สวัสดิการเด็กแรกเกิดมีอะไรบ้าง?

20 เม.ย. 2566 เวลา 23:45 | อ่าน 27,696
 
เงินอุดหนุนเด็กสวัสดิการเด็กแรกเกิดมีอะไรบ้าง


เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2562 มีวิธีการอย่างไร


เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2562 การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ซึ่งในปัจจุบันคนท้องสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนได้แล้ว สำหรับในปีงบประมาณ 2562 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2562 ค่ะ


ผู้มีสิทธิ์ในการได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด


1. เด็กที่รับสิทธิ์ในปีงบประมาณ 2559 – 2561 (เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561) ได้สิทธิ์รับเงินต่อเนื่องเดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี
2. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561 แต่ไม่มีคุณสมบัติตามระเบียบ คือ มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยไม่เกิน 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี (ตามประกาศเก่าทำให้ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงิน) ซึ่งปัจจุบันได้ขยายเป็นรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี มีสิทธิ์ได้รับเงินนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี
3. เด็กที่เกิดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ได้รับเงินเดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี ได้แก่
เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 และผู้ปกครองได้มายื่นขอรับสิทธิ์ภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 จะได้รับสิทธิ์ด้วยเช่นกัน (หากไม่ได้ลงทะเบียนภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 ก็ได้รับสิทธิ์เช่นกัน)
เด็กเกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิ์ด้วยเช่นกัน
4. ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตร * จากหน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรืออยู่ในความอุปการะของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
5. ต้องอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรืออยู่กับพ่อแม่ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรืออยู่กับแม่แต่ไม่ได้อยู่กับพ่อที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(แม่เลี้ยงเดี่ยว) หรืออยู่กับพ่อที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ได้อยู่กับแม่ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(พ่อเลี้ยงเดี่ยว)
6. สามารถเช็คสิทธิ์ ทางออนไลน์ได้ที่ csg.dcy.go.th


ผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด


1. สัญชาติไทย หรือบิดาของเด็กแรกเกิดที่มีสัญชาติไทย (กรณีหญิงตั้งครรภ์ หรือมารดาของเด็กแรกเกิด เป็นหญิงต่างด้าว หรือบุคคลไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์)
2. เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะเพื่อเลี้ยงดูอย่างบุตร
3. เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
4. อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี ผู้ปกครองที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (เดิมไม่เกิน 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี)
5. ไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรืออยู่ในความอุปการะของหน่วยงานของรัฐ

วิธีการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์

1. เตรียมเอกสารการลงทะเบียน
• แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01) ขอจากสถานที่ที่คุณลงทะเบียน
• แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ขอจากสถานที่ที่คุณลงทะเบียน (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการรับรองสถานะครัวเรือน เพิ่มเติมด้านล่าง)
• บัตรประจําตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์/มารดา/บิดา หรือผู้ปกครอง
• สําเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
• สําเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่ปรากฏชื่อหญิงตั้งครรภ์)
• สําเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด
• สําเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากของผู้ที่จะขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

2. ยื่นคำร้องขอลงทะเบียน เพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ดร.01) ณ สถานที่รับลงทะเบียน ดังนี้
• กรุงเทพมหานคร (สำนักงานเขตทุกเขต)
• เมืองพัทยา (ศาลาว่าการเมืองพัทยา)
• ส่วนภูมิภาค (สำนักงานเทศบาล หรือ อบต.)
• กรณีทำงานหรืออาศัยอยู่ต่างภูมิลำเนา สามารถลงทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขตทุกเขต, เมืองพัทยา หรือเทศบาล, อบต. ในพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงหรือที่อยู่ปัจจุบัน

3. รอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ที่ทําการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร เช่น ที่ทําการกํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น โดยจะประกาศวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน


การรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)


• กรณีที่ไม่ต้องรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
• พ่อและแม่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 2 คน
• แม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดคนเดียว ไม่ปรากฎพ่อที่ชอบด้วยกฏหมาย (แม่เลี้ยงเดี่ยว)
• พ่อเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดคนเดียว ไม่ปรากฎแม่ที่ชอบด้วยกฏหมาย (พ่อเลี้ยงเดี่ยว)

กรณีที่ต้องรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)


• พ่อและแม่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แต่ไม่ได้เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 2 คน
• พ่อหรือแม่ ที่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด หรือหญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
• ผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อหรือแม่ เป็นผู้ที่เลี้ยงดูและอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด และไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
• แม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่พ่อไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด
• พ่อถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่แม่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด


ต้องให้ใครเป็นผู้รับรองสถานะของครัวเรือน


ผู้รับรองคนที่ 1 • กรุงเทพมหานคร: ให้หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ประจําสํานักงานเขต หรือประธานชุมชน หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.)
• เมืองพัทยา: ให้ประธานชุมชน หรืออาสาสมัครเมืองพัทยา หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
• ส่วนภูมิภาค (ในเขตเทศบาล หรือ อบต.): ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือประธานชุมชน

ผู้รับรองคนที่2 • กรุงเทพมหานคร: ให้ผู้อํานวยการเขตหรือข้าราชการที่ผู้อํานวยการเขตมอบหมาย
• เมืองพัทยา: ให้ปลัดเมืองพัทยา หรือข้าราชการที่ปลัดเมืองพัทยามอบหมาย
• ส่วนภูมิภาค (ในเขตเทศบาล หรือ อบต.): ให้ปลัดเทศบาลหรือข้าราชการ ที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย หรือปลัด อบต. หรือข้าราชการที่ปลัด อบต. มอบหมาย

3. ในกรณีที่ผู้รับรองคนที่ 1 และ 2 ไม่รับรอง ให้หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว รับรอง โดยดำเนินการ ดังนี้ • กรณีที่ผู้รับรองดังกล่าวไม่รับรอง ขอให้ผู้รับรองคนนั้น ระบุสาเหตุการไม่รับรอง
• แจ้งความประสงค์ขอให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน ดําเนินการตรวจสอบและพิจารณาให้การรับรองสถานะของครัวเรือนผู้ปกครอง โดยนําแบบฟอร์มการลงทะเบียน (ดร.01 – ดร.02) ไปขอรับใบ “แบบคําร้องแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ดร.8)” แล้วนำไปยื่นที่ดังต่อไปนี้
- กรุงเทพมหานคร นำใบ (ดร.8/1) ไปยื่นคําร้องที่บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร
- ต่างจังหวัด นำใบ (ดร.8/2) ไปยื่นคําร้องที่บ้านพักเด็กและครอบครัวในจังหวัดนั้นๆ
• หลังจากบ้านพักและครอบครัว ตรวจสอบและพิจารณารับร้องและไม่รับร้องแล้ว ให้นำผลการพิจารณา พร้อมกับแบบฟอร์มการลงทะเบียน (ดร.01– ดร.02) ไปยื่นยังที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ธนาคารที่รองรับการจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

บัญชีธนาคารผูกพร้อมเพย์ 15 ธนาคาร (ผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีเท่านั้น ถ้าผูกกับเบอร์โทรศัพท์จะใช้ไม่ได้)
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารธนชาติ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเกียรตินาคิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารทหารไทย
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารทิสโก้
บัญชีเงินโอน (ประเภท บัญชีออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ เผื่อเรียก กระแสรายวัน)
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

ทำไมยังไม่ได้รับเงิน หรือเงินไม่เข้าบัญชี


• บัญชีปิดไปแล้ว/ไม่พบเลขบัญชี > ให้คุณแม่เปิดบัญชีใหม่แล้วติดต่อกับจังหวัดที่ลงทะเบียนเพื่อเปลี่ยนบัญชีใหม่
• ข้อมูลที่ดึงไปจ่ายไม่ถูกต้อง เช่น คีย์เลขบัญชีไม่ถูกต้อง/บัญชีผิดประเภท /วันเดือนปีเกิดไม่ถูกต้อง / เลขบัตรประชาชนเจ้าของบัญชีธนาคารไม่สัมพันธ์กับเลขบัญชีธนาคาร > ให้คุณแม่แจ้งผู้• บันทึกข้อมูล เพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
• ไม่สามารถใช้บัญชีได้ เช่น การเปิดบัญชีที่มีเงื่อนไข ตัวอย่าง การเปิดบัญชีสำหรับเด็ก เมื่อเด็กอายุครบ 18 ปี ถึงสามารถเบิกได้
• เคยสมัครพร้อมเพย์แล้วแต่ยกเลิก (กรณียื่นบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ 15 ธนาคาร) > ให้คุณแม่สมัครพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคารที่แจ้งลงทะเบียนไว้ใหม่
• ยังไม่มีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ (กรณียื่นบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ 15 ธนาคาร) > ให้คุณแม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชน สามารถขอผูกได้กับธนาคารที่แจ้งลงทะเบียนไว้ค่ะ
• ผูกพร้อมเพย์แล้วแต่แจ้งบัญชีธนาคารผิด > ให้คุณแม่ตรวจสอบว่าผูกกับธนาคารไหน เพราะการจ่ายเงินจ่ายตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน


----- เพิ่มเติม -----


เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด


โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเป็นนโยบายสำคัญระดับชาติตามแผนบูรณาการการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เป็นการสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมโดยการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนให้แก่เด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน เป็นมาตรการให้บิดา มารดาหรือ ผู้ปกครองนําเด็กเข้าสู่ระบบบริการของรัฐ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย รวมทั้งเป็นหลักประกันให้เด็กได้รับสิทธิด้านการอยู่รอดและการพัฒนาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564)


สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เผยแพร่ภาพราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท มีผลบังคับแล้ว ณ ตอนนี้ กรณีดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ปกครอง มีสิทธิรับเงินสองเด้งแบ่งเงินสงเคราะห์บุตรจำนวน 800 บาท และเงินอุดหนุนบุตร จำนวน 600 รวม 1,400 บาท/เดือน สำหรับเงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิดจะได้รับเดือนละ 800 บาท จะได้รับจนกว่าลูกจะมีอายุครบ 6 ปี


โดยรูปแบบการจ่ายเงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร มีดังนี้



- สำหรับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท ผู้ที่มีสิทธิ์ได้คือผู้ประกันตนมาตรา 33,39 ที่มีการจ่ายเงินสมทบมาสักระยะหนึ่งแล้ว และมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ผู้ที่จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท จะได้เงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท โดยทั้งนี้จะได้รับเงินจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ และสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรสูงสุดได้ไม่เกิน 3 คน สามารถติดต่อรับเงินได้เลยตั้งแต่เดือนแรกที่บุตรเกิดมา

- เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท จะจ่ายให้กับประชาชนทั่วไปที่ลูกอยู่ในครอบครัวรายได้น้อย เมื่อเด็กเกิดมาก็สามารถไปลงทะเบียนได้เลย ณ เทศบาล อบต. เมืองพัทยา สำนักงานเขตในพื้นที่ต่าง ๆ โดยบุตรจะอยู่กับพ่อแม่หรือไม่ก็ได้ จะอยู่กับปู่ย่าตายายก็ได้ ก็สามารถรับเงินอุดหนุนเด็กได้ แต่จะต้องไปลงทะเบียนในพื้นที่ที่บุตรอยู่จริงกับผู้ปกครอง เช่น พ่อแม่อยู่เชียงใหม่แต่บุตรอยู่กับย่าที่ลำปาง ก็จะต้องไปลงทะเบียนในพื้นที่จังหวัดลำปาง (จะต้องลงทะเบียนในพื้นที่ที่บุตรอยู่จริงโดยไม่จำเป็นจะต้องตรงกับทะเบียนบ้าน) เมื่อลงทะเบียนเสร็จ หน่วยงานที่รับเรื่อง (เทศบาล อบต. เมืองพัทยา สำนักงานเขตในพื้นที่ต่าง ๆ) ก็จะส่งเรื่องไปที่พัฒนาสังคมจังหวัด จากนั้น ก็จะตรวจสอบข้อมูลว่าท่านที่ลงทะเบียนนั้นได้เข้าเกณฑ์จริง ๆ หรือไม่ โดยใช้เวลา 3 - 6 เดือน ในการตรวจสอบ หากได้รับการอนุมัติแล้วจะได้รับเงินย้อนหลังตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียน

หลักเกณฑ์ของการได้รับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท

- เด็กต้องมีสัญชาติไทย พ่อแม่ต้องเด็กมีสัญชาติไทย
- เด็กไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
- เด็กอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี



กรมกิจการเด็กและเยาวชน ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกำหนดใช้มาตรการทำงานที่บ้าน(Work from Home) ขอแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเรื่องเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด


กรณีที่ไม่สามารถติดต่อเบอร์โทรศัพท์ของสำนักงานได้ ดังนี้ ????โทรศัพท์หมายเลข 08 2091 7245, 08 2037 9767, 08 3431 3533, 06 5731 3199
(โปรดติดต่อในวันเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 17.00 น.)
????ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
????เว็บไซต์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน
http://csgcheck.dcy.go.th/public/eq/popSubsidy.do ข้อมูลจาก ศูนย์บริการสาธารณสุข 63 สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย และ กรมประชาสัมพันธ์

20 เม.ย. 2566 เวลา 23:45 | อ่าน 27,696
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
23 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
90 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
655 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
618 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
132 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
73 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
182 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
649 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
850 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
120 25 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...