เกียร์ไหนดี
สถานการณ์
“รถติด” พบเจอบ่อยๆ ในเมืองไทย เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงยาก ไม่ว่าจะลัดเลาะไปเส้นทางไหนก็หนีไม่พ้นการติดแหง็กอยู่บนท้องถนน 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง แล้วแต่สภาพการจราจร อากาศ และจำนวนรถบนท้องถนน
สถานการณ์
“รถติด” พบเจอบ่อยๆ ในเมืองไทย เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงยาก ไม่ว่าจะลัดเลาะไปเส้นทางไหนก็หนีไม่พ้นการติดแหง็กอยู่บนท้องถนน 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง แล้วแต่สภาพการจราจร อากาศ และจำนวนรถบนท้องถนน
หลายคนยังทำตัวไม่ถูกเมื่อต้องเจอเหตุการณ์การจอดนิ่งเป็นนานๆ เวลารถติด ควรใช้หรือไม่ใช้เกียร์ไหน จะได้ประหยัดน้ำมัน ไม่เสี่ยงรถพังหรือเกิดไหลไปชนรถคันอื่น เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ ลองนำเทคนิคเหล่านี้ลองไปใช้ในเหตุการณ์จริงดูครับ
ก่อนอื่นต้องประเมินสถานการณ์และดูจากสถานการณ์ว่ารถจะติดนานแค่ไหน
– ถ้าติดไฟแดงไม่ถึง 1 นาที หรือการจราจรเคลื่อยที่ช้าๆ สลับกันหยุดเป็นช่วงๆ เข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกไว้ได้
– ถ้าติดไฟแดงนานกว่า 1 นาที ควรเข้าเกียร์ N แล้ว ดึงเบรกมือขึ้น เพื่อป้องกันรถไหล
เมื่อรถติดไฟแดง ไม่ควรใส่เกียร์ P เด็ดขาด!!
*การเข้าเกียร์ P เป็นการล็อคชุดเกียร์ไว้ เมื่อถูกชนท้ายอาจทำให้ระบบเกียร์พัง และมีค่าซ่อมแพง
*การเปลี่ยนเกียร์ P มาเป็น D บางครั้งคนขับอาจไม่ทันระวังแล้วเข้าเกียร์ผิดเป็นเกียร์ R แทน เมื่อเหยียบคันเร่งรถจะวิ่งถอยหลังอาจทำให้ชนกับรถคันท้ายได้
เทคนิคการใช้เกียร์ออโต้ที่จะช่วยให้คุณประหยัดและปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น
– ตำแหน่ง P สำหรับใช้จอดรถบริเวณที่ลาดชันหรือจอดรถโดยไม่กีดขวางรถคันอื่น
– ตำแหน่ง R ใช้เวลารถถอยหลัง เป็นตำแหน่งที่อันตรายมากที่สุด เวลาใช้ให้เหยียบเบรกทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เพื่อให้รถค่อยๆ ถอยหลังช้าๆ
– ตำแหน่ง N เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้สำหรับการหยุดรถชั่วคราวหรือจอดรถในตำแหน่งที่กีดขวางเส้นทางจราจ
– ตำแหน่ง D ใช้เวลาขับรถเดินหน้าปกติ
– ตำแหน่ง 2 ใช้เมื่อขับรถขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมาก สามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร
– ตำแหน่ง L ใช้ความเร็วต่ำ สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก
ข้อมูลจาก kmotor