สธ.ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” 740 ราย ย้ำหน้ากากผ้ายังป้องกันได้

29 ธ.ค. 2564 เวลา 22:04 | อ่าน 1,949
 
 สธ.ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์


กระทรวงสาธารณสุข เผย พบสัดส่วนเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสูงขึ้นในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ล่าสุดตรวจพบ 740 ราย ใน 33 จังหวัด เป็นผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ 489 ราย และติดเชื้อในประเทศ 251 ราย โดยยังเป็นการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และเชื้อยังแพร่กระจายผ่านละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย หน้ากากผ้าจึงยังช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันได้เหมือนสายพันธุ์อื่น ๆ


วันนี้ (29 ธันวาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ว่า ขณะนี้มีรายงานพบสายพันธุ์โอมิครอนใน 108 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกาตรวจพบแล้วทุกรัฐ ส่วนสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนพบ 3 สายพันธุ์ สำหรับประเทศไทยตั้งแต่เปิดประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ตรวจหาสายพันธุ์แล้วประมาณ 8 พันกว่าตัวอย่าง พบสายพันธุ์โอมิครอนสะสม 740 ราย ใน 33 จังหวัด กระจายเกือบทุกเขตสุขภาพ ยกเว้นเขตสุขภาพที่ 2 (พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก) โดยพื้นที่ที่ตรวจพบโอมิครอนมากที่สุด คือ กทม. ตามด้วยเขตสุขภาพที่ 7 และเขตสุขภาพที่ 11 แยกเป็น ผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 489 ราย และติดเชื้อในประเทศ 251 ราย ใน 19 จังหวัด ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยคลัสเตอร์ใหญ่ที่สุดคือ กาฬสินธุ์ พบผู้ติดเชื้อ 200 กว่าราย ผู้ติดเชื้อทั้งหมดมีการตรวจยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวแล้ว 104 ราย


 สธ.ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา (27-28 ธันวาคม 2564) พบว่า สัดส่วนของสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว ขณะนี้พบประมาณ 66% แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยมีเชื้อโอมิครอนแล้ว 66% เนื่องจากตัวอย่างที่สุ่มตรวจส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและผู้ที่มีประวัติสัมผัสผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้การตรวจใน 2 กลุ่มนี้พบสัดส่วนของ
โอมิครอนสูงมากตามไปด้วย แต่ในภาพรวมช่วง 2 วันที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทั้งหมด 5 พันกว่าราย ตรวจพบสายพันธุ์โอมิครอน 200 กว่าราย คิดเป็นประมาณ 5-6% ดังนั้น การแพร่ระบาดในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์เดลตา


“กรณีหน้ากากผ้าใช้ป้องกันสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ ข้อเท็จจริงคือ แม้จะใช้หน้ากาก N95 แต่ถ้าใส่ไม่ถูกต้องก็ป้องกันไม่ได้ 100% ทั้งนี้ เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้มีขนาดเล็กลงและยังออกมากับละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ 5-6 ไมครอน ไม่แตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์เดิม การใช้หน้ากากผ้าซึ่งป้องกันสายพันธุ์อัลฟา เบตา และเดลตาได้ จึงสามารถป้องกันโอมิครอนได้เช่นกัน สิ่งสำคัญต้องใส่ให้ถูกวิธี คือ ใส่ให้แนบกระชับกับใบหน้า” นายแพทย์ศุภกิจกล่าว


29 ธ.ค. 2564 เวลา 22:04 | อ่าน 1,949
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 เมษายน 2568
76 20 เม.ย. 2568
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
123 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
24 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
113 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
38 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
433 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
127 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
159 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
184 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
60 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...