เปิดรายละเอียด “ค่าตอบแทน” บุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข “หมอ-ทันตแพทย์-เภสัชกร-พยาบาลวิชาชีพ-สหสาขาวิชาชีพ” รวมทุกประเภทการจ้างงาน กับระเบียบกฎเกณฑ์ แหล่งที่มาเงิน วิธีคำนวณไม่รวมเงินประจำตำแหน่ง
ประเด็นภาระงาน ค่าตอบแทนของบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยังเป็นปัญหาท้าทายของรัฐบาล นำทีมโดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ตั้งแต่รับตำแหน่ง หนึ่งในนโยบายสำคัญคือ การสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร แน่นอนว่า ประเด็นการเพิ่มค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับภาระงานยังถูกจับตามองตลอดว่า แนวโน้มจะสามารถปรับเพิ่มได้มากน้อยแค่ไหน หลังจากมีการปรับไปล่าสุดแล้วก็ตาม
สำนักข่าวออนไลน์ Hfocus ได้สืบค้นข้อมูลประมวล ระเบียบ หลักเกณฑ์ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน สำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโดย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้รวบรวมระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำเป็นรูปเล่ม โดยคัดแยกรายฉบับเพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งได้จัดทำเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มี ผศ.(พิเศษ) นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช เป็นที่ปรึกษา
โดยสรุปสาระสำคัญกระทรวงสาธารณสุขได้ออกหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนฯ แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544 ฉบับที่ยังคงใช้อยู่ 5 ฉบับดังนี้
1.ฉบับที่ 2 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ที่ไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว
2.ฉบับที่ 5 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ สายงานระดับ ป.ตรี สายงานระดับต่ำกว่า ป.ตรี ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการในช่วงนอกเวลาราชการ และนอกหน่วยบริการ งานเวร ผลัดบ่ายหรือผลัดดึก ชันสูตรพลิกศพ แพทย์สาขาส่งเสริมพิเศษ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพเวชปฏิบัติครอบครัว
3.ฉบับที่ 11 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ สหสาขาวิชาชีพ ผู้ที่ปฏิบัติงานให้บริการผู้ป่วยสายงานระดับ ป.ตรี สายงานระดับต่ำกว่าระดับ ป.ตรี ในลักษณะเหมาจ่าย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะและขาดแคลน
4.ฉบับที่ 12 เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานสังกัด สธ. จ่ายตามภาระงานและปริมาณงานซึ่งเกิดขึ้นจริงและที่เกินกว่าปริมาณภาระงานปกติ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
5.ฉบับที่ 10 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ สายงานระดับ ป.ตรี และต่ำกว่าระดับ ป.ตรี ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา โดยจะประกาศใช้เป็นรายปีงบประมาณ
**จ่ายเงินด้วยเงินบำรุง หรือเงินงบประมาณ
นอกจากนี้ ยังมีระเบียบที่ให้เจ้าหน้าที่ได้รับเงินค่าตอบแทน ออกโดยหน่วยงานอื่น มี 3 ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.ประกาศ ก.พ.เรื่องกำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่3) พ.ศ.2560 (พ.ต.ส.)
- แพทย์ ทันตแพทย์ เสภัชกร พยาบาลวิชาชีพ สหสาขา 7 วิชาชีพ สำเร็จการศึกษา ป.ตรีขึ้นไปและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
2.ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548
- แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา
3.ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2549 (สปพ.)
- จ่ายเงินพิเศษรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตามประกาศแนบท้ายกระทรวงการคลัง ซึ่งจะประกาศเป็นประจำทุกปี
**จ่ายด้วยเงินงบประมาณเป็นหลัก
โดย รายละเอียด
ค่าตอบแทน สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยกเว้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
แบ่งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่ละวิชาชีพ ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมี
ค่าตอบแทนรวมของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขต่อคนต่อเดือน (ไม่รวมเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง)
โดยนายแพทย์ รายได้ 2,500-116,500 บาท+ , ทันตแพทย์ รายได้ 2,500-106,500 บาท+ , เภสัชกรรายได้ 1,500-42,300 บาท+, พยาบาลวิชาชีพ 1,000-22,800 บาท+, สหสาขาวิชาชีพ รายได้ 1,000-8,000 บาท+ และนักวิชาการสาธารณสุข รายได้ 2,000-7,000 บาท+
(เครื่องหมาย + หมายถึง เงินเพิ่มค่าตอบแทนตามปริมาณงานของฉบับที่12)
รายละเอียดดังนี้
นิยามข้อมูลค่าตอบแทนรวมของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข การคำนวณข้างต้นไม่รวมเงินประจำตำแหน่ง
ดังนี้
อีกทั้ง ยังมีข้อมูล
“สัดส่วนค่าแรง ต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด” ของปี 2561-2565 (เฉพาะหน่วยบริการ สป.ไม่รวม รพ.สต.)
โดยสัดส่วนค่าตอบแทน : ค่าแรง ปี 2565 คิดเป็น 28.9%
ส่วนสัดส่วนค่าแรง : ค่าใช้จ่าย ปี 2565 คิดเป็น 44.8%
(ที่มา : กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ)
และ hfocus.org