โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคความผิดปกติของการนอนหลับชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตลอดชีวิต

25 ส.ค. 2563 เวลา 07:26 | อ่าน 878
 

มีผู้ที่เป็นโรคนี้ประมาณ 1 ใน 2,000 คน ผมพบด้วยตัวเอง 4 คน สาเหตุยังไม่ทราบ โรคลมหลับ อันตรายถ้าไม่ได้รับการรักษา


โรคลมหลับ (Narcolepsy)

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 19 ปีเพิ่งประสบอุบัติเหตุจากหลับในครั้งแรกเมื่อ 5 เดือนก่อน วันนั้นกำลังขับรถกลับบ้าน อยู่ๆง่วงมาก เผลอหลับ รถวิ่งข้ามเกาะกลาง ชนกับรถเเท็กชี่ก่อน แล้วเสียหลักชนร้านก๋วยเตี๋ยวอย่างแรง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต และผู้ป่วยไม่เป็นอะไร (ดูรูป)
ผู้ป่วยมีประวัติง่วงมากผิดปกติ เริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 7-8 ขวบ ตอนเรียนชั้นประถม คุณครูเคยถามคุณพ่อคุณแม่ว่า อดนอนหรือเปล่า ทำไมนั่งงีบหลับในห้องเรียนทุกชั่วโมง ผู้ป่วยนอนหลับเพียงพอ นอนเต็มอิ่ม แต่ตื่นขึ้นมาก็ไม่สดชื่นยังง่วง ต้องเผลอหลับทุกวัน ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่กินยาประจำ ตรวจร่างกายปกติ ไม่อ้วน ทำคอมพิวเตอร์สมองปกติ เข้ารับการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการการนอนหลับในโรงพยาบาล ไม่พบโรคนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ พบคลื่นสมองเปลี่ยนเป็นหลับฝัน (REM sleep) 1 นาทีหลังจากเริ่มหลับ คนปกติคลื่นสมองจะเปลี่ยนเป็นหลับฝันต้องใช้เวลาประมาณ 90 นาที
หลังจากที่ผู้ป่วยนอนหลับเต็มอิ่มแล้วเช้าวันรุ่งขึ้นทำการตรวจการนอนหลับตอนกลางวันเป็นช่วงๆในห้องปฏิบัติการ (Multiple sleep latency test)โดยให้ผู้ป่วยพยายามงีบหลับทุก 2 ชั่วโมง 5 รอบตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ถ้าหลับจะอนุญาตให้งีบหลับได้เพียง 15 นาทีแล้วถูกปลุกให้ตื่น ขณะงีบหลับมีการตรวจคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และการกลอกตา ผู้ป่วยหลับง่ายได้ทั้ง 5 รอบ ใช้เวลาไม่ถึง 4 นาทีจากดับไฟจนกระทั่งเริ่มหลับ และคลื่นสมองเปลี่ยนเป็นหลับฝัน (REM sleep) 3 รอบในเวลาไม่ถึง 3 นาที ซึ่งถือว่าผิดปกติ เข้าได้กับโรคลมหลับ


โรคลมหลับ (Narcolepsy)

โรคลมหลับไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาบางชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ ยารักษาโรคลมหลับที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ ยากระตุ้นให้ตื่น เช่น โมดาฟินิล (Modafinil) มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับตื่นในเวลากลางวัน หลังกินยากระตุ้นให้ตื่นทุกวันตอนเช้า อาการง่วงนอนจะดีขึ้น ไม่หลับง่ายเหมือนแต่ก่อน เน้นห้ามขับขี่ กรมการขนส่งทางบกต้องบรรจุโรคลมหลับเป็นอีก 1 โรคที่ห้ามขับขี่ถ้ายังไม่ได้รับการรักษา เพราะอันตรายต่อทั้งคนขับและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน


หลับในเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนอเมริกันจากอุบัติเหตุทางถนนถึงร้อยละ 21 สำหรับคนไทยผมเชื่อว่าหลับในเป็นสาเหตุการตายมากถึงร้อยละ 30 ของอุบัติเหตุจราจร หรือกว่า 6 พันคนต่อปี แต่ถูกมองข้าม สาเหตุหลักของหลับในเกิดจากนอนหลับไม่เพียงพอ สาเหตุรองเกิดจากกินยาที่ทำให้ง่วงเช่นยาแก้แพ้ แก้หวัด รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ แต่ถ้านอนพอเพียงแล้วยังง่วง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ ส่วนน้อยเกิดจากโรคลมหลับ
ช่วยกันเตือนคนที่เรารัก ง่วงรีบจอด ฝืนขับ อาจหลับใน



ข้อมูลจาก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC

25 ส.ค. 2563 เวลา 07:26 | อ่าน 878
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 เมษายน 2568
75 20 เม.ย. 2568
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
122 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
24 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
112 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
38 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
433 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
126 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
157 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
183 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
60 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...