วันนี้ (20 พฤษภาคม 2567 ) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด (14 พฤษภาคม 2567) เห็นชอบมาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังปี 2566 / 2567 พร้อมรับทราบ รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสัปปะหลังปี 2566/ 2567 และรับทราบแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคาหัวมันสดปี 2566/ 2567 พร้อมเห็นชอบมาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังปี 2566 / 2567
โดยสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสัปปะหลังประจำปี 2566 / 2567 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพยากรณ์การผลิตมันสำปะหลัง 2566 / 2567 เดือนมีนาคม 2567 มีผลผลิตทั้งประเทศ 26.88 ล้านตัน ลดลง 3.74 ล้าน ตันหรือร้อยละ 12 เนื่องจากขาดแคลนท่อนพันธุ์ สภาวะอากาศร้อนแล้งรวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคใบด่างเพลี้ยไฟและเพลี้ยแป้งโดยผลผลิตกระจุกตัวช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2567 ปัจจุบันเก็บเกี่ยวแล้ว 23.50 ล้านตันหรือร้อยละ 87
ดังนั้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบการรักษาเสถียรภาพราคาหัวมันสดปี 2566 / 2567 เพื่อให้การกำกับดูแลมันสำปะหลังเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยมอบหมายคณะอนุกรรมการบริหารจัดการศัตรูมันสำปะหลัง ไปบริหารจัดการศัตรูมันสำปะหลัง รับไปพิจารณาดำเนินการปรับแผนการขยายท่อนพันธุ์ให้ครอบคลุมพื้นที่ระบาดในปี 2569 ทั้งพันธุ์ต้านทานโรคและพันธุ์ทนทานต่อโรครวมทั้งส่งเสริมการเพาะปลูกด้วยระบบน้ำหยดเพื่อเพิ่มผลผลิตและรองรับการขยายท่อนพันธุ์ โดยจะทำรายละเอียดโครงการแผนดำเนินงานกรอบวงเงินและแหล่งเงินก่อนเสนอที่ประชุมครั้งถัดไป พร้อมมอบหมายกรมศุลกากรกำกับดูแลการนำเข้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งการนำเข้าทางด้านถาวรและจุดผ่อนปรนให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและป้องกันสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าทางช่องทางธรรมชาติอย่างเข้มงวด และมอบหมายกรมการค้าต่างประเทศเข้มงวดตรวจสอบมาตรฐานมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่นำเข้าและส่งออกให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด
ครม. เห็นชอบมาตรการดูแลเกษตรกรให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการเพาะปลูกโดยการชะลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ผ่านพ้นช่วงแล้งได้รับผลซึ่งจะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้นและช่วยเหลือให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนระหว่างรอการเก็บเกี่ยวเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกับส่งเสริมการเกษตรและยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตฤดูกาลผลิตปี 2566 / 2567 ประมาณ 65,100 ครัวเรือนโดยจะให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกประเมินพื้นที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวและให้สินเชื่อแก่เกษตรกรครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือนไร่ละไม่เกิน 2,500 บาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ครม. อนุมัติถึง 30 เมษายน 2568 ระยะเวลาสมัครเข้าร่วมโครงการเริ่มภายใน 30 มิถุนายน 2567 ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อตั้งแต่ครม. อนุมัติถึง 31 กรกฎาคม 2567 ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันรับสินเชื่อแต่ไม่เกิน 31 มกรามกราคม 2568 วงเงินสินเชื่อ 3,255 ล้านบาท