เรื่องน่ารู้ “หลังฉีดวัคซีน COVID-19”

16 พ.ค. 2564 เวลา 09:54 | อ่าน 808
แชร์ไปยัง
L
 
เรื่องน่ารู้หลังฉีดวัคซีน COVID-19


การฉีดวัคซีน COVID-19


ในประเทศไทยมีวัคซีนจากบริษัท AstraZeneca และ Sinovac ซึ่งทั้ง 2 วัคซีนมีประสิทธิภาพดีไม่ต่างกัน แต่สามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงหลังจากฉีดได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

1. อาการที่สามารถคาดเดาได้
- ปวด บวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีด

- ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้

ส่วนน้อยบางราย มีอาการไข้สูง ต้องนอนพัก 2-3 วัน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ส่งผลรุนแรงต่อร่างกาย เมื่อมีอาการ สามารถกินยาลดไข้ได้ตามปกติ


2. อาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้
- อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก มีทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง

- อาการที่แพ้รุนแรง ซึ่งมักจะพบได้ภายใน 30 นาที หลังฉีดวัคซีน เช่น หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มีผื่น ผื่นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้จะรุนแรงมาก หากเกิดหลังจากการฉีดวัคซีน 30 นาที


ดังนั้นควรสังเกตอาการหลังจากการฉีดวัคซีน COVID-19 ภายใน 30 นาที ในสถานพยาบาลที่ท่านรับการฉีด ซึ่งหากมีอาการแพ้เกิดขึ้น ก็สามารถทำการฉีดยาแก้แพ้ และให้การรักษาได้ทันที


หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ควรสังเกตอาการต่อที่บ้าน ซึ่งหากเกิดอาการหลังได้รับวัคซีนมากกว่า 30 นาที อาการมักไม่รุนแรง แต่จำเป็นต้องบันทึกความผิดปกติทุกอย่างที่พบหลังจากการฉีดวัคซีนลงใน Application หมอพร้อม


ผู้ที่มีประวัติการแพ้ สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่?

ม่ว่าจะมีประวัติแพ้อะไรก็ตาม แต่ไม่ได้แพ้วัคซีน COVID-19 สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้ตามปกติ หลังจากที่ฉีดวัคซีนแล้ว ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้รุนแรงในอดีต ก็สามารถมีอาการแพ้วัคซีน COVID-19 มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติแพ้ต่างๆมาก่อน แต่ก็ไม่จำเป็นว่าผู้ที่มีประวัติแพ้ต่าง ๆ จะแพ้วัคซีน COVID-19



ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ต่าง ๆ สามารถกินยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วงนอน 30 นาที - 1 ชั่วโมง ก่อนการรับวัคซีน COVID-19 ก็จะสามารถบรรเทาอาการแพ้เล็กน้อยไปได้

ส่วนผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หากติดเชื้อ COVID-19 แล้ว มักจะมีอาการรุนแรง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 และควรปรึกษาจากแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีด

ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่ ?

ผู้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 และมีอาการรุนแรง แต่ในปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน COVID-19 ในหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง อาจจะพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยวัคซีนบางตัวมีความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ แต่สำหรับวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยยังต้องการข้อมูลความปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์เพิ่มเติมก่อนที่จะอนุมัติให้ใช้ทั่วไป


สุดท้ายนี้หากท่านมีโอกาสได้รับวัคซีน COVID-19 ขอแนะนำให้รีบไปรับการฉีดวัคซีน COVID-19 เร็วที่สุด หากเราได้รับวัคซีน COVID-19 ครบแล้ว จะป้องกันอาการป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่หลังจากฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว ยังจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง เพราะอาจจะมีการติดเชื้อ แบบไม่มีอาการ และไม่รุนแรงเกิดขึ้นได้ จนกว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยจำนวนมาก หรือเกือบทั้งหมด จะได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว เราถึงจะถอดหน้ากากพร้อมๆ กันได้


วัคซีน COVID-19 กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดพร้อมกันได้หรือไม่ หรือควรฉีดอะไรก่อน ?


ไม่ควรรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับวัคซีน COVID-19 พร้อมกัน แนะนำควรฉีดห่างกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ หากสามารถเลือกฉีดวัคซีน COVID-19 ได้ก่อน ควรเลือกฉีดวัคซีน COVID-19 เป็นอย่างแรก หรือหากยังไม่สามารถได้รับวัคซีนในเร็วๆ นี้ แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไปก่อน



ผู้ที่เคยเป็น COVID-19 ยังต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่

ควรฉีดวัคซีน COVID-19 หลังจากหายป่วยจาก COVID-19 แล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน และฉีดเพียงเข็มเดียวก็เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้อยู่ยาวนาน




ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิกและอาจารย์สาขาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

16 พ.ค. 2564 เวลา 09:54 | อ่าน 808


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
7 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
169 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
335 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
383 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
383 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
420 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
734 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,391 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
76 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
95 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน