หนังสือภายใน
หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็น
หนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวงกรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความและ
ให้จัดตามที่กำหนดไว้โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
1.
สวนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือโดยมี
รายละเอียดพอสมควร โดยปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ลง
ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องพร้อมทั้งหมายเลข
โทรศัพท์(ถ้ามี) เช่น ฝ่ายกิจการพิเศษ โทร. 1931
2.
ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่องตามที่กำหนดไว้ ทับเลข
ทะเบียนหนังสือส่ง สำหรับหนังสือของคณะกรรมการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตาม
ความจำเป็น เช่น ที่ทม 0501.1.13/ว 136
3.
วันเดือนปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ชื่อเต็มของเดือนและตัวของปีพุทธศักราชที่
ออกหนังสือ เช่น 18 กุมภาพันธ์ 2545
4.
เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็น
หนังสือต่อเนื่อง โดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
5.
คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้น
สรรพนาม และคำลงท้ายที่กำหนดไว้ แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อบุคคลใน
กรณีที่มีตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ เช่น เรียน คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคม
ศาสตร์
6.
ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์ หลายประการให้แยกออกเป็นข้อๆ ในกรณีที่มีการอ้างหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุไว้ในข้อนี้ เช่น
ด้วยในปัจจุบัน พบว่าในการพิธีต่างๆ ของคณะและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
ยังมีการขานพระนามาภิไธยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไม่ตรงตามกำหนดของสำนักราชเลขาธิการ ดังนั้น เพื่อความถูกต้องสง่างามของพิธีกรในสถาบันอุดมศึกษา
จึงขอส่งสำเนาหนังสือกรมประชาสัมพันธ์ ที่ นร 1905/ว 104 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2544 เรื่องการ
ขานพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาเพื่อโปรดเผยแพร่ให้ทราบทั่วกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทำหน้าที่พิธีกรโฆษก และผู้บริหาร ซึ่งมักจะมีโอกาสกล่าวขานพระนามาภิไธยต่อสาธารณชน
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำเนินการ จักเป็นพระคุณยิ่ง
7.
ลงชื่อและตำแหน่ง ให้ลงชื่อและตำแหน่งเช่นเดียวกับหนังสือภายนอก
ในกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดใดประสงค์จะกำหนดแบบการเขียนโดยเฉพาะเพื่อใช้ตามความเหมาะสมก็กระทำได้
หมายเหตุ : กรณีที่มีความจําเป็น ส่วนราชการอาจปรับการพิมพ์หนังสือราชการให้
แตกต่างจากนี้ได้ตามความเหมะสมโดยให้คํานึงถึงความสวยงามและรูปแบบของหนังสือ
ราชการเป็นสําคัญ