วัยเก๋าไม่โดนลวง สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน

31 ส.ค. 2567 เวลา 10:13 | อ่าน 191
 
วัยเก๋าไม่โดนลวง สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน

ภัยรอบตัวผู้สูงอายุ ในยุคที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ มีภัยคุกคามทั้งด้านสุขภาพและทางเทคโนโลยี ด้วยความก้าวของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกกลุ่มวัยรวมถึงผู้สูงอายุต้องปรับตัวให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้รับรู้และเข้าถึง สื่อ ข้อมูลข่าวสาร สินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างเท่าทัน รวดเร็วและสะดวกสบาย ซึ่งมีจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้เพียงปลายนิ้วด้วย สมาร์ทโฟน แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงทั้งสื่อที่มีประโยชน์ และไม่ที่ไม่เกิดประโยชน์บางครั้งอาจเป็นโทษที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเสียหายส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ1 ตลอดจนภัยคุมคามที่เกิดขึ้นจากทางเทคโนโลยีที่ผู้สูงอายุอาจตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ซึ่งมาในหลากหลายรูปแบบซึ่งมีความละเอียดอ่อนและอาจมีการแอบแฝงของมิจฉาชีพ เช่น ประกันสุขภาพ ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์ชะลอวัย สินค้าหรือบริการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ2 จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมักจะเป็นกลุ่มที่ตกเป็นเป้าหมายหรือเหยื่อ เนื่องจากมีความพร้อมด้านเวลา ด้านประสบการณ์ชีวิต และด้านการเงิน ผ่านการใช้สื่อในทุกรูปแบบโน้มน้าวเพื่อชักจูงความคิดและความเชื่อของผู้สูงอายุ1 ผู้สูงอายุสามารถเสริมสร้างความปลอดภัยในการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อทางด้านสุขภาพได้ด้วยการมี “ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ”



ความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำคัญอย่างไร


“ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” มีความสำคัญต่อทุกกลุ่มวัยเป็นความสามารถและทักษะที่จะทำให้ดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงสมวัย ไม่ถูกหลอกหรือมีพฤติกรรมที่ผิดพลาดส่งผลต่อสุขภาพของตนเอง จนเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรง สูญเสียรายได้ เวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จนส่งผลกระทบให้เป็นภาระคนใกล้ชิดหรือครอบครัว3


สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน



ความรู้การดูแลสุขภาพ ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ หลายช่องทางให้เลือกเข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบายมากขึ้นจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เพจเฟสบุ๊ค ยูทูป ติ๊กต๊อก เป็นต้น ข้อมูลเป็นจำนวนมากทำให้ต้องมีทักษะที่สำคัญในการคัดกรอง พิจารณา เลือกรับสื่อ ให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและเกิดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ปลอดภัย ได้ง่าย ๆ ด้วยวิธี หยุด-คิด-ถาม-ทำ1,4 ดังนี้


1) หยุด ตั้งสติก่อนเชื่อ ทำตาม ซื้อสินค้าด้านสุขภาพ ส่งต่อข้อมูล โดยยังไม่อ่าน ดู ฟัง ผ่านการคิดอย่างรองครอบ

2) คิด พิจารณาสื่อและทำความเข้าใจให้รอบครอบได้แก่ ความน่าเขื่อถือและที่มาของสื่อ เจตนาหรือเนื้อหาของสื่อสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร สื่อมีเหมาะสมหรือมีความจำเป็นกับเราหรือไม่ สื่อนี้กำลังบอกอะไรบ้าง

3) ถาม ควรมีการตั้งคำถามก่อนการหาคำตอบ อาจเริ่มจากใช้คำถามสำคัญ 3 ข้อ
1) ฉันมีปัญหาสุขภาพเรื่องอะไร
2) ฉันต้องทำอะไรบ้าง
3) สิ่งที่จะต้องทำสำคัญอย่างไร เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ได้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากเดิมหรือเพื่อทำให้หายสงสัย เพิ่มความมั่นใจ คลายความไม่รู้ เช่น การหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต หนังสือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วต้องทำความเข้าใจเนื้อหา และสามารถอธิบาย บอก เขียน สาระสำคัญเรื่องนั้นได้

4) ทำ เมื่อได้ข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้อง จึงนำมาใข้ในการวางแผนการดูแลตนเองและลงมือปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการตั้งเป้าหมาย วางแผนการดูแลสุขภาพ และสามารถทำตามแผนที่กำหนดไว้ได้อย่างสม่ำเสมอจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทิศทางที่ดีขึ้น

วิธีการเช็คแหล่งข้อมูลทางสุขภาพ ให้ปลอดภัย

1) เช็คแหล่งที่มาของสื่อ เป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้หรือไม่ เช่น เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่อยู่ได้

2) เช็ควันเวลาที่เผยแพร่ ไม่เก่าหรือนานเกินไป เพราะความรู้หรือข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพมีการอัพเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

3) เลือกรับรูปแบบสื่ออย่างรอบครอบ เช่น สื่อบุคคลอาจทำให้เกิดการคล้อยตามและทำตามได้ง่ายมากที่สุด เพราะด้วยคำพูด น้ำเสียงและท่าทาง สื่ออินเทอร์เน็ตใช้งานง่าย สะดวก ข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบมีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงทำให้คล้อยตามและหลงเชื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

ดังนั้น ผู้สูงอายุจะสามารถปลอดภัยและห่างไกลจากภัยทางสุขภาพจากทั้งพฤติกรรมสุขภาพ และจากสื่อสุขภาพแบบดิจิตอล ตลอดจนผลิตภัณฑ์ บริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วจะต้องมีการฝึกการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อออนไลน์ ฝึกคิดวิเคราะห์สื่อ กล้าที่จะสอบถามโดยไม่รู้สึกอาย และนำมาความรู้ที่ถูกต้องมาวางแผนดูแลสุขภาพตนเองให้เป็นผู้ที่มีสุขภาวะที่ดีและห่างไกลจากภัยรอบตัวในทุกมิติ


ข้อมูลจาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1594 กนกฉัตร สมชัย นักสุขศึกษา
คลินิกตรวจสุขภาพและส่งเสริมสุขภาวะ
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

31 ส.ค. 2567 เวลา 10:13 | อ่าน 191
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
36 21 พ.ย. 2567
นายกฯ แพทองธารนั่งหัวโต้ะ คกก.ศก.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหญ่ครบวงจรเน้น “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้หนี้ปชช. กระตุ้นลงทุน” มั่นใจปีหน้าศก. ไทยกลับคึกคัก
21 19 พ.ย. 2567
มติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ พร้อมชง 2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต เสนอ นบข.
18 19 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2567
43 17 พ.ย. 2567
มติคณะรัฐมนตรี การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
200 12 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2567
40 10 พ.ย. 2567
ไทยแลนด์ น่าท่องเที่ยวหลังเว็บดังยกขึ้นเบอร์หนึ่งที่มีการจองบินมาในระดับโลก
34 9 พ.ย. 2567
ธอส. เปิดให้ผู้ประกันตนโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 ยื่นขอสินเชื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นี้ พร้อมเพิ่มความสะดวก เปิดบริการในวันเสาร์ - อาทิตย์นี้ทุกสาขา
58 7 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 พฤศจิกายน 2567
415 3 พ.ย. 2567
รัฐบาลปลื้ม! ไทยติด TOP 8 ประเทศที่ร่ำรวยมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก ปี 67 อันดับสูงสุดในประเทศแถบเอเชีย เดินหน้าขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ผลักดันให้ติด 1 ใน 25 ประเทศ
75 3 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...