กฎกระทรวง กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2562 (มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2562)
(ยกเลิก) กฎกระทรวง กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ผู้มีสิทธิ คือ ผู้รับบำนาญปกติ ผู้รับบำนาญพิเศษเพราะหตุทุพพลภาพ
อัตราบำเหน็จดำรงชีพ คือ บำนาญรายเดือน x 15 เท่า ไม่เกินห้าแสนบาท (ไม่เกิน 500,000 บาท)
การขอรับบำเหน็จดำรงชีพ
1. ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุต่ำกว่า 65 ปี ขอรับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 70 ปี ขอรับบำเหน็จได้ไม่เกิน 400,000 บาท แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตาม (1) ไปแล้ว ให้ขอรับได้ในส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป ขอรับบำเหน็จได้ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิ์ตาม (1) และ (2) ไปแล้ว ให้ขอรับได้ในส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
ผู้รับบำนาญที่นำสิทธิบำเหน็จตกทอดไปค้ำประกัน
ในกรณีที่ได้มีการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินแล้ว ให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้รับบำนาญตามสิทธิที่จะได้รับ แต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่เหลือจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
แบบไม่มีหนี้บำเหน็จค้ำประกัน (ผู้มีสิทธิยื่นแบบ สรจ. 3.1)
ตัวอย่าง นาย ก. มีบำนาญเดือนละ 40,000 บาท และ ช.ค.บ. 2,000 บาท
บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับ 40,000 x 15 = 600,000 บาท
ผู้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน จำนวน 500,0000 บาท
รับครั้งแรก จำนวน 200,000 บาท
รับเมื่ออายุ 65 ปี จำนวน 200,000 บาท
ดังนั้น อายุ 70 ปี จึงมีสิทธิได้รับ จำนวน 100,000 บาท (500,000 – 400,000)
ข้อมูลจาก สำนักงานคลังเขต 6 พิษณุโลก กรมบัญชีกลาง