ไขมัน
ในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า ไขมันเป็นสิ่งที่ให้โทษต่อร่างกาย แต่ความเป็นจริงแล้ว
ไขมันเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพราะไขมัน จัดว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกับ
โปรตีน คาร์โบรไฮเดรท วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ ไขมันมีหน้าที่สำคัญ เช่น ปกป้องเซลล์และห่อหุ้ม
อวัยวะต่างๆ อาทิ ไต ลำไส้ ไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนและทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของสารเคมี
ีที่ผ่านเซลล์ เช่น ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ เป็นต้น
นอกจากนี้ ไขมันยังให้ความอบอุ่นและเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย จะเห็นได้ว่าความจริงแล้วไขมัน
ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ช่วยให้ระบบต่างๆ ทำงานเป็นปกติ ทว่า คนส่วนใหญ่บริโภคไขมันเกินความจำเป็น
หรือเลือกรับประทานไขมันที่ให้โทษแก่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
และหลอดเลือดตามมาที่ในปัจจุบันถือว่าโรคหัวใจมีสถิติที่คร่าชีวิตคนไทยในเมืองสูงเป็นอันดับ 1
ดังนั้น หากเรารู้จักเลือกรับประทานไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และหลีกเลี่ยงไขมันที่เป็นอันตราย
ก็จะพ้นโอกาสเสี่ยงและป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวได้
ไขมัน (Lipids) หมายถึง สารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ละลายน้ำ ปรากฏอยู่ในรูปของแข็งและของเหลวที่ได้
จากพืชและสัตว์ ประเภทของไขมัน (แบ่งตามโครงสร้างทางเคมี)
1. กรดไขมันอิสระ (Free fatty acids)
2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
3. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
4. ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
กรดไขมัน (Fatty Acids)
กรดไขมันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนทุกตัวในโมเลกุลไม่สามารถ
จับกับไฮโดรเจนเพิ่มได้และไม่สามารถจะจับกับสารใดๆ ได้อีก ไขมันอิ่มตัวมักได้มาจากสัตว์ ซึ่งมีลักษณะแข็งตัวได้แม้ในอุณหภูมิปกติ เช่น เนยแข็ง น้ำมันหมู ช็อคโกแลต เป็นต้น โดยพวกนี้จะมีไขมันที่ทำให้
คอเลสเตอรอลในเลือดจับตัว
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลสามารถเกาะกับไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นได้
กรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็น ต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และ พบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้น หากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 70-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน
ข้อมูลจาก
http://www.patrunning.info/show.php?Category=board&No=102133