ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์
จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในโลกนับหลายล้านปีแล้ว ซึ่งแปรสภาพเนื่องจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วย
ก๊าซไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดผสมรวมอยู่ด้วยกัน และยังมีส่วนที่เป็น
ของเหลวที่เรียกว่าคอนเดนเสทอยู่ด้วย
“ก๊าซธรรมชาติไม่มีกลิ่น..ไม่มีสี..เผาไหม้สมบูรณ์กว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า”
เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน หรือถ่านหิน จึงเป็นเชื้อเพลิงที่ช่วยลดมลภาวะที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศได้เป็นอย่างดี
ก๊าซหุงต้ม
ก๊าซปิโตรเลียม หรือก๊าซหุงต้ม ( LPG ) เป็นก๊าซที่ได้จาก
การแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซฯ และผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันโดย
นำมาบรรจุในถังภายใต้ความดันสูงจึงกลายเป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องเติมสาร เมอร์เคปเทน ซึ่งมีกลิ่นฉุนคล้ายไข่เน่า
ลงไป เพื่อเป็นสัญญาณเตือนในกรณีเกิดการรั่ว
ก๊าซธรรมชาติ ( NGV )
· เบากว่าอากาศ
· สถานะเป็นก๊าซสามารถนำมาใช้ได้เลย
· ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น (มีการเติมสารเพื่อความปลอดภัย) มีการเผาไหม้สมบูรณ์ปราศจากเขม่า
· ติดไฟยากกว่า LPG
· ขนส่งโดยระบบท่อเข้าสู่โรงงานใช้งานได้ทันทีไม่ต้องเสียพื้นที่
ในการจัดเก็บ
ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
· หนักกว่าอากาศ
· สถานะเป็นของเหลว
· ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น (มีการเติมสารเพื่อความปลอดภัย) มีการเผาไหม้
สมบูรณ์ปราศจากเขม่า
· ติดไฟง่าย
· ต้องมีถังสำรองเชื่อเพลิงและเสียพื้นที่ในการจัดเก็บ การขนส่งต้องใช้
รถบรรทุกขนาดใหญ่
วิธีการตรวจสอบการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบโดยวิธีการสังเกตโดยบุคคล
1. กลิ่นของก๊าซ ตามทฤษฎีแล้วคุณสมบัติของก๊าซมีเทนจะไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่ในก๊าซธรรมชาติจะประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด และสารที่ปนมากับก๊าซบางส่วน ซึ่งส่วนต่างๆเหล่านี้บางชนิดจะมีกลิ่นโดยธรรมชาติ
2. สำรวจลักษณะของพืชที่อยู่ในบริเวณท่อส่งก๊าซ โดยอาจตรวจพบพืชที่มีการเจริญเติบโตมากว่าในบริเวณข้างเคียงหรือเกิดการแคระแกรนเสื่อมสภาพอย่างผิดปกติเมื่อเทียบกับบริเวณข้างเคียง โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ชนิดของพืช สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ ปริมาณการรั่วไหล และระยะเวลาที่เกิดการรั่วไหล
3. สำรวจการรวมกลุ่มของแมลง (แมลงสาบ,แมลงวัน,แมงมุม) การรวมกลุ่มของแมลงบริเวณท่อก๊าซบางครั้งอาจเป็นสัญญาณบอกถึงการรั่วของก๊าซได้อีกทางหนึ่งเนื่องจากแมลงเหล่านี้มีปฏิกิริยาต่อสารบางชนิดในก๊าซธรรมชาติ
4. สำรวจการเกิดเชื้อรา เนื่องจากเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่ปริมาณก๊าซออกซิเจนต่ำ โดยราที่เกิดจะมีลักษณะเป็นราสีขาว หรือเทา-ขาว
5. เสียงของการรั่วของก๊าซ ในบางครั้งการรั่วไหลของก๊าซผ่านระบบท่อที่เกิดการผุกร่อน หรือรั่วออกทางข้อต่อ และหน้าแปลนอาจก่อให้เกิดเสียงที่จุดรั่ว
ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
· หนักกว่าอากาศ
· สถานะเป็นของเหลว
· ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น (มีการเติมสารเพื่อความปลอดภัย) มีการเผาไหม้
สมบูรณ์ปราศจากเขม่า
· ติดไฟง่าย
· ต้องมีถังสำรองเชื่อเพลิงและเสียพื้นที่ในการจัดเก็บ การขนส่งต้องใช้
รถบรรทุกขนาดใหญ่
ตรวจสอบโดยการใช้อุปกรณ์
1. สำรวจปริมาณการใช้ก๊าซในช่วงเวลาที่กำหนด ทำการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ก๊าซในช่วงเวลาที่กำหนด แล้วทำการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อตรวจสอบหาปริมาณการใช้ที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ามีการรั่วไหลของก๊าซ
2. สำรวจการรั่วไหลของก๊าซผ่านระบบ Shut Down เมื่อมีการหยุดก๊าซทั้งระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วสามารถตรวจสอบการหมุนของมิเตอร์วัดปริมาณก๊าซที่ศูนย์ควบคุมของ ปตท. ว่าหยุดหมุนหรือไม่ หากยังคงหมุนอยู่แสดงว่ายังคงมีการรั่วไหลของก๊าซ
3. การใช้สบู่ เป็นวิธีที่สามารถบ่งชี้ว่าเกิดการรั่วไหลขึ้นที่จุดใด โดยการใช้น้ำสบู่ฉีดลงในบริเวณที่คาดว่าน่าจะเกิดการรั่วไหลหากมีฟองสบู่เกิดขึ้นแสดงว่าเกิดการรั่วไหลให้ทำการแก้ไขโดยทันที
4. การใช้อุปกรณ์ในการตรวจวัด เป็นวิธีที่สามารถ ทำการชี้จุดของการรั่วไหล และบอกถึงความรุนแรงการรั่วไหลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทั้งนี้อุปกรณ์จะต้องอยู่ในการควบคุมของผู้ใช้ที่มีความรู้ความชำนาญในการตรวจวัด การบำรุงรักษา อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสอบเทียบกับอุปกรณ์มาตรฐาน อย่างน้อย 1 ปี
ข้อมูลจาก
http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=577&Itemid=14