วัคซีนกับผู้สูงอายุ

6 ม.ค. 2564 เวลา 18:22 | อ่าน 610
แชร์ไปยัง
L
 
วัคซีนกับผู้สูงอายุ

เมื่อกล่าวถึงการให้วัคซีน ภาพที่คนทั่วไปคุ้นเคยมักจะเป็นการให้วัคซีนในเด็กเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ เนื่องจากวัคซีนช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันกับโรคติดเชื้อหลายชนิด จึงป้องกันเด็กจากโรคภัยเหล่านั้นได้ แต่ประโยชน์ของวัคซีนไม่ได้จำกัดอยู่แค่วัยเด็กเท่านั้น ในวัยสูงอายุก็มีประโยชน์ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อได้เช่นกัน บทความนี้จึงเขียนเพื่อเชิญชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนกับผู้สูงอายุเพื่อให้ทุกท่านเห็นความสำคัญของวัคซีนมากขึ้น


วัคซีนคืออะไร


วัคซีน คือ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทำจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้อ่อนกำลังอย่างมากหรือทำให้ตายหรือสกัดบางส่วนของเชื้อ เพื่อนำมาให้เข้าสู่ร่างกาย หวังผลให้กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันและส่งผลให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้รวดเร็วหลังจากมีภูมิคุ้มกันแล้ว


ประโยชน์ของวัคซีนในผู้สูงอายุ


เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของภูมิคุ้มกันก็มีความเสื่อมถอยลงด้วย ผู้สูงอายุจึงเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อมากขึ้น เมื่อเกิดโรคติดเชื้อมักจะหายช้าหรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนจึงได้ประโยชน์อย่างมาก เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยที่อาจจะยาวนานและรุนแรง


วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุมีวัคซีนใดบ้าง


1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไปอาจจะทำให้เป็นไข้, ไอ, ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงอาการจะหายเองในเวลา 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล วัคซีนนี้จึงมีประโยชน์มาก โดยในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ที่มีแนวโน้มจะระบาดมาผลิตเป็นวัคซีนประจำฤดูกาล เนื่องจากในแต่ละปีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่อาจจะมีการเปลี่ยนสายพันธุ์และในทุกปี ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ลดลงด้วย การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลทุกปีจึงช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่


* ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเป็นประจำ ปีละ 1 ครั้ง

2. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส

โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Pneumococcal disease) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยเชื้อจะติดต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสเชื้อเข้าสู่เยื่อบุจมูกหรือลำคอ หากเกิดการติดเชื้อจะก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน ทำให้ไอมีเสมหะ หอบเหนื่อย มีไข้ และหากเชื้อรุกรานมากขึ้นจะกลายเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแบบรุนราน (Invasive pneumococcal disease) หมายถึง เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิตหรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ


ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแบบรุนรานได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว การรับวัคซีนดังกล่าวจึงมีประโยชน์ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้



* สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสชนิด 13 สายพันธุ์ (PCV-13) 1 ครั้ง และฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสชนิด 23 สายพันธุ์ (PPSV-23) 1 ครั้ง ห่างกัน 1 ปี


สำหรับผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้วให้พิจารณาฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสชนิด 23 สายพันธุ์ กระตุ้น 1 ครั้งเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป


3. วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส ซึ่งเชื้อเหล่านี้มักแฝงตัวโดยไม่ก่ออาการในปมประสาทบริเวณใกล้ไขสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันที่ลดลงจะทำให้เชื้อเหล่านี้ ออกมาจากปมประสาทและเกิดการอักเสบตามแนวเส้นประสาท ทำให้เกิดตุ่มน้ำที่ผิวหนังและมีอาการแสบร้อน แม้ตุ่มน้ำจะหายแล้ว อาการแสบร้อนยังคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนโรคงูสวัดในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว


* ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเพียง 1 ครั้ง เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป

4. วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก

วัคซีนนี้ได้รวมวัคซีนสำหรับโรครุนแรง 2 โรค ประกอบด้วย


- โรคคอตีบ เป็นโรคคออักเสบรุนแรงจากแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อนี้จะสร้างแผ่นเยื่อขาวเกาะอยู่ที่คอหอย ทำให้เสียชีวิตจากทางเดินหายใจอุดกั้นหรือเสียชีวิตจากสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและปลายประสาทอักเสบ


- โรคบาดทะยัก เกิดจากสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อนี้จะเจริญเติบโตได้ในบาดแผลลึกหรือแผลเน่าเปื่อยและสร้างสารพิษปล่อยเข้ากระแสโลหิต ทำให้เกิดภาวะชักเกร็งกล้ามเนื้อไม่ทำงานและหยุดหายใจได้


บุคคลที่เกิดหลัง พ.ศ. 2520 มักจะได้รับการฉีดวัคซีนดังกล่าวในวัยเด็กแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันของวัคซีนนี้มีการลดลงตามวัย ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเมื่อสูงอายุขึ้น โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข้อมูลการระบาดของโรคคอตีบและบาดทะยักในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จึงควรกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนทุก 10 ปี เพื่อความปลอดภัย


* ควรฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก กระตุ้นทุก 10 ปี

วัคซีนมีผลข้างเคียงหรือไม่

ผลข้างเคียงจากวัคซีนมักเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงและไม่ได้เกิดกับทุกคน ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น อาการปวดบริเวณที่ฉีดยา หรือมีไข้ต่ำ เป็นต้น อาการเหล่านี้มักจะหายได้เองในเวลา 1-2 วัน


อย่างไรก็ตาม หากกำลังมีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน แนะนำว่าควรให้หายดีแล้วจึงมารับวัคซีนในภายหลังเพื่อความปลอดภัย


มีข้อจำกัดในผู้มีโรคประจำตัวหรือไม่

โดยทั่วไปผู้ที่มีโรคประจำตัวสามารถรับวัคซีนได้และได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน แต่หากมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือรับประทานยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อพิจารณารับเฉพาะวัคซีนชนิดไม่มีเชื้อหรือวัคซีนเชื้อตาย และหลีกเลี่ยงวัคซีนที่มีเชื้ออ่อนกำลัง เพราะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อจากวัคซีนที่มีเชื้ออ่อนกำลังได้ หากท่านไม่มั่นใจว่าโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ทำให้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลประจำก่อนรับวัคซีนเพื่อความมั่นใจ


ความพร้อมของศิริราช

ผู้สูงอายุที่มารับการรักษาเป็นประจำที่ รพ.ศิริราช อยู่แล้ว สามารถสอบถามเรื่องวัคซีนจากแพทย์ที่รักษาโรคประจำตัวได้โดยตรง หรือหากท่านไม่ได้มีนัดหมายเป็นประจำแต่ต้องการปรึกษาเรื่องวัคซีน สามารถติดต่อได้ที่ “หน่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ที่ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 4 ห้อง 433 เปิดบริการวันจันทร์ -ศุกร์ เวลา 7.00-15.30 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์


กรณีที่มีบัตรประจำตัวโรงพยาบาลศิริราชอยู่แล้ว สามารถติดต่อลงทะเบียนล่วงหน้าด้วยตนเองที่ห้อง 433 ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 4 หรือนัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 2419 7387 ในช่วงเวลา 13.00-15.30 น. อย่างน้อย 3 วันทำการ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำนัดหมายเพื่อมารับวัคซีน โดยวันที่ท่านจะมารับวัคซีน แนะนำให้ใส่เสื้อแขนสั้นเพื่อความสะดวกในการฉีดวัคซีน




สาขาวิชาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

6 ม.ค. 2564 เวลา 18:22 | อ่าน 610


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
17 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
193 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
449 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
488 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
425 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
464 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
774 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,410 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
85 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
111 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน