เมื่อผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่า โรคโควิด-19 น่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ที่วนเวียนมาทุกปี รัฐบาลจึงทุ่มงบประมาณกว่า 2,800 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ไทยผลิตวัคซีนใช้เองได้ในระยะยาว
แบ่งเป็นงบชุดแรก 1,810.68 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.63 จัดสรรให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ นำไปสนับสนุนการวิจัยแก่หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่
???? พัฒนาและผลิตวัคซีนแบบ DNA โดย บ.ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด 650 ล้านบาท
???? พัฒนาวัคซีนต้นแบบสำหรับเชื้อกลายพันธุ์ โดย สวทช. 200 ล้านบาท
???? ทดสอบวัคซีนที่ผลิตในประเทศ โดย บ.ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด 160 ล้านบาท
???? เตรียมโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติเป็นสถานที่ผลิต และห้องปฏิบัติการเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติ โดย ม.พระจอมเกล้าธนบุรี 562 ล้านบาท
???? เตรียมความพร้อมในการแบ่งบรรจุวัคซีน โดย องค์การเภสัชกรรม 156.8 ล้านบาท
???? ขยายศักยภาพการผลิตระดับอุตสาหกรรม โดย บ.องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด 81.88 ล้านบาท
ถัดมาคือ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปีงบประมาณ 2563 อีก 995.03 ล้านบาท หน่วยงานผู้รับทุน ได้แก่
???? ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 365 ล้านบาท
???? บ.สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด 596.24 ล้านบาท เพื่อผลิตและส่งมอบวัคซีนให้รัฐบาลในมูลค่าเท่ากับทุนที่ได้รับ
???? ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 33.79 ล้านบาท
โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนได้ มีความมั่นคงทางสุขภาพ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถขึ้นเป็นศูนย์กลางในการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนของภูมิภาคได้ในอนาคต