ประเทศเมียนมาร์
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of the Myanmar)
เมืองหลวง : เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (เมืองหลวงเดิม คือ ย่างกุ้ง)
ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาพุทธ
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกประดู่ (Padauk)
วันชาติ : 4 มกราคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ภาษาประจำชาติ : ภาษาเมียนมาร์
ภาษาราชการ : ภาษาเมียนมาร์
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
พม่ามีพื้นที่ประมาณ 657,740 ตารางกิโลเมตร
“ภูมิประเทศ”
ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีนและทิเบต
ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาวและไทย
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับอินเดียและบังกลาเทศ
ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
“ภูมิอากาศ”
แบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่งสภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ โดยพื้นที่สูงจะหนาวเย็น พื้นที่ภาคกลางจะแห้งแล้งกว่าแถบชายฝั่งทะเลตอนใต้
ประชากร
มีจำนวนประชากรประมาณ 55 ล้านคน มีหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเมียนมาร์ รองลงมา คือ ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ไทยและชิน
การเมืองการปกครอง
มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐและแบ่งเป็น 7 ภาค ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
เมียนมาร์เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของเมียนมาร์ ซึ่งมีการปลูกข้าวเจ้า ผัก และพืชเมืองร้อนหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการขุดแร่และน้ำมัน รวมทั้งมีเหมืองดีบุกอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา โดยมีอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรอยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ อัญมณี แร่ธาตุ และน้ำมัน
ประวัติ
*ชนเผ่ามอญเข้ามาตั้งรกรากในพม่า หลังจากนั้นดินแดนนี้ก็ถูกชนชาติต่างๆ เข้ามาผลัดเปลี่ยนยึดครองจนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษใน พ.ศ.2429
*ต่อมามีการก่อตั้งกลุ่มสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ โดยคณะของอองซาน เพื่อเจรจาเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
*พม่าได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2491
*พ.ศ.2505 นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ปกครองพม่าแบบเผด็จการและปิดประเทศ
*พ.ศ.2531 เกิดเหตุการณ์ 8888 (8 สิงหาคม ค.ศ.1988) ที่ทหารฆ่าประชาชนจำนวนมาก
*พ.ศ.2532 พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “Burma” เป็น “Myanmar” และสภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์กจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
*สภาสลอร์กไม่ยอมรับชัยชนะของนางอองซานซูจี และสั่งกักบริเวณนาง
*สภาสลอร์กเปลี่ยนชื่อเป็นสภาแห่งสันติภาพและพัฒนาประเทศและถูกประกาศให้สันติภาพไปในเดือนมีนาคม พ.ศ.2554
*รัฐบาลชุดแรกนำโดยพลเอก เต็ง เส่ง ปกครองประเทศและเปลี่ยนชื่อจาก “สหภาพพม่า” เป็น “สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์”
*ปัจจุบันนางออกซานซูจีได้รับการปล่อยตัวแล้ว และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555
ข้อมูลจาก http://www.9ddn.com/content.php?pid=769
เมืองหลวงประเทศเมียนมาร์ (พม่า)
กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่า ซึ่งย้ายมาจากกรุงย่างกุ้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเนื้อที่ประมาณ 7,024 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 9 แสนคน และเพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้ในปีนี้ (พ.ศ. 2555) เอง
สำหรับการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเนปิดอว์ ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่เท่าที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ อาจจะเป็นเพราะต้องการตั้งเมืองหลวงในใจกลางประเทศ เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหาร ต่างจากย่างกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเลมากเกินไป หรือไม่ก็ต้องการฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิม เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ก็ต้องย้ายเมืองหลวง
เนปิดอว์ แม้ว่าจะเป็นเมืองที่สร้างใหม่ แต่ก็มีสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิ อนุเสาวรีย์ 3 กษัตริย์พม่าได้แก่ พระเจ้าอโนรธา แห่งเมืองพุกาม พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งชเวโบ กลางเมืองเนปิดอว์ นอกจากนี้ ยังจำลองเจดีย์ชเวดากองในเมืองอีกด้วย ชื่อว่า มหาเจดีย์อุปปตศานติ
สกุลเงินประเทศเมียนมาร์ (พม่า)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ใช้สกุลเงิน จ๊าด
อัตราแลกเปลี่ยน 1 จ๊าด = 5 บาทไทย
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 10 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด, 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
ข้อมูล เมืองหลวง และสกุลเงิน จาก kapook.com