คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ตั้งเป้าหมายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน นำร่องที่กลุ่มข้าราชการครู และตำรวจ ซึ่งมีสหกรณ์ครูเข้าร่วมแล้ว 20 แห่ง ครอบคลุมครูกว่า 200,000 คนทั่วประเทศ และมีตำรวจเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 4.9 พันราย แนวทาง คือ
1. ยุบยอดหนี้ โดยใช้ทรัพย์สินและรายได้ในอนาคต เช่น บำเหน็จตกทอด มาชำระหนี้บางส่วน เพื่อให้ยอดหนี้ลดลง และสามารถชำระคืนจากเงินเดือนได้
2. ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ เหลือไม่เกิน 5%
3. ลดค่าธรรมเนียมทำประกันชีวิต และการค้ำประกันโดยบุคคลที่ไม่จำเป็น
4. ยกระดับระบบการตัดเงินเดือนข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากขึ้น
ประเด็นที่ต้องดำเนินการต่อ เช่น กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เช่น ต้องกำหนดยอดเงินที่ให้กู้ได้โดยหลังตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้แล้ว ยังต้องเหลือเงินเดือนไม่น้อยกว่า 30%
ส่วนการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนและข้าราชกลุ่มอื่น เช่น หนี้ กยศ. หนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล การไกล่เกลี่ยและปรับโครงสร้างหนี้ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อยและ SMEs ทั้งหมดอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้ในปี 2565 จะสามารถขยายผลสัมฤทธิ์ของการแก้ปัญหาหนี้สิน และคลี่คลายภาระหนี้ครัวเรือนได้มากขึ้น