ช่วงบ่ายๆของวันนี้ (วันที่ 18 ธันวาคม 2555) มี “ข่าวใหญ่” เรื่องการปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง โดยทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมและให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่าจะสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้มากขึ้น และปิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมาตรการครั้งนี้จะปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้จาก “5 ขั้นอัตรา” เป็น “7 ขั้นอัตรา” โดยจะใช้บังคับใน “ปีภาษี 2556” ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2557 เป็นต้นไปนั่นเอง
- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี -
เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษี ดังนั้น “บล็อกภาษีข้างถนน” อย่างเราก็ต้องรีบนำข่าวมา Update ให้ฟังกันอย่างฉับไวครับ (เขียนกันข้ามคืนเลยทีเดียว) โดยจากการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีข้างต้น ทำให้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นอัตราภาษีใหม่ ดังนี้ครับ
1. รายได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนเดิม ตามพระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551
2. รายได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 10% >> 5%
3. รายได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% เหมือนเดิม
4. รายได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 20% >> 15%
5. รายได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% ตามเดิม
6. รายได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 30% >> 25%
7. รายได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% ตามเดิม
8. รายได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 37% >> 35%
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อ “อัตราภาษี” ในหลายๆด้าน ดังันั้น ผมขออนุญาตนำมาสรุปง่ายๆในรูปแบบของตารางให้ดูกันแทนครับ เพราะว่าถ้าเขียนเป็นตัวหนังสือแบบนี้ อาจจะทำให้เพื่อนๆหลายท่านไม่เข้าใจว่ามีผลกระทบยังไงบ้าง (รวมถึงตัวผมเอง อ่านแล้วก็งงเองทุกทีเลย แหะๆๆ)
อ่านต่อ
http://www.thai-aec.com/639