ขับรถเกียร์ออโต้ ต้องใช้กี่เท้า??

5 ก.ย. 2564 เวลา 08:54 | อ่าน 1,762
แชร์ไปยัง
L
 
ขับรถเกียร์ออโต้ ต้องใช้กี่เท้า


ใช้เท้าไหนดี

สำหรับผู้ที่เปลี่ยนจากการขับรถเกียร์ธรรมดามาขับรถเกียร์ออโต้ อาจมีความสับสนว่าจะต้องใช้กี่เท้าในการขับรถกันแน่ ในการขับรถยนต์เกียร์ธรรมดามักจะคุ้นชินกับการขับ 2 เท้า โดยการใช้เท้าซ้ายในการควบคุมแป้นคลัทช์ และเท้าขวาใช้สลับกันไปมาระหว่างแป้นคันเร่งและเบรก
สำหรับผู้ที่เปลี่ยนจากการ ขับรถเกียร์ธรรมดา มา ขับรถเกียร์ออโต้ อาจมีความสับสนว่าจะต้องใช้กี่เท้าในการขับรถกันแน่ ในการขับรถยนต์เกียร์ธรรมดามักจะคุ้นชินกับการขับ 2 เท้า โดยการใช้เท้าซ้ายในการควบคุมแป้นคลัทช์ และเท้าขวาใช้สลับกันไปมาระหว่างแป้นคันเร่งและเบรก


แต่สำหรับรถยนต์เกียร์ออโต้นั้นจะมีเพียง 2 แป้น คือ แป้นคันเร่ง และแป้นเบรก ไม่แนะนำให้ใช้เท้าขวาเหยียบคันเร่ง และใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรกนะครับ เพราะจะทำให้มีโอกาสที่ผู้ขับขี่จะเหยียบแป้นคันเร่งและแป้นเบรกไปพร้อมๆ กัน จะเห็นได้จากที่รถบางคันมีไฟเบรกสว่างขึ้นค้างไว้ตลอด แม้ว่ารถจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเรื่อยๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อรถที่วิ่งตามมาข้างหลัง เนื่องจากไม่ทราบแน่ชัดว่ารถมีการเบรกเกิดขึ้นหรือไม่ครับ ทางที่ดีเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียว ในการควบคุมคันเร่งและเบรกจะได้ไม่มีปัญหาในการควบคุมความเร็วของตัวรถครับ


เหตุผลที่ขับรถเกียร์ออโต้แล้วควรใช้ “เท้าขวา” เท้าเดียว เพราะ …



1. คนที่คุ้นเคยกับการขับรถเกียร์ธรรมดา หรือคนที่ถนัดใช้ทั้ง 2 เท้า หากเผลอใช้น้ำหนักเท้าซ้ายกดลงไปที่แป้นเบรกเพียงนิดเดียว ไฟเบรกท้ายอาจสว่างค้าง ทำให้รถคันหลังเข้าใจผิด เมื่อจำเป็นต้องชะลอความเร็วจริงๆ รถคันหลังจึงไม่อาจรู้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


2. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน คนที่ถนัดใช้ทั้ง 2 เท้า อาจเผลอใช้เท้าเหยียบคันเร่งแทนที่จะเหยียบเบรกแทน ในทางกลับกันเมื่อต้องเหยียบเบรก คุณอาจเหยียบคันเร่งแทนได้ เกิดจากการสับสนและอาจคิดไม่ทันว่าจะต้องทำอะไรก่อนดีนั่นเอง


3. กรณีที่เผลอเหยียบเบรกค้างไว้ขณะขับรถ จะทำให้ผ้าเบรกแตะกับจานเบรกเสียดสีกัน เกิดความร้อนสูง ผ้าเบรกหมดไวกว่าปกติ และรถยังเร่งไม่ขึ้น



ข้อมูลจาก เคมอเตอร์

5 ก.ย. 2564 เวลา 08:54 | อ่าน 1,762


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
17 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
193 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
463 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
504 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
434 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
475 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
775 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,415 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
85 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
111 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน