ยาเป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ ... จริงหรือ?

3 ส.ค. 2567 เวลา 14:13 | อ่าน 6,260
 

ถ้าท่านหรือญาติของท่านเป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง มีโรคประจำตัวหลายโรค มีปัญหาการทรงตัว เดินเซ ๆ ไม่ค่อยมั่นคง ทำท่าจะล้ม หรือเคยหกล้มมาแล้วในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และกำลังใช้ยาหลายชนิด การทบทวนรายการยาที่ท่านกำลังใช้อยู่คือสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงของการหกล้ม


ยาเป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ ... จริงหรือ

เหตุผลที่เราควรให้ความสนใจทบทวนรายการยาของผู้สูงอายุก็เพราะว่ารายการยาที่ไม่เหมาะสม จำนวนชนิดของยาที่มากเกินความจำเป็น และขนาดของยาที่สูงเกินไปในผู้สูงอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุด (และแก้ไขได้ง่ายที่สุดด้วย) ของการหกล้ม ยิ่งผู้สูงอายุใช้ยาหลายชนิด และใช้ในขนาดที่สูง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงทำให้หกล้มง่ายขึ้น



ในบรรดายาที่ผู้สูงอายุใช้บ่อย ๆ มียาหลัก ๆ 3 กลุ่มที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม


1. ยาที่มีออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychoactives) และมีผลกระทบต่อสมอง ถ้ากินติดต่อกันนาน ๆ เช่น ยานอนหลับ/ยากล่อมประสาททั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็นยากลุ่ม Benzodiazepines ที่ลงท้ายชื่อว่า – zepam หรือยากลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์คล้ายกัน)} ยารักษาอาการทางจิตเวชประเภท antipsychotics ที่มักใช้ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการสับสน, ยาต้านเศร้า (antidepressants), ยากันชัก (anticonvulsants), ยาแก้ปวดแรง ๆ พวก opioids, ยาคลายกล้ามเนื้อ (ที่กินแล้วง่วง คอแห้ง และท้องผูก), ยาแก้แพ้/ลดน้ำมูก (ที่ทำให้ง่วง)

2. ยาลดแรงดันเลือด เช่น ยาชนิดต่าง ๆ ที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขนาดยาที่สูงเกินไปจนทำให้แรงดันเลือดตัวบนต่ำ (เช่น ต่ำกว่า 100-110 มม.ปรอท) ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการมึนงง หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า และหกล้มได้

3. ยารักษาโรคเบาหวาน ถ้าใช้ยาชนิดหรือขนาดไม่เหมาะสมอาจทำให้ระดับน้ำตาลและน้ำตาลสะสม (hemoglobin A1c) ในเลือดลดลงต่ำเกินไป ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมึนงง เดินเซ และเสี่ยงต่อการหกล้มได้

ถ้าผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มกำลังใช้ยาเหล่านี้ อย่าเพิ่งรีบหยุดยาของท่านเองโดยพลการ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้สั่งยา ขอให้ช่วยทบทวนรายการยาเหล่านี้ว่ายังจำเป็นหรือไม่ สามารถหยุดยาหรือลดขนาดยาได้หรือไม่ หรือมียาชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่าทดแทนหรือไม่


“ผู้สูงอายุกินยาน้อยที่สุดได้ยิ่งดี เพราะยิ่งท่านมีอายุสูงขึ้น ร่างกายของท่านจะกำจัดยาปริมาณมากได้น้อยลง และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น”



โดย รศ. นพ. รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

3 ส.ค. 2567 เวลา 14:13 | อ่าน 6,260
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2568
23 2 ก.พ. 2568
ด่วน…รัฐบาลติดดาบด้วย “พระราชกำหนด” จัดการโจรคอลเซ็นเตอร์และไซเบอร์ ครม. เห็นชอบให้อำนาจเด็ดขาดเจ้าหน้าที่ จับกุม เพิกถอน เพิ่มโทษ ชี้จากนี้เจ้าของแอปฯ ธนาคาร เครือข่ายมือถือ
36 28 ม.ค. 2568
สำนักงาน ก.พ. จะเปิดรับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (สอบภาค ก.) ประจำปี 2568 (Paper & Pencil) จำนวน 450,000 ที่นั่งสอบ และมีศูนย์สอบ 14 แห่ง
267 27 ม.ค. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 26 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2568
52 26 ม.ค. 2568
กฎหมายฟ้องชู้ บังคับใช้แล้ววันนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องหย่าด้วยเหตุมีชู้ สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
72 22 ม.ค. 2568
เป็นหนี้นอกระบบ..ฟังทางนี้ รัฐบาลปล่อยสินเชื่อราคาเบาช่วยแก้หนี้นอกระบบผ่าน “ออมสิน - ธ.ก.ส.” แล้ว 5 หมื่นราย ยอดอนุมัติรวมทั้งสิ้นกว่า 1.8 พันล้านบาท
90 22 ม.ค. 2568
ทหารเฮ ขึ้นเงินเดือน เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. ....
314 21 ม.ค. 2568
จดทะเบียน“ สมรสเท่าเทียม ”พร้อมแล้วพฤหัส 23 ม.ค. นี้ รัฐบาล อำนวยความสะดวกเต็มที่ จดได้ทั้งที่ อำเภอ/เขต และสถานทูตไทยในต่างประเทศทั่วโลก
88 20 ม.ค. 2568
นายกฯ ยืนยัน“โครงการบ้านเพื่อคนไทย” สะดวกสบาย เป็นโครงการที่ดีเพื่อผู้มีรายได้น้อยมีบ้านเป็นของตนเอง
95 20 ม.ค. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 19-25 มกราคม 2568
82 20 ม.ค. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...