ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงแก่ร่างกาย โดยจะถูกย่อยด้วยน้ำดีจากตับอ่อนและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้จากนั้นจะถูกขนส่งไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด ไขมันส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้จะถูกเก็บสะสมไว้ตามผนังกล้ามเนื้อหัวใจ และเนื้อเยื่อไขมัน ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ นับเป็นโรคร้ายที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต ฉะนั้นเราจึงควรควบคุม และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ชนิดของไขมันในเลือด
ไขมันในเลือดที่สำคัญมีหลายชนิด แต่โดยทั่วไปในการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆ ดังต่อไปนี้
โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ และได้รับสารอาหารที่รับประทานเข้าไปพบมากในไขมันสัตว์ โคเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลส์ต่างๆ แต่ถ้ามีมากเกินไป ก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัวและหลอดเลือดอุดตัน ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายและจากอาหารที่รับประทานเข้าไปโดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง หรืออาหารที่หวานจัด มีความสำคัญทางด้านโภชนาการ หลายประการนับตั้งแต่ให้พลังงานช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการอย่างไรก็ตาม การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มีโคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเพิ่มมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
เอชดีแอล (High density lipoprotein – HDL) มีหน้าที่นำโคเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDL ในเลือดสูง จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยลง HDL จะเพิ่มมากขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกายค่ายิ่งสูงมากยิ่งดี ถือเป็นไขมันดีต่อร่างกาย ได้จากการออกกำลังกาย ระดับปกติในเลือด ผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 45 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
แอลดีแอล (Low density lipoprotein – LDL) หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และหากมีโรคเบาหวานหรือมีโรคหัวใจร่วมด้วย ควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไขมันนี้ถือเป็นไขมันร้ายต่อร่างกาย
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน โดยเฉพาะผู้ที่มีลักษณะอ้วนลงพุง
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเคยเป็นโรคหัวใจ
ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะทำอย่างไรเมื่อไขมันในเลือดสูง
ถ้าตรวจพบว่าระดับไขมันในเลือดสูง ควรมีการควบคุมปริมาณไขมันในเลือด โดยการปฏิบัติตัวดังนี้
ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก
ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน เช่น อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอก ทานตะวัน เป็นต้น
รับประทานอาหารพวกผักใบเขียวต่างๆ และผลไม้ที่ให้กากใยอาหาร
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือด
จากการศึกษาพบว่าระดับไขมันในเลือดมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต หรืออัมพฤกษ์เป็นต้น
ข้อมูลจาก
http://www.happyoppy.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=498989&Ntype=5