เส้นขาวบนถนน
การเดินทางบนท้องถนน การรู้กฎหมายและสัญลักษณ์ทางจราจรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากความปลอดภัยตัวเองแล้ว ยังเป็นการสร้างระเบียบวินัยในการขับขี่ ไม่ส่งผลกระทบและอันตรายต่อผู้อื่น ซึ่งลักษณะของเส้นขาวบนท้องถนนนั้นสำคัญ ซึ่งแต่ละแบบจะมีความหมายต่างกันออกไป
เส้นจราจร เส้นทึบสีขาวขนานกับเส้นประสีขาว
เส้นทึบสีขาว ขนานกับเส้นประสีขาว คือ เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน หมายความว่า รถที่อยู่ทางด้านเส้นทึบห้ามแซงหรือผ่านคร่อมเส้นทึบโดยเด็ดขาด ส่วนรถที่อยู่ทางด้านเส้นประ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยอนุญาตให้แซงขึ้นหน้ารถคันอื่นหรือข้ามเส้นดังกล่าวนี้ได้ด้วยความระมัดระวัง
เส้นจราจร สีขาวบนท้องถนนอื่นๆ ที่ต้องรู้ !!!
1. เส้นจราจรปกติสีขาว คือ ให้ขับด้านซ้าย สามารถเเซงได้เมื่อปลอดภัย
2. เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน เป็นเขตทางข้ามแยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ
3. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง เมื่อขับบนถนนเลนสวนกันที่พื้นจาจรใช้เส้นทึบเเบบนี้ ห้ามแซงหรือขับรถผ่านคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
4. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงคู่ เส้นทึบคู่สีขาว ขนานกัน คือ ห้ามรถทั้งสองฝั่งขับรถคร่อมเส้นและห้ามแซงเด็ดขาด
5. เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ เส้นประสีขาวกว้าง 10 ยาว 100 เว้นช่องห่าง 300 เซนติเมตร ห้ามขับคร่อมเส้นหรือทับเส้น เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถหรือกลับรถเมื่อปลอดภัย
6. เครื่องหมายเส้นแบ่งช่องเดินรถเตือน คือ เส้นแบ่งช่องเดินรถประเภทเตือนเป็นเส้นประสีขาวกว้าง 10 ยาว 300 เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร แสดงว่าใกล้ถึงเส้นแบ่งช่องเดินรถ ฉะนั้นห้ามแซงห้ามขับคร่อมเส้นช่องเดินรถ เว้นแต่เปลี่ยนช่องเดินรถ
7. เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง เป็นเส้นประสีขาวกว้าง 10 เซนติเมตร เมื่อเห็นเส้นนี้ห้ามแซงเด็ดขาด และห้ามขับรถคร่อมเส้นหรือกลับรถ
8. เส้นขอบทาง เป็นเส้นประสีขาวกว้าง 10 ยาว 30 เว้นช่องห่าง 60 เซนติเมตร ให้ขับรถในช่องจราจรด้านขวาของเส้น
9. เส้นเเนวหยุด เส้นขวางถนนสีขาวเส้นทึบ หมายถึง ต้องหยุดรถก่อนถึงเส้นขวางทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบจังหวะว่างของถนน หากมีคนรอข้ามถนนต้องรอให้เสร็จเรียบร้อย เเล้วค่อยๆ ขับผ่านด้วยความระมัดระวัง
10. เส้นให้ทาง เป็นเส้นขวางถนนเเนวประ ขนาดกว้าง 40 ยาว 60 เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร ให้ชะลอรถเเล้วดูรถที่ออกจากทางร่วม หรือคนเดินให้ผ่านไปก่อน เเล้วค่อยขับผ่านด้วยความระมัดระวัง
ข้อมูลจาก เคมอเตอร์