ำหนัก 265 กิโลกรัม

ขอขอบคุณ http://www.thainn.com/blog.php?m=jeab101&d=8414 http://www.vikrom.net
ข้อมูลจาก http://historyoffirst.blogspot.com


4 ธ.ค. 2555 เวลา 12:07 | อ่าน 4,987


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รองนายกฯสมศักดิ์-กฤษฎา-อนุชา ถก คณะทำงานโครงการโคแสนล้าน ได้ข้อยุติ ธ.ก.ส.ให้อัตราดอกเบี้ย 4.5% ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ชี้ วัวเป็นหลักประกันได้ เตรียมนำข้อสรุปชงคณะรัฐมนตรี
59 27 มี.ค. 2567
ครม.เห็นชอบ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน
100 27 มี.ค. 2567
สมศักดิ์ เผย ยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. คืบหน้าแล้ว ล็อตแรกนำร่อง 20 ฉบับ จ่อชงคณะรัฐมนตรี เคาะ เม.ย.นี้ ย้ำ หากหน่วยงานมีความเห็นให้ยกเลิกเพิ่ม ก็จะตามไปในล็อตสอง
15 26 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาลเชื่อมั่นรายได้ชาวนาปีนี้เพิ่มแน่ เป็นไปตามความตั้งใจรัฐบาลสร้างรอยยิ้มให้ชาวนา
9 26 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 มีนาคม 2567
309 24 มี.ค. 2567
สธ.จ่อหารือ ก.พ.เพิ่มความก้าวหน้า “เภสัชกร” เลื่อนไหลเป็น “ชำนาญการพิเศษ” ได้ทุกตำแหน่ง
609 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือโดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล แนะห้ามกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน APP Store หรือ Play Store
717 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก อำนวยความสะดวกผู้ขายและผู้ซื้อ ผ่านเว็บไซต์
442 23 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2567
861 17 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาล เผย ผลงานนายกฯ ดันราคายางสูงขึ้นทะลุ 90 บาท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี
46 13 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน